ทองเปลว ชลภูมิ
ทองเปลว ชลภูมิ | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2479 – พ.ศ. 2490 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 เมืองสมุทรสงคราม ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 4 มีนาคม พ.ศ. 2492 (37 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรค | แนวรัฐธรรมนูญ |
คู่สมรส | นิ่มนวล ชลภูมิ |
ศาสนา | พุทธ |
ทองเปลว ชลภูมิ (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2492) เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี หนึ่งในสี่รัฐมนตรีที่ถูกสังหารเมื่อ พ.ศ. 2492[1][2][3] ซึ่งประกอบด้วย นายจำลอง ดาวเรือง, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และนายถวิล อุดล
เขาเป็นอดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร[4] และอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สิริอายุ 37 ปี[5]
ประวัติ[แก้]
ดร.ทองเปลว ชลภูมิ เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 ที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในครอบครัวที่มีอาชีพค้าขาย ในวัยเด็กจึงย้ายสถานที่เรียนไปหลายจังหวัดในเขตภาคกลาง ก่อนจะเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร ศึกษาต่อที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ จบการศึกษาในปี พ.ศ. 2472 จากนั้นจึงได้เข้าทำงาน แล้วเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกฎหมายของนายปรีดี พนมยงค์ แล้วเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของนายปรีดี ในปี พ.ศ. 2474 ได้นำหนังสือ ทรัพยศาสตร์ มาตีพิมพ์เล่มใหม่อีกครั้ง และเข้าร่วมเป็นคณะราษฎรสายพลเรือน มีน้องชายชื่อ พายัพ ชลภูมิ ชีวิตสมรสของท่านนั้นมีภรรยาชื่อนางนิ่มนวล ชลภูมิ
งานการเมือง[แก้]
ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกรวม 1 สมัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489 (เลือกตั้งเพิ่มเติม) จังหวัดปราจีนบุรี (ต่อมาเข้าร่วมกับพรรคแนวรัฐธรรมนูญ)[6]
รัฐมนตรี[แก้]
ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี 1 สมัย
- รัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 17 ของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
การเสียชีวิต[แก้]
ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ถูกจับกุมพร้อมกับ อดีตรัฐมนตรีอีสานอีก 3 คน คือ นายถวิล อุดล, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และนายจำลอง ดาวเรือง ถูกนำตัวไปสังหารที่บริเวณทุ่งบางเขน ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 14 ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2492 โดย กรมตำรวจ ในเวลานั้นอ้างเหตุว่า มีโจรคอมมิวนิสต์มลายู มาชิงตัว 4 อดีตรัฐมนตรี และเกิดการต่อสู้ขึ้น จนทำให้ทั้ง 4 คน ถูกลูกหลงเสียชีวิตทั้งหมด แต่ไม่ใคร่จะมีใครเชื่อข้ออ้างดังกล่าวนัก เนื่องจากไม่มีตำรวจเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแม้แต่รายเดียว
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่ กรุงเทพ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
- ↑ "ดร.ทองเปลว ชลภูมิ : รัฐมนตรีผู้ถูกยิงทิ้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-27. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
- ↑ การสังหาร 4 รัฐมนตรี: คดีการเมืองสะเทือนขวัญของไทย
- ↑ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- ↑ สมาชิกผู้แทนราษฎร
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2455
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลจากอำเภออัมพวา
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี
- พรรคแนวรัฐธรรมนูญ
- สมาชิกคณะราษฎร
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- เสียชีวิตจากอาวุธปืน
- นักการเมืองไทยที่ถูกลอบสังหาร
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์