ฉัตรชัย เอียสกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฉัตรชัย เอียสกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้านายแพทย์ประสงค์ บูรณ์พงศ์
ถัดไปนายมนตรี ด่านไพบูลย์
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้านายมนตรี ด่านไพบูลย์
ถัดไปคุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย
คู่สมรสกอบแก้ว เอียสกุล

ฉัตรชัย เอียสกุล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา[1] รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[2] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดหนองคาย

ประวัติ[แก้]

นายฉัตรชัย เอียสกุล เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ที่โรงพยาบาลหนองคาย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย[3] เป็นบุตรของนายธเนตร เอียสกุล กับนางกิมเตียว เอียสกุล และเป็นพี่ชายของนายเฉลิมชัย เอียสกุล อดีต ส.ส. หนองคาย 4 สมัย

นายฉัตรชัย เอียสกุล สำเร็จการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2520 และระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น (Northeastern University) สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2523[4]

การทำงาน[แก้]

หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาโท ฉัตรชัย เริ่มต้นทำงานในหน่วยงาน World Food ขององค์การสหประชาชาติ ที่ประเทศกัมพูชา เป็นเวลา 1 ปี ก่อนที่จะลาออก เพื่อไปทำงานด้านการค้าระหว่างประเทศกับญาติในฮ่องกง จนกระทั่ง พ.ศ. 2525 จึงกลับมาช่วยดำเนินงานกับบิดา และเข้าสู่แวดวงการเมืองในเวลาหลังจากนั้นไม่นาน[5]

การทำงาน[แก้]

นายฉัตรชัย เอียสกุล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดหนองคายหลายสมัย สังกัดพรรคความหวังใหม่ เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลชวน[6] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ต่อมาก็ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม[7] และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย[8] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[9]

ต่อมาภายหลังการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 พรรความหวังใหม่ ได้ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ซึ่งนายฉัตรชัย เอียสกุล จึงได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทยเช่นเดียวกันกับสมาชิกพรรคคนอื่น ๆ และได้รับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2548

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[10] แม้ว่านายฉัตรชัย เอียสกุล จะลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรคแล้วก็ตาม

ในทางการเมือง นายฉัตรชัย เอียสกุล ได้รับฉายาว่า "รัฐมนตรีไฟแช็ก" (รมต.ไฟแช็ก) จากการที่เป็นบุคคลที่คอยติดตามรัฐมนตรีหรือนักการเมืองคนสำคัญต่าง ๆ โดยยอมรับใช้ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่เป็นสาระสำคัญ ตั้งแต่ยังสังกัดพรรคความหวังใหม่[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 51 ของไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2010-10-30.
  2. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 52 ของไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-17. สืบค้นเมื่อ 2010-10-30.
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  4. "คุณฉัตรชัย เอียสกุล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2021-05-30.
  5. เมื่อทายาท กิมก่ายวิ่งหาฐานการเมือง[ลิงก์เสีย]
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  8. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25.
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
  10. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  11. 'ฉัตรชัย'เหลืออดที่จะทนถูกหยามเป็นรมต. ไฟแช็ค, หน้า 1, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์: 6 กรกฎาคม 2539
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอน ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