ปัญจะ เกสรทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปัญจะ เกสรทอง
ม.ป.ช., ม.ว.ม.
รองประธาน​รัฐสภา​และ​ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
(2 ปี 204 วัน)
ก่อนหน้า นายชวน หลีกภัย
ถัดไป นายอุกฤษ มงคลนาวิน
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 9 เมษายน พ.ศ. 2543
(2 ปี 146 วัน)
นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 26 มิถุนายน พ.ศ. 2542
(0 ปี 264 วัน)
นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย
ก่อนหน้า นายชุมพล ศิลปอาชา
ถัดไป นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 5 สิงหาคม พ.ศ. 2474
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
เสียชีวิต 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(83 ปี 334 วัน)
พรรค สหประชาไทย (2512-2514)
เกษตรสังคม (2517-2526)
ชาติไทย (2526-2535,2539-2543)
ชาติพัฒนา (2535-2539,2543-?)
คู่สมรส กอบแก้ว เกสรทอง (เทพสาร)
ศาสนา พุทธ

ปัญจะ เกสรทอง อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์

ประวัติ[แก้]

นายปัญจะ เกสรทอง เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2474 ที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นบุตรของนายแป้น กับนางแตงโม เกสรทอง[1] จบระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนสตรีวิทยานุกูล อำเภอเมือง จบระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนเพชรพิทยาคม อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปศาสตร์ จากสถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์ และดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน[แก้]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ปัญจะ เกสรทอง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ 11 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย นำโดยจอมพลถนอม กิตติขจร ต่อมาจึงย้ายมาสังกัดพรรคเกษตรสังคม และได้รับเลือกตั้งใน พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2522

ต่อมาเขาจึงย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทย อีก 4 สมัย คือ พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2535 (มีนาคม)

หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เขาย้ายไปสังกัดพรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2538 และย้ายกลับมาอยู่พรรคชาติไทยอีกครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539

และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ได้ย้ายกลับมาสังกัดพรรคชาติพัฒนาอีกครั้ง แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์[2]

ตำแหน่งทางการเมือง[แก้]

ปัญจะ เกสรทอง เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2519 เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างปี พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2534 ต่อมาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย (ครม.50) และตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (ครม.53) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ต่อมาในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกตำแหน่งหนึ่ง แทนนายชุมพล ศิลปอาชา ที่ลาออกจากตำแหน่ง[3]

ตำแหน่งในพรรคการเมือง[แก้]

ปัญจะ เกสรทอง เคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคชาติไทย

งานอื่น ๆ[แก้]

นายปัญจะ เกสรทอง ได้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันจัดตั้งวิทยาลัยพลศึกษาเพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2514

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

นายปัญจะ เกสรทอง ถึงแก่อนิจกรรมด้วยวัย 83 ปี ที่บ้านพักในกรุงเทพมหานครในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558[4] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ณ วัดเพชรวราราม จังหวัดเพชรบูรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 2010-08-18.
  2. รายชื่อและคะแนนของผู้สมัครทั้งหมดใน จังหวัด เพชรบูรณ์ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544
  3. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 53". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ 2010-08-18.
  4. ปิดตำนาน "ปัญจะ เกสรทอง" อดีตส.ส.เพชรบูรณ์หลายสมัย อดีตประธานสภาผู้แทนฯ ถึงแก่กรรมแล้ว
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
ก่อนหน้า ปัญจะ เกสรทอง ถัดไป
ชุมพล ศิลปอาชา 2leftarrow.png Emblem of Ministry of Education.png
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2542)
2rightarrow.png สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล