วิวัฒน์ ศัลยกำธร
วิวัฒน์ ศัลยกำธร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ชุติมา บุณยประภัศร |
ถัดไป | ธรรมนัส พรหมเผ่า มนัญญา ไทยเศรษฐ์ ประภัตร โพธสุธน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 มีนาคม พ.ศ. 2497 อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ อาจารย์ยักษ์[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ประวัติ
[แก้]วิวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2497 เป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การขับเคลื่อนหลักกสิกรรมธรรมชาติ ผ่าน “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง” จังหวัดชลบุรี
นายวิวัฒน์ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจาก โรงเรียนวัดสนามจันทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา, มัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร, ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน[2]
นายวิวัฒน์ ดำรงตำแหน่งสุดท้ายก่อนลาออกจากราชการ คือ ผู้อำนวยการกองประเมินผลงาน สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักนายกรัฐมนตรี ลาออกมาเพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชให้เป็นจริง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ในขณะเดียวกับได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาให้กับหลายหน่วยงาน/องค์กร เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคส่วนต่างๆ ของสังคมนอกเหนือจากด้านการเกษตร อาทิ ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรม ด้านธุรกิจการบริการ ฯลฯ
ในปี พ.ศ. 2543 นายวิวัฒน์เคยลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนาม "กลุ่มกรุงเทพสามัคคี" แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
การทำงาน
[แก้]บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
- นายกสมาคมพัฒนาสังคม/ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
- ผู้อำนวยการสถาบันราชพฤกษ์ ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการราชพฤกษ์
- กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์
- ที่ปรึกษาคณะกรรมการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร
- ที่ปรึกษามูลนิธิสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต
- ผู้อำนวยการกองประเมินผลและข้อมูลพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
- หัวหน้าฝ่ายประสานงานโครงการพระราชดำริ ภาค 1 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษ
- เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน กองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภาค 4
- เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน กองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
- นักพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
- กรรมการโครงการบึงมักกะสัน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- ที่ปรึกษากองกำลังบูรพา กองทัพภาคที่ 1
- ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประจำคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร
- รองคณบดี คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์)
- ผู้นำการก่อตั้ง วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ในฐานะประธานเบญจภาคี โครงการเศรษฐกิจพอเพียง)
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- พ.ศ. 2546 - ได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม สาขาภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้านการเกษตร จากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี
- พ.ศ. 2549 - ได้รับรางวัลคนดีศรีเกษตรอินทรีย์ จากชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2549 - ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
- พ.ศ. 2550 - ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ประเภทบุคคลครั้งที่ 9
- พ.ศ. 2550 - ได้รับรางวัลคนดีมีคุณธรรม อ.บ้านบึง จากสมัชชาคุณธรรม จังหวัดชลบุรี
- พ.ศ. 2550 - ได้รับรางวัล “คนดีศรีราม” จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- พ.ศ. 2550 - ได้รับรางวัล “คนดีตามรอยพ่อ” จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- พ.ศ. 2551 - ได้รับรางวัล “คนดีศรีนวล” จากสมาคมนักเรียนเก่านวลนรดิศ
- พ.ศ. 2552 - ได้รับรางวัลเกียรติยศ งานคนค้นฅนอวอร์ด ครั้งที่๑ จัดโดยบริษัททีวีบูรพา จำกัด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[4]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[5]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[7]
ผลงาน
[แก้]ผลงานละคร
[แก้]ปี พ.ศ. | เรื่อง | ออกอากาศ | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2559 | แผ่นดินนี้มีรัก | ช่อง 5 | อาจารย์ยักษ์ | |
ตามรอยพระราชาจากภูผาสู่มหานที | ช่อง 5 | อาจารย์ยักษ์ | ||
ฝายน้ำใจ | ช่อง 5 | อาจารย์ยักษ์ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ “อ.ยักษ์” ชูเศรษฐกิจพอเพียงทำสุดความสามารถ – นัดรมต.ใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณ 30 พ.ย.
- ↑ "บัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.อีสาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-05. สืบค้นเมื่อ 2010-11-18.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๙๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๒ กันยายน ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ และเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๒ ข หน้า ๖๕, ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๙
ก่อนหน้า | วิวัฒน์ ศัลยกำธร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ชุติมา บุณยประภัศร | รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม. 61) (23 พฤศจิกายน 2560 – 10 กรกฎาคม 2562) |
ธรรมนัส พรหมเผ่า มนัญญา ไทยเศรษฐ์ ประภัตร โพธสุธน |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักวิชาการชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
- นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย
- บุคคลจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
- พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.4