วรพงษ์ สง่าเนตร
พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
รักษาการ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (4 ปี 283 วัน) | |
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กันยายน พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 (1 ปี 19 วัน) | |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 (0 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร |
ถัดไป | พลเอก สมหมาย เกาฏีระ |
รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557 (1 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ |
ถัดไป | พลเอก วุฒินันท์ ลีลายุทธ |
เสนาธิการทหาร | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555 (0 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร |
ถัดไป | พลเอก เผด็จการ จันทร์เสวก |
เจ้ากรมยุทธการทหาร | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551 (1 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก รัชกฤต กาญจนวัฒน์ |
ถัดไป | พลเอก เผด็จการ จันทร์เสวก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ดร.วิชชุดา สง่าเนตร |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบก (พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2538) กองบัญชาการกองทัพไทย (พ.ศ. 2538 - 2558) |
ประจำการ | พ.ศ. 2519 - 2558 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก[1] |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด |
พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) สมาชิกวุฒิสภา[2] ประธานกรรมการ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง[3] ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ และประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4] อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 122/2557[5] อดีตประธานกรรมการในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย[6] อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[7] อดีตเสนาธิการทหาร อดีตเจ้ากรมยุทธการทหาร
ประวัติ
วรพงษ์ สง่าเนตร หรือที่สื่อมวลชนมักจะเรียกว่า บิ๊กตี๋ เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตร พันโท เหรียญ สง่าเนตร และนางประไพ
เป็นน้องชายของพลเอก พหล สง่าเนตร สมาชิกสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[8] และสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12
การศึกษา
พลเอก วรพงษ์จบการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 12 (ตท.12) และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 23 (จปร.23) รุ่นเดียวกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตผู้บัญชาการทหารบก และนายกรัฐมนตรี, พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม, พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 และ พลเอก วรรณทิพย์ ว่องไว อดีตแม่ทัพภาคที่ 3
การศึกษา ก่อนเข้ารับราชการ
- พ.ศ. 2512: มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโยธินบูรณะ
- พ.ศ. 2519: วิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
การศึกษา เมื่อเข้ารับราชการแล้ว
- พ.ศ. 2519: หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าปืนใหญ่ รุ่น 12
- พ.ศ. 2525: หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าปืนใหญ่ รุ่น 25
- พ.ศ. 2527: หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าปืนใหญ่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2529: โรงเรียนเสนาธิการทหารบก (หลักสูตรประจำ) รุ่นที่ 64
- พ.ศ. 2531: โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศอังกฤษ
- พ.ศ. 2537: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2538: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การทหาร) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2538: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ประเทศอังกฤษ
- พ.ศ. 2544: วิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 46
- พ.ศ. 2550: หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 20 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2560: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
การรับราชการ
- 1 ต.ค.2539 : ผู้อำนวยการกองยุทธการ กรมยุทธการทหาร
- 1 ต.ค.2546 : ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหาร[9]
- 1 เม.ย.2548 : รองเจ้ากรมยุทธการทหาร[10]
- 1 ต.ค.2549 : เจ้ากรมยุทธการทหาร[11]
- 1 ต.ค.2551 : รองเสนาธิการทหาร[12]
- 1 ต.ค.2554 : เสนาธิการทหาร[13]
- 16 ต.ค. 2554 : ผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพไทย (ส่วนหน้า)
- 1 ต.ค.2555 : รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด[14]
- 31 ก.ค.2557 : พลเอก วรพงษ์ ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[15]
- 8 ก.ย.2557 : พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก วรพงษ์ ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนใหม่ โดยให้เริ่มดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป[16]
- 11 ก.ย.2557 : ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[17]
- 1 ต.ค.2557 : ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- 13 ต.ค.2558 : ประธานกรรมการในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- 3 พ.ย.2558 : กรรมการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
- 29 ก.ย.2560 : ประธานกรรมการ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง
ตำแหน่งพิเศษ
- 7 ต.ค.2547 : นายทหารพิเศษ ประจำกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 รักษาพระองค์[18]
- 6 ก.ย.2550 : นายทหารพิเศษ ประจำกรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[19]
- 19 ต.ค.2552 : นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[20]
- 21 ก.ค.2557 : นายทหารพิเศษ ประจำกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์[21]
- 12 ม.ค.2558 : นายทหารพิเศษ ประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ และประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ[22]
- 10 เม.ย.2558: นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์[23]
- 11 ก.ย.2558 : นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ [24]
ครอบครัว
พลเอก วรพงษ์ สมรสกับ ดร.วิชชุดา สง่าเนตร หรือคุณม่ำ มีบุตร 1 คนคือ กิตติธัช สง่าเนตร และธิดา 1 คนคือ กัลย์สุดา สง่าเนตร
รางวัล
- 5 ธ.ค.2557 :รางวัลพ่อดีศรีเมืองนนท์ จังหวัดนนทบุรี
- 5 ธ.ค.2557 :รางวัลพ่อดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2557
- 27 ม.ค.2558:รางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาบริหารการปกครองและเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2558[25]
- 3 เม.ย.2558 :ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนเสนาธิการทหารบก[26]
- 17 มิ.ย. 2558:ศิษย์เก่าดีเด่น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [27]
- 27 มิ.ย. 2559:ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ "โล่เกียรติยศ ประจำปี 2559"[28]
- 27 ต.ค. 2561:ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนโยธินบูรณะ รางวัล "เกียรติโยธิน"
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[29]
- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[30]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[31]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 (ภ.ป.ร.5)[32]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อ้างอิง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศแต่งตั้งแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่างๆ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศ ให้นายทหารสัญญาบัตรและนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นายทหารราชองครักษ์พิเศษและนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[ลิงก์เสีย] เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ รายนามผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศจักดาว 58 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์โรงเรียนเตรียมทหาร
- ↑ พิธีมอบประกาศเกียรติคุณศิษย์เก่าดีเด่นปี 56-57 เก็บถาวร 2015-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- ↑ รายงานประจำปี 2557 : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โล่เกียรติยศ ประจำปี 2559[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณอันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณอันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๘, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๘๙ ง หน้า ๑๗๘๑, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๒๓
- ↑ MINDEF Singapore เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Top Military Award Conferred on Thai Defence Chief, 1 September 2015, retrieved 16 September 2015
- ↑ theSundaily, Agong confers 194 Darjah Kepahlawanan ATM awards, 20 October 2015, retrieved 22 October 2015
ก่อนหน้า | วรพงษ์ สง่าเนตร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558) |
พลเอก สมหมาย เกาฏีระ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.5
- สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- นักการเมืองไทย
- บุคคลจากโรงเรียนโยธินบูรณะ