ธรรมนัส พรหมเผ่า
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ป.ม., จ.ช. | |
---|---|
![]() | |
ธรรมนัสในปี 2563 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ลักษณ์ วจนานวัช วิวัฒน์ ศัลยกำธร |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 25 มีนาคม 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 สิงหาคม พ.ศ. 2508 (55 ปี) จังหวัดพะเยา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคพลังประชารัฐ |
การเข้าร่วม การเมืองอื่น |
พรรคไทยรักไทย พรรคเพื่อไทย |
คู่สมรส | อริสรา พรหมเผ่า[1] |
คู่อาศัย | ธนพร ศรีวิราช[1] |
บุตร | 7 คน (รวมบุตรนอกสมรส)[1] |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยนานาชาติกาลามัส และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย |
การเข้าเป็นทหาร | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | กองทัพบก |
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เดิมมีชื่อว่า ยุทธภูมิ โบพรหม, พชร โบพรหม, พชร พรหมเผ่า และมนัส พรหมเผ่า[3] (เกิด 18 สิงหาคม 2508) เป็นนักการเมืองและทหารบกชาวไทย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เขต 1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาเป็นผู้แก้ปัญหา (fixer) ทางการเมืองให้แก่รัฐบาลทหาร[4] และเขาเรียกตนเองว่าเป็นเส้นเลือดสำคัญในรัฐบาลผสม[5]
ประวัติ[แก้]
ธรรมนัส เกิดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2508 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 25 (รวมเหล่ารุ่นที่ 2) ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 36 รุ่นเดียวกับพลเอกร่มเกล้า ธุวธรรม[6] ปริญญาโทพุทธศาสนมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาเอกปรัชญาดุษฎีบัณฑิต Doctor of Philosophy (รัฐประศาสนศาสตร์) California University FCE ประเทศสหรัฐอเมริกา[7]
ในการศึกษาระดับปริญญาเอก ธรรมนัสได้ทำวิทยานิพนธ์ชื่อ "The Forms of the Local Performance Development and Promotion with Image and Identity in Order to Increase the Value Added and Value Creation: A Case Study of Phayao Province." (รูปแบบของการพัฒนาศักยภาพท้องถิ่นและการส่งเสริมภาพลักษณ์รวมถึงอัตลักษณ์เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าเชิงการสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาจังหวัดพะเยา) ร่วมกับคณะอีก 4 คน เผยแพร่ในเว็บไซต์วารสารงานวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งยุโรป (European Journal of Scientific Research) เมื่อปี พ.ศ. 2557[8]
ก่อนหน้าที่จะเป็นนักการเมือง ธรรมนัสเคยเป็นประธานกรรมการบริษัทในเครือธรรมนัสกรุ๊ป[6] ดำเนินธุรกิจหลากหลาย ที่สำคัญคือการถือหุ้นใน บจก.รักษาความปลอดภัย ที.พี.การ์ด ซึ่งมีพลเอกไตรรงค์ อินทรทัต อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เป็นหนึ่งในกรรมการบริษัท[9] และ หจก.ขวัญฤดี ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแทนจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลรายใหญ่[10] นอกจากนี้ธรรมนัสยังเคยเป็นประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดพะเยาอีกด้วย[11]
งานการเมือง[แก้]
ธรรมนัสเริ่มงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทยเมื่อปี พ.ศ. 2542 ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย[12] แต่การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นโมฆะ[13] ต่อมาเมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้ายึดอำนาจ เขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่ คสช. มีคำสั่งเรียกมารายงานตัว[14] ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ธรรมนัสได้เข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ โดยได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการยุทธศาสตร์ภาคเหนือของพรรค และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เขตที่ 1 โดยชนะอรุณี ชำนาญยา เจ้าของพื้นที่เดิมจากพรรคเพื่อไทย[15]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดพะเยา สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
สมรสกับนางอริสรา (หรือธนสร) พรหมเผ่า และใช้ชีวิตคู่ร่วมกับธนพร ศรีวิราช ข้าราชการการเมือง ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ นางสาวไทยประจำปี 2559 มีบุตร 7 คน ทรัพย์สินรวม 866 ล้านบาท[1][16]
กระแสวิพากษ์วิจารณ์[แก้]
การถอดยศ[แก้]
เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2541 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ถอดยศ ร้อยโท พชร พรหมเผ่า (ชื่อในขณะนั้น) เนื่องจากประพฤติตนไม่เหมาะสมตามพระราชบัญญัติวินัยทหาร พุทธศักราช 2476 ซึ่งต่อมาในโลกโซเชียลต่างแชร์พระบรมราชโองการดังกล่าว ซึ่งต่อมานายชวน หลีกภัย ซึ่งเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในขณะนั้น ได้ให้ความเห็นว่า ส่วนนั้นก็เป็นไปตามระบบราชการ สามารถไปดูข้อมูลย้อนหลังได้ว่ามีการประกาศพระบรมราชโองการว่าอย่างไร[17] โดยก่อนหน้านั้น ธรรมนัสเคยถูกปลดออกจากราชการในปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา และในปี พ.ศ. 2536 เนื่องจากหนีราชการในเวลาประจำการ แต่ธรรมนัสก็ทำเรื่องขอกลับเข้ารับราชการใหม่ทั้งสองครั้ง[3]
วุฒิการศึกษา[แก้]
เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562 เฟซบุ๊กเพจ "CSI LA" ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาของธรรมนัส ซึ่งระบุในเว็บไซต์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรว่า สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ว่าแท้จริง ธรรมนัสสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนานาชาติคาลามัส (Calamus International University) ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้รับการยอมรับวุฒิการศึกษาในหลายประเทศ ด้านธรรมนัสได้นำหลักฐานมาแสดงเพื่อตอบโต้[18][19] นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าเว็บไซต์ที่เผยแพร่วิทยานิพนธ์ของธรรมนัสและคณะนั้น ถูกระบุว่าเป็นสำนักพิมพ์ที่เปิดเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยการเก็บค่าตีพิมพ์จากผู้เขียน โดยไม่ได้ให้บริการในการแก้ไขและตีพิมพ์ตามหลักของวารสารวิชาการ][8] และเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าว อาจเข้าข่ายการคัดลอกงานวิชาการ[20]
จากการตรวจสอบพบว่า ในช่วงเวลาที่ ร้อยเอก ธรรมนัสฯ เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยนานาชาติคาลามัส วิทยาเขตประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยดังกล่าวได้รับการรับรองจากสมาคมการศึกษาทางไกล (International Association for Distance Learning) ของประเทศอังกฤษ และร้อยเอกธรรมนัสฯ ได้รับการเทียบโอนหน่วยกิตและทำดุษฎีนิพนธ์จนกระทั่งได้รับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขารัฐประศาสนศาสตร์ (Doctor of Philosopy in Public Administration) อีกสาขาหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เอฟซีอี www.cufce.org ซึ่งต่อมาหลังจากเกิดกรณีความเคลือบแคลงสงสัยในเรื่องวุฒิการศึกษา ทางกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกหนังสือรับรองว่าสถาบันการศึกษาแห่งนี้ได้ดำเนินการอย่างถูกต้องและได้รับการรับรองจากมลรัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา โดยในเรื่องนี้ได้มีประกาศสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 14 เมษายน 2563 รับทราบถึงเอกสารรับรองดังกล่าวและได้ติดประกาศไว้ ณ อาคารรัฐสภา (เกียกกาย) ชั้น 1 พร้อมลงในเว็บไซต์ของสภาผู้แทนราษฎรที่ www.parliament.go.th เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาและประชาชนโดยทั่วไปได้รับทราบโดยทั่วกันด้วย
ส่วนเรื่องวารสารที่ร้อยเอกธรรมนัสฯ ส่งบทความไปตีพิมพ์พบว่า ในช่วงเวลานั้น วารสาร European Journal of Scientific Research ได้รับการรับรองจาก Scopus https://www.scimagojr.com/journalsearch.php?q=4400151716&tip=sid&clean=0 มี Ranking อยู่ในอันดับที่ 36 ของโลก Scopus เป็นฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากที่สุด ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทุกประเทศ
ส่วนเนื้อหาของบทความวิจัยที่มีบางส่วนซ้ำกับวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาบางคน เกิดขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและมีการอ้างอิงข้อความจากแนวคิดและทฤษฎีเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการทำงานวิจัยที่จะต้องมีเนื้อหาซ้ำกันในส่วนของการทบทวนวรรณกรรม และไม่ถือเป็นการคัดลอกผลงานทางวิชาการ
แต่งตั้งคู่ชีวิตเป็นข้าราชการ[แก้]
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 ธนพร ศรีวิราช อดีตนางสาวไทย คู่ชีวิตของธรรมนัส ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[21]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด[แก้]
- พ.ศ. 2563 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[22]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "'ธรรมนัส'แจ้ง ป.ป.ช. เมีย 2 คน 'อริสรา - น้องจุ๊บจิ๊บ' - รายได้ขายหวยเดือนละ 3 ล." สำนักข่าวอิศรา. 22 August 2019. สืบค้นเมื่อ 10 November 2020.
