อาสา สารสิน
อาสา สารสิน ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
![]() | |
ราชเลขาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2542 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555 | |
ก่อนหน้า | หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี |
ถัดไป | กฤษณ์ กาญจนกุญชร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | อาทิตย์ อุไรรัตน์ |
ถัดไป | ปองพล อดิเรกสาร |
ดำรงตำแหน่ง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | ปองพล อดิเรกสาร |
ถัดไป | ประสงค์ สุ่นศิริ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงสุจิตคุณ สารสิน |
ศาสนา | พุทธ |
อาสา สารสิน (เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2480) ประธานกรรมการ บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) อดีตประธานกรรมการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) อดีตราชเลขาธิการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ประวัติ[แก้]
อาสา สารสิน เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพจน์ สารสิน[1] อดีตนายกรัฐมนตรี กับท่านผู้หญิงสิริ สารสิน (สกุลเดิม โชติกเสถียร) เป็นหลานของพระยาสารสินสวามิภักดิ์ ต้นสกุลสารสิน ซึ่งรับราชการเป็นแพทย์หลวงประจำราชสำนัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันเป็นนายกสมาคมไทย-ญี่ปุ่น กิตติมศักดิ์
ครอบครัว[แก้]
อาสา สารสิน มีพี่น้อง 5 คน คือ
- พงส์ สารสิน ประธานกรรมการอินทัช โฮลดิ้งส์ หลังจากขายหุ้นให้บริษัทกุหลาบแก้ว จำกัดในเครือ ชเทมาเส็กโฮลดิงส์ ประเทศสิงคโปร์
- พลตำรวจเอกเภา สารสิน อดีตอธิบดีกรมตำรวจ
- บัณฑิต บุญยะปาณะ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง
- พิมสิริ ณ สงขลา สมรสกับพันเอกจินดา ณ สงขลา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- พลเอกสุภัทร สารสิน
อาสา สมรสกับท่านผู้หญิงสุจิตคุณ สารสิน (ราชสกุลเดิม กิติยากร) ธิดาในหม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร กับหม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม กิติยากร (ราชสกุลเดิม ชยางกูร) มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ
- กิติยา อมาตยกุล สมรสกับพีระยศ อมาตยกุล
- พาที สารสิน อดีตกรรมการผู้จัดการ นกแอร์
- ปิยมา สารสิน
การศึกษา[แก้]
- ระดับประถมศึกษา โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนดัลวิช ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วิทยาลัย วิลบราฮัม แอนด์ มอนสัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ
- ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ
การทำงาน[แก้]
- พ.ศ. 2502 : กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2504 – 2506 : กององค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมองค์การระหว่างประเทศ
- พ.ศ. 2506 – 2508 : เลขานุการโท ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2508 – 2510 : เลขานุการโท กองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการเมือง
- พ.ศ. 2510 – 2512 : หัวหน้ากองเอเชียใต้ ตะวันออกใกล้ ตะวันออกไกล และแอฟริกา กรมการเมือง
- พ.ศ. 2512 – 2514 : เลขานุการเอกประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
- พ.ศ. 2514 : ผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการเมือง
- พ.ศ. 2514 – 2516 : เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2516 – 2518 : ผู้อำนวยการกองนโยบายและวางแผน สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ, เลขาธิการสำนักงานเลขาธิการแห่งชาติ สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะมนตรีเอเชียแปซิฟิค (ASA-ASEAN and ASPAC National Secretariat (Thailand)
- พ.ศ. 2518 – 2520 : อธิบดีกรมเศรษฐกิจ
- พ.ศ. 2520 – 2522 : เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเบลเยียม และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
- พ.ศ. 2522 – 2525 : อธิบดีกรมการเมือง
- พ.ศ. 2525 – 2528 : ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2528 – 2531 : เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐ
- พ.ศ. 2531 – 2534 : กรรมการผู้จัดการ ผาแดงอินดัสทรี
- มีนาคม พ.ศ. 2534 – เมษายน พ.ศ. 2535 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[2]
- มิถุนายน พ.ศ. 2535 – กันยายน พ.ศ. 2535 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[3]
- 27 เมษายน พ.ศ. 2542 : รองราชเลขาธิการ
- 21 สิงหาคม พ.ศ. 2542 : ราชเลขาธิการ
การทำงานอื่น ๆ[แก้]
เช่น กรรมการธนาคารกรุงเทพ, รองประธานกรรมการเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ, ประธานกรรมการไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ ผู้ผลิตและจำหน่ายไฮเนเก้น และเบียร์ไทเกอร์ ประเทศสิงคโปร์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2527 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2525 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2537 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2528 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
- พ.ศ. 2546 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ""อาสา สารสิน จากนักการทูตมาสู่โลกธุรกิจ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย)เล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๗, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๒, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๓๐, ๕ มกราคม ๒๕๔๙
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ประวัตินายอาสา เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ สำนักราชเลขาธิการ
- ประวัตินายอาสา เก็บถาวร 2006-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ เครือซิเมนต์ไทย
ก่อนหน้า | อาสา สารสิน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี | ![]() |
ราชเลขาธิการ (1 สิงหาคม พ.ศ. 2543 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555) |
![]() |
กฤษณ์ กาญจนกุญชร |
อาทิตย์ อุไรรัตน์ | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ครั้งที่ 1 (6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535) |
![]() |
ปองพล อดิเรกสาร |
ปองพล อดิเรกสาร | ![]() |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ครั้งที่ 2 (10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535) |
![]() |
ประสงค์ สุ่นศิริ |
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2480
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- สกุลสารสิน
- สกุลโชติกเสถียร
- บุตรของนายกรัฐมนตรีไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการทูตชาวไทย
- ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- ข้าราชการในพระองค์ชาวไทย
- ราชเลขาธิการและราชเลขานุการในพระมหากษัตริย์ไทย
- บุคคลจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยบอสตัน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์