จิร วิชิตสงคราม
จิร วิชิตสงคราม | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489 | |
ก่อนหน้า | พลโท หลวงสินาดโยธารักษ์ |
ถัดไป | พลโท หลวงสินาดโยธารักษ์ |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |
ก่อนหน้า | พลโท หลวงสินาดโยธารักษ์ |
ถัดไป | พลโท หลวงชาตินักรบ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2440 บ้านริมคลองบางหลวง เจริญพาศน์ ธนบุรี |
เสียชีวิต | 21 มีนาคม พ.ศ. 2522 (81 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
พลเอก จิร วิชิตสงคราม หรือ หลวงวิชิตสงคราม (4 ตุลาคม พ.ศ. 2440 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2522) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลาโหม เสนาธิการกลาโหม และเสนาธิการกองทัพบก และเป็นนายทหารไทยที่ปฏิเสธยศจอมพล
ประวัติ
[แก้]พล.อ. จิร วิชิตสงคราม มีชื่อเดิมว่า จี๊ด ยุวนวรรธนะ เป็นบุตรของนายเหลี่ยม และนางทับทิม ยุวนวรรธนะ เกิดที่บ้านริมคลองบางหลวง ย่านกุฎีเจริญพาศน์ ฝั่งธนบุรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2440 เริ่มเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก โรงเรียนนายร้อยชั้นประถม เมื่อเดือนพฤษภาคม 2452 และสำเร็จจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก รับพระราชทานยศ นายร้อยตรี เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 รุ่นเดียวกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม, จอมพล ผิน ชุณหะวัณ และพล.ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส[1] เริ่มรับราชการในกองทัพบก โดยได้รับบรรจุให้ประจำกรมทหารบกปืนใหญ่ที่ 2 ต่อมาได้เจริญก้าวหน้าในตำแหน่งราชการสำคัญต่าง ๆ เช่น เสนาธิการกองทัพบก แม่ทัพกองทัพพายัพ เสนาธิการกลาโหม รับราชการจนมียศสูงสุดที่ พลเอก และมีตำแหน่งสุดท้ายคือปลัดกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2487 พล.ท. จิร วิชิตสงคราม ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวงในรัฐบาลพ.ต. ควง อภัยวงศ์ ต่อมาได้ย้ายไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[2] และลาออกพร้อมคณะรัฐมนตรี[3] ในพ.ศ. 2488 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวงในรัฐบาลม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช[4][5]
เมื่อพ.ศ. 2489 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกครั้งในรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์[6] และดำรงตำแหน่งต่อมาจนถึงรัฐบาลพล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งไปหลังคณะทหารแห่งชาติทำรัฐประหาร[7][8][9][10][11][12] นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 1[13]
พล.อ. จิร วิชิตสงคราม ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2522 พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2522[14]
พล.อ. จิร เป็นทหารที่ได้รับการยกย่องในฝีมือ กระทั่ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ที่มีความคิดทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานยศจอมพล ซึ่งเป็นยศสูงสุดของกองทัพไทยให้พล.อ. จิร แต่พล.อ. จิร กลับปฏิเสธ
ส่วนเรื่องที่ปฏิเสธยศจอมพล มีนายพลหลายคนเล่าให้ข้อมูลตรงกัน เช่น
- พล.อ.อ. หะริน หงสกุล ซึ่งเป็นศิษย์ที่ทำงานใกล้ชิดคนหนึ่งเผยว่า
“ ผมเคยเป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการที่เราใช้อยู่ในวงในระยะหนึ่ง จึงได้ทราบว่า ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงครามได้ทำเรื่องราวขอพระราชทานยศจอมพลให้ท่านซึ่งก็เหมาะด้วยประการทั้งปวง ถ้าหากเป็นไปตามนั้นก็ไม่มีใครหาเหตุผลมาหักล้างหรือคัดค้านได้เลย แต่ก็มีผู้คัดค้านจนได้ และมีคนเดียวเท่านั้นที่คัดค้านคือตัวท่านเอง ท่านขอร้องและยืนยันแข็งว่าท่านไม่รับยศจอมพลโดยเด็ดขาด ”
- พล.ท. ประยูร ภมรมนตรี ขยายรายละเอียดว่า
“ คณะรัฐประหารเสนอ ให้พล.อ. ผิน ชุณหะวัณ ขึ้นเป็นจอมพลซ้อนขึ้นมา ท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม เลยเสนอตั้งเพิ่มขึ้นมาอีก 4 คน จึงเชิญพี่จี๊ดมาปรารภว่าจะสนองคุณความดีของพี่จี๊ดโดยแต่งตั้งให้เป็นจอมพล พี่จี๊ดเอะอะโวยวายว่า ฟุ้งซ่านกันไปถึงไหน ตัวท่านเป็นรองผู้อำนวยการ ส.ป.อ. (องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ซึ่งมีนายทหารอเมริกันชั้นพลเอกเป็นหัวหน้า ผิดระเบียบราชการทหารถ้าขืนแต่งตั้งขึ้นมาจะก็จะขอยื่นใบลาออกทันที ”
- พล.อ.ท. จำรัส วีณะคุปต์ ซึ่งเคยรับราชการใกล้ชิดในกรมเสนาธิการกลาโหมเล่าว่า
“ เช้าวันหนึ่งท่านเดินมาที่โต๊ะข้าพเจ้าวางซองจดหมายเล็กๆ บนโต๊ะแล้วบอกว่า ให้คุณหรือนายทหารที่คุณไว้ใจได้นำจดหมายฉบับนี้ไปส่งให้ถึงมือท่านนายกฯ เองทีเดียว ท่านไปแล้วข้าพเจ้าดูจ่าหน้าซองถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตรงกลางขอบบนซองเขียน (ส่วนตัว) มุมซ้ายล่างเป็นชื่อย่อ จ. วิชิตสงคราม อีก 2-3 สัปดาห์ต่อมาข้าพเจ้าได้ข่าวว่าเสนาธิการกลาโหมไม่ยอมรับยศจอมพล ข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่าจดหมายฉบับนั้นเองที่ขอไม่รับยศอันเกรียงไกรนี้ ”
เวลาผ่านมาหลายปี ก่อนหน้าพล.อ. จิร ถึงแก่อนิจกรรม 4-5 ปี พล.อ.ท. จำรัส วีณะคุปต์ จึงเรียนถาม ซึ่งพล.อ. จิร จึงตอบว่า
