หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร | |
---|---|
![]() | |
พระนาม | หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร |
พระนามเต็ม | พลอากาศโท หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร |
พระอิสริยยศ | หม่อมเจ้า |
ฐานันดร | หม่อมเจ้า |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์จักรี |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
ประสูติ | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2449 |
สิ้นชีพิตักษัย | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508 (59 ปี) |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ |
พระมารดา | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ |
หม่อม | หม่อมราชวงศ์ไพเราะ อาภากร |
พระบุตร | 3 คน |
พลอากาศโท หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2449 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเมื่อ พ.ศ. 2491 หลังจากนั้นทรงรับราชการในกองทัพอากาศในตำแหน่งรองผู้บังคับการกองบินยุทธการในปี พ.ศ. 2501 จากนั้นโอนไปทรงรับราชการกระทรวงการต่างประเทศในตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508 สิริชันษา 59 ปี[1]
พลอากาศโท หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร เสกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิงไพเราะ กฤดากร ธิดาหม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร มีโอรสและธิดา 3 คน คือ [2]
- หม่อมราชวงศ์หญิงทิพย์ไพเราะ อาภากร สมรสกับสุคนธ์ ศรโชติ มีบุตรธิดา 2 คน คือ
- อรทิพย์ รวคนธ์
- ภัทเรก ศรโชติ
- หม่อมราชวงศ์หญิงดารณี อาภากร สมรสกับ น.พ.วิบูลย์ วัฒนายากร มีบุตรธิดา 2 คนคือ
- สลีลา วัฒนายากร
- สิทธิ วัฒนายากร
- หม่อมราชวงศ์ชัยกร อาภากร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2508 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2503 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2500 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2484 –
เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)[6]
- พ.ศ. 2505 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[7]
- พ.ศ. 2482 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2500 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[8]
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
ต่างประเทศ[แก้]
- พ.ศ. 2495 -
Us legion of merit officer[9]
พงศาวลี[แก้]
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร |
- ↑ กองทัพอากาศพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลอากาศโท หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร ม.ป.ช., ,ม.ว.ม., ท.จ. ร.ก., ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2509.
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 82 ตอนที่ 111 วันที่ 23 ธันวาคม 2508
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานองพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า หน้า ๑๒๐๙ เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๔๗, ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เล่ม 79 ตอนที่ 83 ราชกิจจานุเบกษา 8 กันยายน 2505
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๖๒ เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑, ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๙๙
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