บุญรอด สมทัศน์
พลเอก บุญรอด สมทัศน์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
ถัดไป | สมัคร สุนทรเวช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 |
คู่สมรส | นางชลทิพย์ สมทัศน์ |
ศาสนา | พุทธ |
พลเอก บุญรอด สมทัศน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ [1]อดีตราชองครักษ์พิเศษ[2]
ประวัติ[แก้]
พลเอกบุญรอด สมทัศน์ เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 สำเร็จการศึกษาก่อนเข้ารับราชการ จากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 1 (ตท.1) พ.ศ. 2501 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 12 (จปร.12) พ.ศ. 2503 โรงเรียนนายร้อยทหารบกฝรั่งเศส พ.ศ. 2507
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางชลทิพย์ สมทัศน์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นายบุลโรจน์ สมทัศน์ นางรสมาลย์ มงคลวิสุทธิ์ และนายบุณยวัฒน์
ตำแหน่งทางทหาร[แก้]
- ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1
- เสนาธิการ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
- ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 2
- รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
- ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายข่าว
- รองเสนาธิการทหารบก
- เสนาธิการทหารบก
- เสนาธิการทหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
- พ.ศ. 2543 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2539 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2511 –
เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[5]
- พ.ศ. 2514 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2530 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
- พ.ศ. 2535 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๖ มกราคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๘๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๑ กันยายน ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑๒, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖
ก่อนหน้า | บุญรอด สมทัศน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551) |
![]() |
สมัคร สุนทรเวช |
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
หมวดหมู่:
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่มีนาคม 2022
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2484
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย
- ทหารบกชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- นักกีตาร์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์