ข้ามไปเนื้อหา

อำนวย วีรวรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำนวย วีรวรรณ
อำนวย ในปี พ.ศ. 2536
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
12 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2524
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าสมหมาย ฮุนตระกูล
ถัดไปสมหมาย ฮุนตระกูล
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์
(รักษาการ)
ถัดไปทนง พิทยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี
ถัดไปประจวบ ไชยสาส์น
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 กรกฎาคม พ.ศ. 2475
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต18 เมษายน พ.ศ. 2566 (90 ปี)
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองอิสระ
คู่สมรสคุณหญิงสมรศรี วีรวรรณ[1]
บุตรอมรพิมล วีรวรรณ
ถกลเกียรติ วีรวรรณ
ลายมือชื่อ

ศาสตราจารย์พิเศษ อำนวย วีรวรรณ (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 – 18 เมษายน พ.ศ. 2566) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตประธานกิตติมศักดิ์ บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) อดีตหัวหน้าพรรคนำไทย และพรรคมวลชน อดีตรองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นบิดาของถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มของ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัทประกอบธุรกิจโทรทัศน์ชื่อดัง

ประวัติ

[แก้]

อำนวย วีรวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดพระนคร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 12677), ปริญญาตรี พาณิชยศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต และปริญญาเอก ด้านการบริหารธุรกิจ ทั้ง 3 ปริญญาจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐ

ด้านชีวิตครอบครัว อำนวยสมรสกับคุณหญิงสมรศรี วีรวรรณ มีบุตร 2 คน เป็นบุตรสาว 1 คน คือ อมรพิมล วีรวรรณ และบุตรชายอีก 1 คน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง คือ บอย - ถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มของบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัทประกอบธุรกิจโทรทัศน์ชื่อดัง

การรับราชการ

[แก้]

ศาสตราจารย์พิเศษ อำนวย วีรวรรณ หรือ ศ.ดร.อำนวย วีรวรรณ เข้ารับราชการในกระทรวงการคลัง เคยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) อธิบดีกรมศุลกากร และเป็นปลัดกระทรวงการคลังคนแรกที่สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ในปี พ.ศ. 2518 ด้วยอายุเพียง 43 ปี[2]

อำนวย วีรวรรณ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2537[3]

งานการเมือง

[แก้]

อำนวย วีรวรรณ เริ่มทำงานการเมืองโดยการได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (จอมพลถนอม กิตติขจร) ในปี พ.ศ. 2506[4] ต่อมาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[5] และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2523 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปีเดียวกัน[6] และได้รับตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2535[7] ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ จากนั้นจึงลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคนำไทยและได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2539[8] ต่อมาจึงได้ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์การเงิน ในปี พ.ศ. 2540 ได้ ซึ่งต่อมาได้มีการแต่งตั้งนายทนง พิทยะ เข้ามารับหน้าที่แทน และได้มีการลดค่าเงินบาทในเดือนกรกฎาคม[9]

อำนวย วีรวรรณ เคยก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยใช้ชื่อว่า "พรรคนำไทย"[10] และได้ยุติการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2541

อำนวย วีรวรรณ เป็นพยานในคดีผู้บริหารธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้เครือบริษัทกฤษดามหานคร[11]

บั้นปลายชีวิต

[แก้]

บั้นปลายชีวิต อำนวยเป็นบุคคลไร้ความสามารถ เนื่องจากประสบอุบัติเหตุหกล้มที่ประเทศเนเธอร์แลนด์[12][13] ก่อนจะถึงแก่อนิจกรรมลงด้วยโรคปอดบวม ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2566 สิริอายุได้ 90 ปี[14]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ไชย ณ ศีลวันต์ คนหนุ่มที่ถูกกล่าวหา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-10-09.
  2. อำนวย วีรวรรณกับการเปลี่ยนแปลงของธนาคารกรุงเทพ
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ (นายอำนวย วีรวรรณ)
  4. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี
  5. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  9. รัฐบาล‘บิ๊กจิ๋ว’กับลูกโป่งฟองสบู่ความอ่อนหัดในเวทีการเงินระดับโลก
  10. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคนำไทย)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนพิเศษ 46ง วันที่ 17 ตุลาคม 2537
  11. ผู้บริหารธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้เครือบริษัทกฤษดามหานคร[ลิงก์เสีย]
  12. ราชกิจจาประกาศ 2 อดีตรัฐมนตรี เป็นคนไร้ความสามารถ
  13. ราชกิจจาประกาศ 2 อดีตรัฐมนตรี เป็นคนไร้ความสามารถ
  14. "สิ้น 'อำนวย วีรวรรณ' อดีตรองนายกฯ ด้วยโรคปอดอักเสบ สิริอายุ 90 ปี". มติชน. 2022-04-18. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๘๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๙
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๔, ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙
ก่อนหน้า อำนวย วีรวรรณ ถัดไป
สมหมาย ฮุนตระกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.42)
(3 มีนาคม พ.ศ. 2523 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2524)
สมหมาย ฮุนตระกูล
ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.52)
(25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 21 มิถุนายน พ.ศ. 2540)
ทนง พิทยะ