บุญเลิศ เลิศปรีชา
พันตำรวจโท บุญเลิศ เลิศปรีชา ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 20 เมษายน พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 มกราคม พ.ศ. 2462 |
เสียชีวิต | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2536 |
คู่สมรส | ชำนาญ เลิศปรีชา |
บุตร | ร.ศ.สุภัททา ปิณฑะแพทย์ |
พันตำรวจโท บุญเลิศ เลิศปรีชา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก 5 สมัย และอดีตเลขาธิการพรรคธรรมสังคม[1]
ประวัติ[แก้]
พันตำรวจโท บุญเลิศ เลิศปรีชา เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2462[2] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ,โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย,โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
การทำงาน[แก้]
พันตำรวจโท บุญเลิศ เคยรับราชการตำรวจ เป็นหัวหน้าตำรวจสันติบาลจังหวัดสงขลา[3] ซึ่งมีเหตุการณ์ที่ทำให้เป็นที่รู้จักคือ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ พร้อมคณะ ออกเดินทางมาพบ พ.ต.ท. บุญเลิศ ที่หน่วยสันติบาลสงขลาแล้วหายสาบสูญไป[4]
พันตำรวจโท บุญเลิศ เริ่มเข้าสู่การทำงานการเมือง โดยสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 ในพื้นที่จังหวัดนครนายก สังกัดพรรคสหประชาไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 ในสังกัดพรรคธรรมสังคม
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 ในสังกัดพรรคกิจสังคม
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[5]
โรคร้อยเอ็ด[แก้]
หลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 มีการเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดร้อยเอ็ด เขตหนึ่ง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ครั้งนี้มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดระหว่างพันตำรวจโท บุญเลิศ จากพรรคกิจสังคม กับพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติประชาธิปไตย จึงต้องใช้การซื้อเสียงเชิงรุก เพื่อให้ได้ ส.ส. จึงใช้การแจกจ่ายเงินสดแทนข้าวของ ทำกันอย่างเอิกเกริกแต่ก็ไม่มีการลงโทษตามกฎหมาย จึงเป็นต้นกำเนิดของการซื้อเสียงอย่างแพร่หลายในภาคอีสานในเวลาต่อมา[6][7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2518 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมืองราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2532. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2532
- ↑ ย้อนรอยการเมือง Di Selatan (7)
- ↑ ตำรวจพัวพันการหายตัวของนายหะยี สุหลง, หน้า 60. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (มีนาคม, 2555) ISBN 978-974-228-070-3
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ http://thaipoliticsgovernment.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%94
- ↑ http://www.bangkokpost.com/news/election/243003/roi-et-disease-cure-costs-locals
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม ๙๒ ตอน ๒๖๓ง วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2462
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2536
- บุคคลจากจังหวัดนครนายก
- ตำรวจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- บุคคลจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก
- พรรคสหประชาไทย
- พรรคธรรมสังคม
- พรรคกิจสังคม
- พรรคประชาธิปัตย์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์