หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หลวงเดชสหกรณ์)
เดช สนิทวงศ์
ประธานองคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม 2518 – 8 กันยายน 2518
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ถัดไปสัญญา ธรรมศักดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
20 สิงหาคม 2484 – 7 มีนาคม 2485
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้านาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์
ถัดไปพลเรือโท หลวงสินธุสงครามชัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ 2486 – 20 กันยายน 2487
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าควง อภัยวงศ์
ถัดไปควง อภัยวงศ์
ดำรงตำแหน่ง
10 พฤศจิกายน 2490 – 21 กุมภาพันธ์ 2491
(0 ปี 103 วัน)
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าเดือน บุนนาค
ถัดไปพลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
4 สิงหาคม 2492 – 29 กุมภาพันธ์ 2495
ก่อนหน้าเล้ง ศรีสมวงศ์
ถัดไปเสริม วินิจฉัยกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441
เสียชีวิต8 กันยายน พ.ศ. 2518 (77 ปี)
เชื้อชาติไทย
คู่สมรสท่านผู้หญิงประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา[1]
บุตรท่านผู้หญิงวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
นายพิสิษฐ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
นายมนูเสรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
บุพการี

รองอำมาตย์เอก หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ หรือ หลวงเดชสหกรณ์ (18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 - 8 กันยายน พ.ศ. 2518) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[2] อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[3] อดีตประธานองคมนตรี[4] อดีตข้าราชการ อธิบดีกรมที่ดิน/กรมทรัพยากรธรณี [5][6] และรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพาณิชย์[7] กระทรวงเศรษฐการ ผู้วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การกสิกรรม และกิจการสหกรณ์ของไทย

ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงเดชสหกรณ์ในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยกลับไปใช้ชื่อเดิม เมื่อ พ.ศ. 2484[8]

หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ จบการศึกษาปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยกรุงแบร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในสาขาเศรษฐศาสตร์[9]

ชาติวงศ์ตระกูล[แก้]

หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ (หลวงเดชสหกรณ์) เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท่านผู้หญิงวงษานุประพัทธ์ (ตาด สิงหเสนี) ในสายเจ้าพระยามุขมนตรี (เกด สิงหเสนี) เกิดที่วังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 ขณะที่ท่านบิดามียศและบรรดาศักดิ์เป็นพันตรี หม่อมชาติเดชอุดม (หม่อมราชินิกุล) มีพี่น้องทั้งหมด คือ

  1. หม่อมหลวงชื่น สนิทวงศ์
  2. หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์)
  3. หลวงจรัญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรัญ สนิทวงศ์)
  4. หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ (หลวงเดชสหกรณ์)
  5. หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์
  6. หม่อมหลวงแส กฤดากร
  7. หม่อมหลวงสงบ สนิทวงศ์
  8. หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์
  9. หม่อมหลวงบัว กิติยากร
  10. พลโท หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์
  11. หม่อมหลวงทัยเกษม สนิทวงศ์
  12. หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค (ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค)
  13. หม่อมหลวงกมล สนิทวงศ์
  14. หม่อมหลวงสารภี มิ่งเมือง (ท่านผู้หญิงสารภี มิ่งเมือง)

การศึกษา[แก้]

ในประเทศ[แก้]

หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ได้เข้าศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนบ้านคุณหญิงหงษ์ ภริยาพลตรี พระยาสิงหเสนีศรีสยามเมนทร์สวามิภักดิ์ ผู้มีศักดิ์เป็นป้า ใน พ.ศ. 2449 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เป็นเวลา 5 ปี สอบไล่ได้ชั้น 2 ต่อมาเมื่อทางราชการได้ย้ายโรงเรียนราชวิทยาลัยจากโรงเลี้ยงเด็กไปเปิดใหม่เป็นโรงเรียนกินนอนโดยเฉพาะ (แบบ Public School ของอังกฤษ) สังกัดกระทรวงยุติธรรม ที่ตำบลบางขวาง จังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2454 ท่านบิดาจึงให้หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ พร้อมกับพี่และน้องชายอีก 3 คน เข้าเรียนโรงเรียนนี้ตั้งแต่เริ่มแรกจนสอบไล่ได้ชั้น 6

ต่างประเทศ[แก้]

ใน พ.ศ. 2457 หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ออกไปศึกษาวิชา ณ ประเทศเยอรมนีด้วยทุนของรัฐบาลพร้อมกับหม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ ได้ออกเดินทางจากประเทศสยาม เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 เพื่อให้ได้รับการฝึกอบรมให้คุ้นเคยกับขนบธรรมเนียมชีวิตในครอบครัวของชาวเยอรมัน และเรียนภาษาเยอรมันและฝรั่งเศสเป็นการเตรียมตัวเข้าโรงเรียนมัธยมของรัฐบาลประเภท Oberrealschule ในชั้น 4 (มีทั้งหมด 4 ชั้น) ในทันปีการศึกษา 2458 สถานทูตไทยที่กรุงเบอร์ลินจึงได้จัดให้อยู่กับครอบครัวของ Prof. A. Schaeffer ที่เมือง Halberstadt ในแคว้น Saxony ในครอบครัวและโรงเรียนมัธยมของรัฐบาลนี้ ได้มีคนไทยคือ นายจรัญ บุนนาค และนายประจวบ บุนนาค บุตรพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) อาศัยและเรียนอยู่ก่อนแล้ว

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้อุบัติขึ้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2457 และประเทศสยามยังมิได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนีนั้น การศึกษาของหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ มิได้รับความกระทบกระเทือนแต่ประการใด ได้เข้าเรียนในชั้น 4 ของโรงเรียนมัธยมใน พ.ศ. 2458 ตามที่กำหนดไว้เดิม และได้เรียนจบชั้น 6 เมื่อ พ.ศ. 2460 แต่เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ประเทศสยามได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี และประเทศออสเตรีย - ฮังการี โดยเข้าเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร รัฐบาลเยอรมันจึงได้จับกุมนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศเยอรมนีทั้งหมดรวม 9 คน (ยกเว้น นายปุ่น ชูเทศะ ซึ่งยังเป็นเด็กมีอายุเพียง 12 หรือ 13 ปี) ไว้เป็นเชลยและเป็นตัวประกัน สำหรับชาวเยอรมันทั้งหมดที่อยู่ในประเทศสยามและถูกทางรัฐบาลจับกุมคุมขังไว้ ณ ค่ายกักกันในวันที่ประเทศสยามประกาศสงคราม หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ถูกจับกุมที่กรุงเบอร์ลินเมื่อต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2460 พร้อมกับนักเรียนไทยอีก 4 คน คือ นายเติม บุนนาค, นายตั้ว ลพานุกรม, นายประจวบ บุนนาค และหม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ และทางราชการทหารได้นำตัวไปฝากขังไว้ในคุกแห่งหนึ่งของกรุงเบอร์ลินเป็นเวลา 15 วัน แล้วจึงย้ายไปคุมขังไว้ที่ค่ายกักกันนายทหารกองหนุน ชื่อ Celle-Schloss ที่เมือง Celle ใกล้เมือง Hannover ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2460 จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2461 เมื่อได้ย้ายมาอยู่ค่ายนี้ไม่ต้องทำงานแต่ประการใด และเมื่อได้ทราบว่าคนไทย 3 คน คือ หม่อมหลวงไพจิตร สุทัศน์, นายกระจ่าง บุนนาค และนายจรัญ บุนนาค ซึ่งถูกคุมขังอยู่ที่เมือง Holzminden ต้องทำงานหนักตลอดวัน จึงได้ร้องขอให้ย้ายมาขังรวมกันที่ Celle-Schloss และก็ได้รับความสำเร็จตามที่ร้องขอนั้น

ต่อมาเมื่อเกิดปฏิวัติขึ้นประเทศเยอรมนี ต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2461 บรรดาเชลยศึกในค่ายกักกันต่าง ๆ ได้ถูกปลดปล่อยให้กลับบ้านเมืองของตนได้ คณะนักเรียนไทยซึ่งยังมีเหลืออยู่เพียง 7 คน เพราะนายจรัญ บุนนาค ได้ป่วยเป็นวัณโรค และเสียชีวิตระหว่างถูกคุมขัง ต่อมาได้มีนายปุ่น ชูเทศะ ได้เข้ามาสมทบอีกจึงมีเป็น 8 คน ได้เดินทางโดยรถไฟผ่านประเทศเบลเยี่ยมไปกรุงปารีสเพื่อรายงานตัวต่อท่านอัครราชทูตไทย

เมื่อเสร็จสงครามโลกแล้ว นักเรียนไทยคนอื่น ๆ ได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านพร้อมกับกองทหารอาสา แต่หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ นั้น ท่านบิดาเห็นว่าได้เสียเวลามาแล้วถึง 3 ปี ไม่ควรเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านพร้อมกับกองทหารอาสาสงคราม หากแต่ควรรีบศึกษาต่อโดยไม่ชักช้า ทางราชการจึงจัดให้เรียนวิชาสามัญ (ต่อจากโรงเรียนในประเทศเยอรมนี) ที่กรุงแบร์น ประเทศสวิตเซอรแลนด์ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2462 โดยให้อยู่ในความปกครองดูแลของท่านอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร เมื่อได้ใช้เวลาเตรียมตัวประมาณ 18 เดือนแล้ว หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ได้เข้าสอบไล่เข้ามหาวิทยาลัย cantonal matriculation ได้ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2463 ต่อจากนั้นก็ได้เข้าศึกษา ณ มหาวิทยาลัยกรุงแบร์น ในวิชาเศรษฐศาสตร์จนจบชั้นดุษฎีบัณฑิต (Doktor rerum politicarum) ชั้นเกียรตินิยม (cum laude) ใน พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นได้เดินทางไปประเทศอังกฤษ เพื่อเรียนภาษาและศึกษาค้นคว้าประวัติเศรษฐศาสตร์และการค้าระหว่างประเทศไทยกับสหราชอาณาจักรอีกประมาณ 6 เดือน แล้วจึงลงเรือเดินทางกลับประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2469 ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2470 และได้รายงานตัวที่กระทรวงพาณิชย์ในวันรุ่งขึ้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘, ตอน ๔๐ ง, ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๔, หน้า ๑๒๗๙
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
  3. "ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
  5. "รายนามอธิบดีกรมที่ดิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-19. สืบค้นเมื่อ 2009-05-12.
  6. "รายนามอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2009-05-12.
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  8. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ เก็บถาวร 2014-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. Mom Luang Dej Snidvongs: Die Entwicklung des siamesischen Aussenhandels vom 16. bis zum 20. Jahrhundert unter Hinweis auf die schweizerisch-siamesischen Austauschmöglichkeiten. Dissertation, Univ. Bern, 1926.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๔๗ ง หน้า ๑๒๐๙, ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๕ ง หน้า ๕๖๕๕, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่นายทหารผู้มีความชอบและผู้ปฏิบัติราชการเกี่ยวเนื่องด้วยการส่งกองทหารในงานพระราชสงครามที่ยุโรป เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๓๒, ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการภายใน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๘, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๕๔ ง หน้า ๒๙๖๗, ๑๘ สิงหาคม ๒๔๙๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๕๐ ง หน้า ๑๘๗๔, ๑ กรกฎาคม ๒๕๐๑
ก่อนหน้า หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ถัดไป
ควง อภัยวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(17 กุมภาพันธ์ 2486 – 20 กันยายน 2487)
ควง อภัยวงศ์
เดือน บุนนาค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(10 พฤศจิกายน 2490 – 21 กุมภาพันธ์ 2491)
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์