จำลอง ดาวเรือง
จำลอง ดาวเรือง | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2480 – พ.ศ. 2490 | |
สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2453 จังหวัดมหาสารคาม ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 4 มีนาคม พ.ศ. 2492 (38 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | สหชีพ |
คู่สมรส | ทองดำ ดาวเรือง |
จำลอง ดาวเรือง (9 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2492) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม 3 สมัย และเป็นนักการเมือง หนึ่งใน "สี่เสืออีสาน" ซึ่งประกอบด้วย นายจำลอง ดาวเรือง นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายเตียง ศิริขันธ์ และนายถวิล อุดล หนึ่งในสมาชิกขบวนการเสรีไทย และเป็นรัฐมนตรีที่ถูกสังหารเมื่อปี พ.ศ. 2492 สิริอายุ 38 ปี[1]
ประวัติ
[แก้]นายจำลอง ดาวเรือง เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ที่บ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายมา และนางสอน ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน พื้นเพเป็นลูกอีสานคนมหาสารคาม ครอบครัวมีฐานะยากจน แต่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและมีใจรักใฝ่รู้ใฝ่เรียน เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนแล้ว จึงได้เข้ามาศึกษาต่อด้านช่างเครื่องยนต์ ณ โรงเรียนช่างกล ในกรุงเทพมหานคร โดยได้รับการสนับสนุนจากหลวงพิศิษฐ์ศุภกร (เจ๊กหยงนี) ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทรถขนส่งในจังหวัดร้อยเอ็ด ชีวิตสมรสของท่านนั้นมีภรรยาชื่อนางทองดำ ดาวเรือง
งานการเมือง
[แก้]จำลอง ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2480 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา รวม 3 สมัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]จำลอง ดาวเรือง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480 จังหวัดมหาสารคาม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 จังหวัดมหาสารคาม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489 (เลือกตั้งเพิ่มเติม) จังหวัดมหาสารคาม
รัฐมนตรี
[แก้]จำลอง ดาวเรือง ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี 4 สมัย
- รัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 12 ของนายทวี บุณยเกตุ[2]
- รัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 13 ของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[3]
- รัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 17 ของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 18 ของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์[4]
การเสียชีวิต
[แก้]นายจำลอง ดาวเรือง ถูกจับกุมพร้อมกับ อดีตรัฐมนตรีอีสานอีก 2 คน คือ นายถวิล อุดล นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ รวมทั้ง ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ก็ถูกนำตัวไปสังหารที่บริเวณทุ่งบางเขน ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 14 ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2492 โดย กรมตำรวจ ในเวลานั้นอ้างเหตุว่า มีโจรคอมมิวนิสต์มลายู มาชิงตัว 4 อดีตรัฐมนตรี และเกิดการต่อสู้ขึ้น จนทำให้ทั้ง 4 คน ถูกลูกหลงเสียชีวิตทั้งหมด แต่ไม่ใคร่จะมีใครเชื่อข้ออ้างดังกล่าวนัก เนื่องจากไม่มีตำรวจเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแม้แต่รายเดียว
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่ กรุงเทพ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๗, ๑๖ กันยายน ๒๔๘๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2453
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลจากอำเภอวาปีปทุม
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกขบวนการเสรีไทย
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม
- พรรคสหชีพ
- บุคคลจากโรงเรียนสารคามพิทยาคม
- บุคคลจากโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
- เหยื่อฆาตกรรมชาวไทย
- เสียชีวิตจากอาวุธปืน
- นักการเมืองไทยที่ถูกลอบสังหาร
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- ชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง