ข้ามไปเนื้อหา

กฤษฎา จีนะวิจารณะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กฤษฎา จีนะวิจารณะ
กฤษฎา ใน พ.ศ. 2557
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
(0 ปี 250 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
เผ่าภูมิ โรจนสกุล
(ตั้งแต่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีว่าการเศรษฐา ทวีสิน (2566 - 2567)
พิชัย ชุณหวชิร (2567)
ก่อนหน้าสันติ พร้อมพัฒน์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566
(2 ปี 334 วัน)
รัฐมนตรีว่าการอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
ก่อนหน้าประสงค์ พูนธเนศ
ถัดไปลวรณ แสงสนิท
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 เมษายน พ.ศ. 2506 (61 ปี)
พรรคการเมืองรวมไทยสร้างชาติ (2566 - 2567)
ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาชีพข้าราชการ
นักการเมือง
ลายมือชื่อ
ชื่อเล่นตู่

กฤษฎา จีนะวิจารณะ ม.ป.ช. ม.ว.ม. จ.ภ. (เกิด 20 เมษายน พ.ศ. 2506) ชื่อเล่น ตู่ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีตปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการอิสระ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา ใน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง​และ อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อดีตกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อดีตอธิบดีกรมศุลกากร อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อดีตกรรมการอิสระ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) อดีตกรรมการบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย อดีตกรรมการ บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) อดีตกรรมการตรวจสอบ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ อดีตกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย อดีตเลขานุการเอก (ฝ่ายเศรษฐกิจและการคลัง) สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและการคลัง ประจำสหราชอาณาจักรและยุโรป สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน

ประวัติ

[แก้]

กฤษฎา จีนะวิจารณะ เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2506 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท M.B.A. จาก มหาวิทยาลัยนิวเฮเวน

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับสิริมงคล โชติกเสถียร แต่ปัจจุบันได้หย่าขาดจากกันแล้ว

รับราชการ

[แก้]

เมื่อจบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกานายกฤษฎาก็ได้เข้ารับราชการในกระทรวงการคลังจนกระทั่งได้เป็นรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ก่อนจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554[1]

ต่อมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่งให้นายกฤษฎาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แทนนายสมชัย สัจจพงษ์ ที่โยกไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากรเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[2] จากนั้นในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกฤษฎาให้เป็นอธิบดี กรมสรรพสามิต[3] แทนนาย สมชาย พูลสวัสดิ์ ที่เกษียณอายุราชการ

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายกฤษฎาดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมศุลกากร[4] แทนนาย กุลิศ สมบัติศิริ ที่โอนไปรับราชการในตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพลังงาน ต่อมาในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ประชุมมีมติให้นายกฤษฎาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลังสืบแทนนาย ประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลังที่เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 [5]

ต่อมาในวันที่ 31 สิงหาคม 2566 นายกฤษฎาได้ยื่นหนังสือลาออกจากราชการเพื่อมารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ทำให้พ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง[6] ต่อมาภายหลังการปรับคณะรัฐมนตรีในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 ได้มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ และแต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเพิ่มเติม จึงมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งแบ่งงานให้รัฐมนตรีรับผิดชอบ ส่งผลให้นายกฤษฎา ขอลาออกจากตำแหน่งซึ่งมีผลในทันที (8 พฤษภาคม)[7][8][9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
  2. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 78/2557 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  5. ครม.แต่งตั้ง3ปลัด'กฤษฎา'ผงาดคลัง 'ทองเปลว'เกษตรฯ 'ธานี'ต่างประเทศ
  6. ‘กฤษฎา’ ปลัดคลัง ยื่นลาออกแล้ว หลังมีชื่อติดโผ รมช.คลัง
  7. ‘เศรษฐา’ ยัน ‘กฤษฎา’ ลาออกมีผลเรียบร้อยแล้ว
  8. กางงานกระทรวงคลัง ชนวนเหตุรัฐมนตรีช่วย กฤษฎา ขอยื่นลาออก
  9. กฤษฎา รมช.คลัง ลาออก มีผลพ้นจากตำแหน่งแล้ว กฤษฎีการะบุ
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๘, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๐, ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙
ก่อนหน้า กฤษฎา จีนะวิจารณะ ถัดไป
สันติ พร้อมพัฒน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567)
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
เผ่าภูมิ โรจนสกุล


ประสงค์ พูนธเนศ
ปลัดกระทรวงการคลัง
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566)
ลวรณ แสงสนิท