- ↑ เปิดคำสั่งกลาโหม 360/2541 แต่งตั้ง "ร้อยเอกธรรมนัส" มติชนออนไลน์ วันที่ 16 กันยายน 2562 - 08:31 น. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2562 - 16:50
- ↑ 3.0 3.1 ธรรมนัส : ค้นราชกิจจาฯ เฟ้นหาแฟ้มข่าว สาวเส้นทาง ขึ้น-ลง แกนนำสำคัญของพรรคพลังประชารัฐ บีบีซีไทย
- ↑ "Australian report challenges Thamanat's claims". Bangkok Post. 12 September 2019. สืบค้นเมื่อ 13 September 2019.
- ↑ "Thai Opposition Calls on Cabinet Member to Clear His Name". The New York Times. Reuters. 10 September 2019. สืบค้นเมื่อ 13 September 2019.
- ↑ 6.0 6.1 เสธ.แดง” VS “ผู้กองมนัส”
- ↑ https://hris.parliament.go.th/ss_detail.php?sapa_id=82&ssp_id=20965&lang=th
- ↑ 8.0 8.1 เปิดโฉมเว็บไซต์วารสารเผยแพร่ ‘ธีสิส’ ป.เอก ธรรมนัส เสธ.แดง” VS “ผู้กองมนัส”
- ↑ พล.อ.ไตรรงค์ ในธุรกิจรักษาความปลอดภัย ‘ธรรมนัส’
- ↑ "ร.อ.ธรรมนัส" ทุ่ม 374 ล. ค้ำแลกโควตาหวยรัฐ ทำรายได้แค่ปีละ 9 ล้าน?
- ↑ ช็อก!พะเยาพักทีม 2 ปีเริ่มต้นใหม่ที 4
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ ปูมหลัง "ธรรมนัส" ชีวิตสุดโชกโชน อดีตทหาร ถูกมองมาเฟีย สู่สายเคลียร์ สลายก๊ก
- ↑ เบื้องลึก! เรียก'ขาใหญ่' คนมีสี รายงานตัว
- ↑ คนนี้ใครกัน! “ผู้กองมนัส” คีย์แมนสำคัญ ‘รบ.บิ๊กตู่’ เคยโดนถอดยศ สู่ ท่านว่าที่ รมต.
- ↑ https://www.khaosod.co.th/beauty/news_2798102
- ↑ “ชวน” แจงวุ่น หลังแชร์ว่อน เป็นผู้รับสนองฯ ปมถอดยศ “ธรรมนัส พรหมเผ่า”
- ↑ ธรรมนัส โชว์งานวิจัยพร้อมใบประกาศ ยันจบปริญญาเอกจากสหรัฐฯ
- ↑ เปิดคำแปล ‘คำต่อคำ’ ใบปริญญาเอก ‘ธรรมนัส’
- ↑ ธรรมนัส พรหมเผ่า : บทความวิชาการของ "ดอกเตอร์" มีข้อความหลายส่วนตรงกับผลงานปริญญาเอกของนักศึกษาในฟินแลนด์
- ↑ "ครม.เห็นชอบตั้ง "ธนพร ศรีวิราช" นั่งข้าราชการการเมือง". Thai PBS. 10 November 2020. สืบค้นเมื่อ 10 November 2020.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ หน้า ๒ เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2508
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดพะเยา
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ช.