วิเชียร วัฒนคุณ
หน้าตา
วิเชียร วัฒนคุณ | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | จรัส พั้วช่วย |
ถัดไป | สมบัติ ศรีสุรินทร์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | สวัสดิ์ คำประกอบ |
ถัดไป | สุวิทย์ คุณกิตติ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2473 |
เสียชีวิต | 22 มีนาคม พ.ศ. 2557 (83 ปี) |
คู่สมรส | เรณู วัฒนคุณ |
ศาสตราจารย์พิเศษ วิเชียร วัฒนคุณ ( 9 สิงหาคม พ.ศ. 2473 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2557[1])เป็นนักการทูตชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน 2 สมัย[2][3] และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (อานันท์ 1) เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส[4] และเป็นบุคคลที่เสนอชื่อนายปรีดี พนมยงค์ เป็นบุคคลสำคัญของโลกต่อยูเนสโก[5]
ศาสตราจารย์พิเศษ วิเชียร วัฒนคุณ หรือ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิเชียร วัฒนคุณ จบการศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และปริญญาตรีธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[6]
วิเชียร วัฒนคุณ สมรสกับ เรณู วัฒนคุณ บุตรีของพลเรือโท ศรี ดาวราย และหม่อมราชวงศ์อบลออ ดาวราย[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2529 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2524 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2518 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเพลิงศพ ร้อยตรี หม่อมหลวงอิษฎากร เกษมศรี และศาสตราจารย์วิเชียร วัฒนคุณ ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-01. สืบค้นเมื่อ 2016-01-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ "รายนามเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-08. สืบค้นเมื่อ 2013-07-11.
- ↑ ดร.วิเชียร วัฒนคุณ ผู้ยืนยันเสนอชื่อท่านปรีดีต่อยูเนสโก
- ↑ ศาสตราจารย์พิเศษ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ระลึกถึงคุณเรณู วัฒนคุณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-29. สืบค้นเมื่อ 2013-07-11.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๒๓, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2473
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2557
- โครง
- นักการทูตชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- ศาสตราจารย์พิเศษ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- เอกอัครราชทูตไทยประจำญี่ปุ่น