“ โดยตำแหน่งผมเป็นผู้แทนไทยในกิจการทหารของ ส.ป.อ. หัวหน้าผู้แทนประเทศอื่น ๆ มียศสูงเพียงพลเอก ถ้าผมเป็นจอมพลขึ้นมา ผมก็ต้องเป็นประธานที่ประชุมทุกปีไป (ประชุมปีละ 2 ครั้ง) จะผลัดเปลี่ยนกันดังที่เคยปฏิบัติเป็นธรรมเนียมอยู่แล้วย่อมไม่ได้ ดูจะไม่งาม ”
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลเอก จิร วิชิตสงคราม ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[18]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 4 อัศวิน (อ.ร.)[19]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)[20]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[21]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[22]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญงานพระราชสงครามยุโรป[23]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[24]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[25]
- พ.ศ. 2472 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[26]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3)[27]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[28]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2466 – เหรียญชัย
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2464 – เหรียญกรัวเดอแกร์[29]
- พ.ศ. 2501 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 2 กร็องตอฟีซีเย[30]
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2502 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[31]
- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. 2502 – ลีเจียนออฟออเนอร์ ชั้นที่ 2 โกมันดัน[32]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า ๔๙๘)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (พลโท จีระ วิชิตสงคราม)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 11 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (พลโท จิระ วิชิตสงคราม, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์, นายถวิล อุดล)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 13 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 16 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 18 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ วุฒิสภา ชุดที่ ๑ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)[ลิงก์เสีย]
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก จิร วิชิตสงคราม ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ท.จ.ว.
- ↑ ศิลปวัฒนธรรม SILPA-MAG.COM, พลเอก จิร วิชิตสงคราม นายทหารผู้ปฏิเสธยศ “จอมพล” ให้ตนเอง, 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง หน้า ๓๕, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๔๓๕, ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดร แห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี และเหรียญรามมาลา, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๔, ๒๗ เมษายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๓๗๐๕, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและเครื่องหมายเปลวระเบิด สำหรับผู้กระทำความชอบได้รับบาดเจ็บ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๑, ๑๕ เมษายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๓๘ ง หน้า ๒๓๒๓, ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่นายทหารผู้มีความชอบและผู้ปฎิบัติราชการ เกี่ยวเนื่องด้วยการส่งกองทหารในงานพระราชสงครามที่ยุโรป, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๓๒, ๓๑ กันยายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๓๑, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๖๙๔, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๔, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๐๗, ๒๓ มกราคม ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๘๕๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๗, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๗๖ ง หน้า ๒๗๐๗, ๓๐ กันยายน ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๘ ง หน้า ๕๘, ๑๓ มกราคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๒๐๙, ๒๑ เมษายน ๒๕๐๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2440
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2522
- นักการเมืองไทย
- ทหารบกชาวไทย
- นายพลชาวไทย
- นายพลในสงครามโลกครั้งที่สอง
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บรรดาศักดิ์ชั้นหลวง
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- ปลัดกระทรวงกลาโหมไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- พรรคสหประชาไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อ.ร.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- ทหารอาสาชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ทหารชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง
- ผู้นำการทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง
- การยึดครองพม่าของไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง