ไขศรี ศรีอรุณ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ไขศรี ศรีอรุณ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | สุรเกียรติ์ เสถียรไทย (รักษาราชการแทน) |
ถัดไป | อนุสรณ์ วงศ์วรรณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 มกราคม พ.ศ. 2480 จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย |
คู่สมรส | พลเรือเอกกำจัด ศรีอรุณ |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ (สกุลเดิม บุนปาน; เกิด 29 มกราคม พ.ศ. 2480) เป็นนักการเมืองและนักวิชาการชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยพะเยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร และอีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร และนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ประวัติ
[แก้]คุณหญิงไขศรี บุนปาน เกิดที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ในครอบครัวบุนปาน บิดาเป็นครู มารดาเป็นแม่บ้าน พื้นเพทั้งบิดา มารดา เป็นคนอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี อาชีพครูของบิดาทำให้ต้องโยกย้ายไปท้องถิ่นต่างๆพอสมควร สุดท้ายเกษียณอายุราชการที่ตำแหน่งผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดพระนคร (กรุงเทพฯ) คุณหญิงไขศรีมีพี่น้องทั้งหมด 7 คน มีน้องชายคนหนึ่งที่สังคมรู้จักกันดี คือ ขรรค์ชัย บุนปาน เจ้าของและผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์มติชน และบริษัทในเครือ
คุณหญิงไขศรี สมรสกับพลเรือเอกกำจัด ศรีอรุณ มีบุตร 3 คน หนึ่งในนั้นคือ จารึก ศรีอรุณ หรือที่รู้จักกันในนาม เชฟจารึก อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และมีชื่อเสียงจากการแข่งขันทำอาหารในรายการต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ
การศึกษา
[แก้]คุณหญิงไขศรี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสตรีวิทยา มีผลการเรียนดีเด่นระดับติด 1 ใน 50 คนของประเทศ ได้รับพระราชทานทุนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผ่านสตรีวิทยาสมาคม ในการศึกษาต่อในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบการศึกษาได้เกียรตินิยมอันดับ 2 สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2503 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาภาษาฝรั่งเศส ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การทำงาน
[แก้]คุณหญิงไขศรี ทำงานเป็นอาจารย์โรงเรียนสตรีวิทยา แต่เนื่องจากไม่มีตำแหน่งงานทางภาษาฝรั่งเศส จึงต้องสอนวิชาภาษาอังกฤษ โดยขณะนั้นก็ศึกษาต่อปริญญาโท สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย จากนั้นย้ายมาเป็นอาจารย์โรงเรียนช่างศิลป ของกรมศิลปากร จนกระทั่งได้มาสอนภาษาฝรั่งเศส ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และเจริญก้าหน้าในตำแหน่งการงานที่มหาวิทยาลัยศิลปากร
ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 12 ระหว่าง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2535[1] และระหว่าง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2539[2]
ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 9 ระหว่าง 29 มิถุนายน พ.ศ. 2547 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549[3] 3 เมษายน พ.ศ. 2552 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553[4] 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555[5] และระหว่าง 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557[6]
งานการเมือง
[แก้]คุณหญิงไขศรี ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2539[7] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในสมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ [8] ซึ่งเป็นการสรรหาผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกำกับดูแลด้านต่างๆ หลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าวได้รับสมญานามจากสื่อมวลชนว่า "รัฐบาลขิงแก่" อันเนื่องมาจากรัฐมนตรีของคณะรัฐบาลชุดนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่สูงอายุ ซึ่งในขณะรับตำแหน่งคุณหญิงไขศรี มีอายุ 69 ปี
คุณหญิงไขศรี มีผลงานที่โดดเด่นในการปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี คือ การห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด แต่สามารถโมษณาได้ในเวลา 22.00 เป็นต้นไป[9] และการออกมาตรการคุมเข้มไม่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เต้นโคโยตี้[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[13]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๕ หน้า ๙๑๑๙ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๒๙ ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕ ๗ ตุลาคม ๒๕๓๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๒ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๒๗ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๑๙ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๘๑ ง หน้า ๒ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ The Nation, NHSO backs plan to ditch Bt30 fee เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 31 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ The Nation, No 'coyote dances' for Loy Krathong: Culture Ministry, 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๔, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
ก่อนหน้า | ไขศรี ศรีอรุณ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย (รักษาการแทน) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551) |
อนุสรณ์ วงศ์วรรณ | ||
เกษม วัฒนชัย (สมัยที่ 2) |
นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 9 สมัยที่ 1 (29 มิถุนายน พ.ศ. 2547 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549) |
ชุมพล ศิลปอาชา (สมัยที่ 1) | ||
ชุมพล ศิลปอาชา (สมัยที่ 2) |
นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 9 สมัยที่ 2 (3 เมษายน พ.ศ. 2552 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553) |
สมัยที่ 3 | ||
สมัยที่ 2 | นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 9 สมัยที่ 3 (29 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555) |
สมัยที่ 4 | ||
สมัยที่ 3 | นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 9 สมัยที่ 4 (29 มิถุนายน พ.ศ. 2555 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557) |
ภราเดช พยัฆวิเชียร (สมัยที่ 1) | ||
เอนก วีรเวชชพิสัย | อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 12 สมัยที่ 1 (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2535) |
สมัยที่ 2 | ||
สมัยที่ 1 | อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 12 สมัยที่ 2 (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2539) |
ตรึงใจ บูรณสมภพ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2480
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- นักวิชาการชาวไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมไทย
- บุคคลจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนสตรีวิทยา
- บุคคลจากอำเภอบ้านโป่ง
- คุณหญิง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยพะเยา
- นายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร