ประจวบ ไชยสาส์น
ประจวบ ไชยสาส์น ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 8 กันยายน พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | นายชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | นาวาโท เดชา สุขารมณ์ |
ถัดไป | นายสุชน ชามพูนท |
นายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง | |
ดำรงตำแหน่ง 16 กันยายน พ.ศ. 2546 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (9 ปี 235 วัน) | |
ก่อนหน้า | ประภาศน์ อวยชัย |
ถัดไป | วิรัช ชินวินิจกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2487 อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 1 เมษายน พ.ศ. 2563 (75 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรค | ไทยรักไทย เสรีธรรม ชาติพัฒนา ประชาธิปัตย์ แนวร่วมประชาธิปไตย แนวประชาธิปไตย |
คู่สมรส | นางทองพูน ไชยสาส์น นางทับทิม ไชยสาส์น |
บุตร | 7 |
ศาสนา | พุทธ |
ประจวบ ไชยสาส์น (20 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 1 เมษายน พ.ศ. 2563) อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม อดีตเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอื่น ๆ อีกหลายกระทรวง และเป็นบิดาของนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น[1] และนายจักรพรรดิ ไชยสาส์น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย
นายประจวบ ไชยสาส์น เป็นที่รู้จักกันในฉายา "อีดี้อีสาน"[2]
ประวัติ[แก้]
นายประจวบ ไชยสาส์น เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2487 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3] สมรสกับนางทองพูน ไชยสาส์น มีบุตร 4 คน คือ จารุภรณ์ ไชยสาส์น จักรพรรดิ ไชยสาส์น ต่อพงษ์ ไชยสาส์น จิราภรณ์ ไชยสาส์น และได้หย่าในภายหลัง
ต่อมาประจวบ สมรสกับ นางทับทิม ไชยสาส์น มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ วชิระ ไชยสาส์น อัจฉรา ไชยสาส์น และสุดารัตน์ ไชยสาส์น
งานการเมือง[แก้]
นายประจวบ ไชยสาส์น เข้าสู่การเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี หลายสมัย และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในปี พ.ศ. 2529 ในตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[4] ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง อาทิ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม[5] กระทรวงสาธารณสุข[6] กระทรวงการต่างประเทศ[7] กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทบวงมหาวิทยาลัย
นายประจวบ ไชยสาส์น เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในพรรคการเมืองหลายพรรค อาทิ รองเลขาธิการพรรคแนวประชาธิปไตย กรรมการพรรคแนวร่วมประชาธิปไตย อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม และต่อมาได้ตัดสินใจยุบพรรคเสรีธรรม รวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
การถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง[แก้]
ในปี พ.ศ. 2549 นายประจวบ ไชยสาส์น ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[8] อีกด้านหนึ่งนายประจวบ ไชยสาส์น ใช้เวลาในระหว่างถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง (พ.ศ. 2553) เข้ารับการศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในรุ่นที่ 11 และเป็นรุ่นเดียวกันกับนักการเมืองชื่อดังอีกหลายคน อาทิ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ นายแพทย์บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ฯลฯ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
นายประจวบ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 7 สมัย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคชาติพัฒนา ( พ.ศ. 2535)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคชาติพัฒนา ( พ.ศ. 2535)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติพัฒนา ( พ.ศ. 2535)
ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]
นายประจวบ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563[9] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2532 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2531 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ต่อพงษ์ ไชยสาส์น
- ↑ เซปิง-ไชยสาส์น ไฮโซลูกทุ่ง (คนงาม)
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-09-13.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 44 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-09-13.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายมารุต บุนนาค ได้ลาออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง นายประจวบ ไชยสาส์น นายเจริญ คันธวงศ์ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายเอนก ทับสุวรรณ)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2010-09-13.
- ↑ สิ้นแล้ว ”ประจวบ ไชยสาส์น” อดีต รมต.หลายกระทรวง เจ้าของฉายา "อีดี้อีสาน"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
ก่อนหน้า | ประจวบ ไชยสาส์น | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
มารุต บุนนาค | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (22 พฤศจิกายน – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533) |
![]() |
ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ |
พินิจ จารุสมบัติ | ![]() |
หัวหน้าพรรคเสรีธรรม (15 กันยายน พ.ศ. 2543 – 6 กันยายน พ.ศ. 2544) |
![]() |
ยุบพรรค |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2563
- บุคคลจากอำเภอกุมภวาปี
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย
- รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
- ผู้แทนการค้าไทย
- พรรคแนวประชาธิปไตย
- พรรคชาติประชาธิปไตย
- พรรคสังคมชาตินิยม
- พรรคชาติไทย
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535)
- พรรคไทยรักไทย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.