เกริกไกร จีระแพทย์
เกริกไกร จีระแพทย์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ |
ถัดไป | นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นางกาญจนา จีระแพทย์ |
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และเป็นอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาลดร.ทักษิณ ชินวัตร
ประวัติ
[แก้]นายเกริกไกร จีระแพทย์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2509 ระดับปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2514 นอกจากนี้ยังได้รับประกาศนียบัตรจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ. รุ่น 37) สำเร็จการศึกษาจากเนติบัณฑิตไทย ได้รับประกาศนียบัตร CERTIFICATE IN ECONOMICS DEVELOPMENT จากประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2516) และประกาศนียบัตร CERTIFICATE IN PROJECT APPRAISAL จากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด (พ.ศ. 2518)
การทำงาน
[แก้]นายเกริกไกร จีระแพทย์ เริ่มรับราชการในกระทรวงพาณิชย์ เคยได้รับตำแหน่งสำคัญในกระทรวงพาณิชย์ เช่น รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นตำแหน่งสุดท้าย
เกริกไกร จีระแพทย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาลดร.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2546 ต่อมาในการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ซึ่งนำโดยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี นายเกริกไกร จีระแพทย์ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[4]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๘๑, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
ก่อนหน้า | เกริกไกร จีระแพทย์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551) |
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2486
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ปลัดกระทรวงพาณิชย์ไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- กรรมการกฤษฎีกาไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา