ข้ามไปเนื้อหา

รักษ ปันยารชุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก รักษ์ ปันยารชุน)
รักษ ปันยารชุน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
28 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 มิถุนายน พ.ศ. 2457
เสียชีวิต21 มกราคม พ.ศ. 2550 (92 ปี)
คู่สมรสจีรวัสส์ พิบูลสงคราม

พันตรี รักษ ปันยารชุน เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลของจอมพล ป .พิบูลสงคราม​ และเป็นบุตรเขยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ประวัติ

[แก้]

รักษ ปันยารชุน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2457 ในครอบครัวขุนนาง เป็นบุตรชายคนโตของพระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) กับคุณหญิง ปฤกษ์ ชาวไทยเชื้อสายจีน[1][2] (แคะ)[3] ซึ่งตัวเขาเองมีเชื้อสายจีนมาจากยายซึ่งใช้แซ่เล่า (จีน: ; หลิว)[4]

รักษ ปันยารชุนมีพี่น้องดังนี้

  1. รักษ ปันยารชุน
  2. สุธีรา เกษมศรี ณ อยุธยา
  3. ปฤถา วัชราภัย
  4. กุนตี พิชเยนทรโยธิน
  5. กุศะ ปันยารชุน
  6. หม่อม จิตรา วรวรรณ ณ อยุธยา
  7. ดุษฎี โอสถานนท์
  8. พันตำรวจเอก ประสัตถ์ ปันยารชุน
  9. กรรถนา อิศรเสนา ณ อยุธยา
  10. สุภาพรรณ ชุมพล ณ อยุธยา
  11. ชัช ปันยารชุน
  12. อานันท์ ปันยารชุน

รักษ์ ได้รับการศึกษาในโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และศึกษาจนจบปริญญาเอกจากประเทศฝรั่งเศส ทางด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองลีล (Université de Lille) เขาสมรสกับจีรวัสส์ พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นบุตรีของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

การทำงาน

[แก้]

รักษ ได้เข้าทำงานเป็นนายทหารอยู่ที่กรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 พ.ต.รักษ ได้ลาออกจากราชการมาทำธุรกิจด้านการบินและการขนส่ง นำเข้ารถยนต์ และร่วมกันตั้งบริษัทดำเนินการผลิตโคคา-โคล่า ของอเมริกาในประเทศไทย โดยตั้งชื่อบริษัทว่า Rak, Derrik & Davis Bottling รวมทั้งต่อมาได้ตั้งบริษัทน้ำดื่มชื่อ “โพลาริส” และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทสหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด[13]

ในปี พ.ศ. 2498 พ.ต.รักษ ได้เข้าสู่วงการการเมืองโดยการนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทนนายเขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ ต่อมาจึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอีกสมัย ในปี พ.ศ. 2500[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. PAVING THE WAY[ลิงก์เสีย] (อังกฤษ)
  2. PROUD TO BE MON SAYS FORMER THAI PM เก็บถาวร 2007-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  3. "นรฤทธิ์ โชติกเสถียร ทายาทคนใหม่ของอาคเนย์ฯ" (Press release). นิตยสารผู้จัดการ. สิงหาคม 2529. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. [泰国] 洪林, 黎道纲主编 (April 2006). 泰国华侨华人研究. 香港社会科学出版社有限公司. p. 185. ISBN 962-620-127-4.
  5. จีรวัสส์ ปันยารชุน บุตรี 'จอมพล ป. พิบูลสงคราม' เสียชีวิต
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชาบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 63 หน้า 2086, 23 สิงหาคม 2498
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 67 หน้า 2130, 30 สิงหาคม 2498
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 11 หน้า 385, 31 มกราคม 2499
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชาทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 50 หน้า 1794, 26 มิถุนายน 2499
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 103 หน้า 3743, 11 ธันวาคม 2499
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 74 ตอนที่ 51 หน้า 1303, 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2500
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 74 ตอนที่ 71 หน้า 2135, 27 สิงหาคม พ.ศ. 2500
  13. ประวัติบริษัท
  14. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500