หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี
หม่อมราชวงศ์ เกษมสโมสร เกษมศรี ม.ป.ช., ม.ว.ม., ป.ภ., ท.จ.ว. | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน พ.ศ. 2539 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 – 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | กระแส ชนะวงศ์ |
ถัดไป | อำนวย วีรวรรณ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 มีนาคม พ.ศ. 2473 (90 ปี) |
พรรคการเมือง | พรรคนำไทย |
คู่สมรส | คุณหญิง เรวดี เกษมศรี ณ อยุธยา |
ลายมือชื่อ | ![]() |
หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี (9 มีนาคม พ.ศ. 2473 -) อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปักกิ่ง จาการ์ตา และกรุงวอชิงตัน เป็นโอรสของหม่อมเจ้าสโมสรเกษม เกษมศรี พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ และหม่อมเจ้าแขไขจรัสศรี เทวกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
การศึกษา[แก้]
หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล, โรงเรียนอำนวยศิลป์ [1][2] จบปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อ พ.ศ. 2497 และปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2530
การทำงาน[แก้]
หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เริ่มรับราชการกระทรวงการต่างประเทศ จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และได้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปักกิ่งคนแรก หลังจากการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อ พ.ศ. 2516-2523 [3]
จากนั้นหม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร ย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ระหว่าง พ.ศ. 2525-2529 [4] และดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่าง พ.ศ. 2523-2525, 2529-2533 จนเกษียณอายุราชการ
ด้านการเมือง หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2532 และ พ.ศ. 2534[5] รองนายกรัฐมนตรี 2 สมัยสังกัดอิสระเมื่อ พ.ศ. 2535[6] และ 2539 ในโควตาของพรรคชาติไทย[7] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. 2538-2539 และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทย[8]
เคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคนำไทยเมื่อ พ.ศ.2537
ปัจจุบัน หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี ดำรงตำแหน่งกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ครั้งก่อตั้งมูลนิธิ เมื่อ พ.ศ. 2534 [9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2529 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2524 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2539 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[12]
- พ.ศ. 2531 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[13]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ รุ่นลมหวน รุ่นเดียวกับ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อานันท์ ปันยารชุน ร้อยตำรวจเอกสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ นุกูล ประจวบเหมาะ สิปปนนท์ เกตุทัต เกษม ศิริสัมพันธ์ เอนก สิทธิประศาสน์ พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร รงค์ วงษ์สวรรค์
- ↑ http://www.tuneingarden.com/secret/se-lomh.shtml
- ↑ http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9480000080302
- ↑ http://www.thaiembdc.org/aboutemb/amb_list_t.html
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย)เล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ ราชกิจจานุบเกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
- ↑ http://www.chartthai.or.th/index.php?option=com_ctpmember&task=view&member_type=10&id=29
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ http://www.kanchanapisek.or.th/pmaf/committee/comm-2534.th.html
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่อราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 1 เล่ม 103 ตอนที่ 12 27 มกราคม 2529
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 40 เล่ม 98 ตอนที่ 209 17 ธันวาคม 2524
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับทะเบียนฐานันดรฯ หน้า 2 เล่ม 113 ตอนที่ 22 4 ธันวาคม 2539
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 1 เล่ม 105 ตอนที่ 72 4 พฤษภาคม 2531
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2473
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- หม่อมราชวงศ์
- ราชสกุลเกษมศรี
- นักการทูตชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- พรรคนำไทย
- พรรคชาติไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์