ภูมิธรรม เวชยชัย
ภูมิธรรม เวชยชัย | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | |
ก่อนหน้า | จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ |
ถัดไป | นาวาเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 (67 ปี) |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | รศ.อภิญญา เวชยชัย |
ศาสนา | พุทธ |
ภูมิธรรม เวชยชัย เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์)[1][2] อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560 เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร[3] และอดีตรองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย
ประวัติ[แก้]
ภูมิธรรม เวชยชัย เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 มีชื่อเล่นว่า อ้วน สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนทวีธาภิเศก ปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2518 และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2527 และได้ผ่านการศึกษาหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ในปี พ.ศ. 2547
การทำงาน[แก้]
เขาเป็นรองผู้อำนวยการโครงการอาสาสมัคร สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ต่อมาได้หันเหมาทำงานในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง และเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ประจำสำนักประธานบริหารกลุ่มบริษัทในเครือชินวัตร ในระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2541
งานการเมือง[แก้]
เขาเริ่มเข้าสู่งานการเมืองด้วยการเป็นที่ปรึกษาคณะทำงาน สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) ในปี พ.ศ. 2544 และเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ประจำ รศ.ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) และเป็นรองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย กระทั่งได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2548[4] ซึ่งในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ได้นำเสนอพระราชกฤษฎีกา ต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ให้ยุบเลิกองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) โดยให้เหตุผลว่า มีปัญหาขาดสภาพคล่อง และมีหนี้สินสะสมกว่า 1,800 ล้านบาท และไม่มีความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจขนส่งของเอกชน [5][6]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 เขาได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[7] ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[8] และได้รับเลือกให้ทำหน้าที่เลขาธิการพรรค ในการประชุมพรรคฯ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555[9]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 21[10]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 4[11] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
รางวัลและเกียรติยศ[แก้]
- ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองโท ภูมิธรรม เวชยชัย[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
- ↑ ชวน เซ็นตั้ง 3 แกนนำเพื่อไทย ประยุทธ์-อดิศร-ภูมิธรรม นั่งทีมงานผู้นำฝ่ายค้านฯ
- ↑ นายภูมิธรรม เวชยชัยจากเว็บไซต์รัฐบาลไทย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=17/Oct/2548&news_id=114565&cat_id=600
- ↑ http://www.lawyerthai.com/news/view.php?topic=1189 คัดลอกมาจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
- ↑ เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!
- ↑ บ้านเลขที่ 111 ซบอก'เพื่อไทย'แล้ว
- ↑ 'จารุพงษ์'ผงาดนั่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00124654.PDF
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2496
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากโรงเรียนทวีธาภิเศก
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา
- นักการเมืองไทย
- พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.