สุบิน ปิ่นขยัน
สุบิน ปิ่นขยัน | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | ปรีดา พัฒนถาบุตร |
ถัดไป | ทวิช กลิ่นประทุม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | มนตรี พงษ์พานิช |
ถัดไป | อมเรศ ศิลาอ่อน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | สิทธิ เศวตศิลา |
ถัดไป | อาทิตย์ อุไรรัตน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2477 อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
คู่สมรส | บุญศรี ปิ่นขยัน |
สุบิน ปิ่นขยัน (เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2477) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 3 สมัย อดีตรองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทบวงมหาวิทยาลัย เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานกรรมการบริหารของ บมจ. เอ็มดีเอ็กซ์ และอดีตนายกสมาคมนักอุทกวิทยาไทย
งานการเมือง
[แก้]สุบิน ปิ่นขยัน หรือ ดร.สุบิน ปิ่นขยัน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 เป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัยติดต่อกันในปี พ.ศ. 2529[2] และ พ.ศ. 2531 ในสังกัดพรรคกิจสังคม[3] จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[4] เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[5] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[6]
ในช่วงที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ยึดอำนาจ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินนั้น นายสุบิน บุคคลที่ถูกยึดทรัพย์จำนวนมากที่สุดในบรรดานักการเมืองจำนวน 10 คน ที่ถูกตรวจสอบ คือ 608 ล้านบาท [7][8]
งานวิชาการ
[แก้]ดร.สุบิน ปิ่นขยัน เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และเป็นที่ยอมรับในวงการวิศวกรรม จนได้รับตำแหน่ง อุปนายกสภาวิศวกร คนที่ 1 ในสมัยแรก (พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546) และเป็นกรรมการสภาวิศวกร ในสมัยที่ 2 (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2549)
ในปี พ.ศ. 2553 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ได้ถวายรางวัลแห่งหอเกียรติยศแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และศิษย์เก่าดีเด่นของสถาบันอีกจำนวน 11 คน ซึ่ง ดร.สุบิน ปิ่นขยัน เป็นหนึ่งในศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลแห่งหอเกียรติยศครั้งนี้ด้วย[9]
งานธุรกิจ
[แก้]ดร.สุบิน ปิ่นขยัน เป็นประธานกรรมการ และผู้ก่อตั้งบริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภคพื้นฐาน และพลังงาน โดยมีโครงการหลักที่ดำเนินการ อาทิ โครงการนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ และโครงการด้านพลังงานไฟฟ้าต่างๆ[10] ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ศาลล้มละลายกลาง ได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัทและตั้งบริษัท วิทยุ แพลนเนอร์ จำกัด เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ และสั่งให้เขาเป็นบุคคลล้มละลาย ในปี พ.ศ. 2547[11] และในปี พ.ศ. 2550 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2553 จึงถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 6ก วันที่ 24 มกราคม 2535
- ↑ รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรมการปกครอง. 2529
- ↑ สังกัดพรรคกิจสังคม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (นายโกศล ไกรฤกษ์ นายประยูร จินดาศิลป์ นายผัน บุญชิต นายโอภาส พลศิลป ลาออก นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และตั้ง พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ กองบรรณาธิการมติชน. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน พ.ศ. 2521-2549. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. 424 หน้า. ISBN 974-323-889-1
- ↑ กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา '49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4
- ↑ ถวายรางวัลพระเทพฯ หอเกียรติยศสถาบันเอไอที เก็บถาวร 2012-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก ข่าวสด วันที่ 10 กันยายน 2553
- ↑ บริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน)
- ↑ ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
- ↑ ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง ปลดลูกหนี้จากล้มละลาย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
ก่อนหน้า | สุบิน ปิ่นขยัน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
มนตรี พงษ์พานิช | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (4 สิงหาคม 2531 – 26 สิงหาคม 2533) |
อมเรศ ศิลาอ่อน |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2477
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอฝาง
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองพรรคสามัคคีธรรม
- นักการเมืองพรรคกิจสังคม
- วิศวกรชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- นักธุรกิจจากจังหวัดเชียงใหม่
- บุคคลจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง