ชื่น ระวิวรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชื่น ระวิวรรณ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 8 เมษายน พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
ดำรงตำแหน่ง
8 เมษายน พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 ธันวาคม พ.ศ. 2457
เสียชีวิต12 ตุลาคม พ.ศ. 2537
พรรคการเมืองชาติไทย

นายชื่น ระวิวรรณ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นอดีตรัฐมนตรีของไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย 6 สมัย

การทำงาน[แก้]

ชื่น ระวิวรรณ เข้าสู่งานการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย และได้รับเลือกตั้งอีก 4 สมัยต่อเนื่องมา คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[1] (สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500[2] และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 (สังกัดพรรคสหประชาไทย)

ชื่น ระวิวรรณ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2500 ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[3] โดยมีพลตรี ประมาณ อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ และสิ้นสุดลง เนื่องจากคณะทหารได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร

ในปี พ.ศ. 2501 ชื่น ระวิวรรณ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร สั่งราชการกระทรวงเกษตร[4] ต่อมาในเดือนเมษายนของปีเดียวกันจึงปรับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร[5] ซึ่งมีนายวิบูลย์ ธรรมบุตร เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ และสิ้นสุดลง เพราะนายกรัฐมนตรีกราบถวายบังคมลาออก เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และในวันนั้นเองได้มีคณะปฏิวัติอันมี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้า ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ และสถาบันทั้งหลายอยู่ในความควบคุมของคณะปฏิวัติตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป[6]

ชื่น ระวิวรรณ กลับสู่การเมืองอีกครั้ง โดยได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 ในนามพรรคชาติไทย

สถานที่[แก้]

อ้างอิง[แก้]