มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กุมภาพันธ์ – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | เกริกไกร จีระแพทย์ |
ถัดไป | ไชยา สะสมทรัพย์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | สุวิทย์ คุณกิตติ |
ถัดไป | ประชา พรหมนอก |
ผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย กรรมการผู้อำนวยการบมจ.อสมท | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2545 – 27 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
ก่อนหน้า | สรจักร เกษมสุวรรณ |
ถัดไป | ชิตณรงค์ คุณะกฤดาธิการ (รักษาการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 (68 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคเศรษฐกิจใหม่ (2561–ปัจจุบัน) พรรคเพื่อไทย (2551–56) พรรคพลังประชาชน (2550–51) |
ลายมือชื่อ | ![]() |
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ อดีตหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] พรรคเศรษฐกิจใหม่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย อดีตหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ พรรคพลังประชาชน อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) คนแรก และผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
ประวัติ[แก้]
มิ่งขวัญเกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 3 คน จบการศึกษาระดับมัธยม จากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ[2] ได้รับปริญญา นิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประกาศนียบัตรหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง จากโรงเรียนวอร์ตัน มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ (The Wharton School of The University of Pennsylvania)
โตโยต้า[แก้]
เขาเริ่มเข้าทำงานเป็นพนักงานฝ่ายขาย กับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ส ประเทศไทย จำกัด ต่อมาเลื่อนขึ้นไปอยู่แผนกการตลาด, แผนกประชาสัมพันธ์ โฆษณา, สื่อสารองค์กร จนกระทั่งได้รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และยังเป็น เลขานุการมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย โดยกล่าวกันว่า มิ่งขวัญเป็นพนักงานคนเดียว ในบรรดาพนักงาน 70,000 คนของเครือโตโยต้าทั้งหมด ที่สามารถข้ามขั้น จากผู้จัดการฝ่าย ขึ้นไปเป็นผู้อำนวยการทันที โดยมิได้เป็นไปตามจารีตการบริหารแบบญี่ปุ่น คือการเรียงตามลำดับอาวุโส และชั้นงาน[3]
รัฐบาลไทย[แก้]
ต่อมา ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร นายมิ่งขวัญ มีโอกาสเข้าช่วยงาน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น โดยเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และเป็นผู้ริเริ่มการประชาสัมพันธ์งาน เย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์, เทศกาลตรุษจีนไชนาทาวน์เยาวราช และ เทศกาลดนตรีพัทยา เป็นต้น[4]
อสมท[แก้]
จากนั้น นายมิ่งขวัญได้รับเลือก ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) โดยเริ่มงานจากการเข้าปฏิรูป สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. จากยุคเดิม ที่เป็นแดนสนธยา ให้กลายเป็น "สถานีโทรทัศน์แห่งความทันสมัย โมเดิร์นไนน์ทีวี" จนนำไปสู่การแปรรูป อ.ส.ม.ท.จากองค์การภาครัฐ ไปเป็นบริษัทของรัฐ ภายใต้ชื่อ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)[5]
ทั้งนี้ ระหว่างการบริหาร บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) มิ่งขวัญ เคยปรับรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” ของ สนธิ ลิ้มทองกุล ออกจากผังรายการ[ต้องการอ้างอิง] และเมื่อเกิดรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ทักษิณในฐานะนายกรัฐมนตรี ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ทางไกลจากต่างประเทศ ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี เพื่อดำเนินการกับคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข[ต้องการอ้างอิง] แต่รัฐประหารยังเป็นผลสำเร็จ เขาจึงลาออกจากตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2549[ต้องการอ้างอิง]
การเมือง[แก้]
ในปี 2550 พรรคพลังประชาชน ทาบทามเขาให้เป็น หัวหน้าคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรค[ต้องการอ้างอิง] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายมิ่งขวัญ ได้รับเลือกเป็น ส.ส.แบบสัดส่วน เขต 6 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 นายมิ่งขวัญ เข้ารับตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในคณะรัฐมนตรีสมัคร[ต้องการอ้างอิง] ต่อมา สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ปรับคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ให้เขาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมแทน[ต้องการอ้างอิง] จนพ้นจากตำแหน่ง หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้สมัครพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 และจากคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชนของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายมิ่งขวัญจึงย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้นำในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2554[ต้องการอ้างอิง] อีกทั้งยังเสนอตัวที่จะเป็นายกรัฐมนตรีคนต่อไปอีกด้วย[ต้องการอ้างอิง]
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทย ได้จัดกิจกรรมประกาศตัวผู้สมัคร ส.ส. แต่ไม่ปรากฏชื่อเขา[6] แต่ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 มิ่งขวัญ ถูกจัดให้อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งลำดับที่ 6 และได้รับเลือกตั้ง
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และขอเว้นวรรคทางการเมือง แต่ยืนยันว่ายังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพรรค แม้ว่าความเห็นทางการเมืองของเขากับพรรคจะไม่ตรงกันบ้างแต่ไม่ได้มีความขัดแย้งกัน[7]
จากนั้นนายมิ่งขวัญได้เข้าร่วมและดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ เพื่อลงสมัครรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และประกาศว่าจะไม่เข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐเพราะอุดมการณ์ทางการเมืองต่างกัน[ต้องการอ้างอิง]
วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 เขาประกาศขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ สืบเนื่องมาจากตนและลูกพรรคมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน แต่ยังไม่ลาออกจากความเป็น ส.ส.[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) [9]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551-
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.) [10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
- ↑ แนวหน้า
- ↑ Image Maker
- ↑ 50 "ผู้จัดการ" Role Model 2549
- ↑ เพื่อไทย เปิดชื่อปาร์ตี้ลิสต์ 20 อันดับ ไม่มี มิ่งขวัญ
- ↑ “มิ่งขวัญ” ลาออกสมาชิก พท.แล้ว เปิดใจขอเว้นวรรคทางการเมือง
- ↑ [1]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ประวัติสังเขป นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ จากเว็บไซต์พรรคเพื่อไทย
- ประวัติ ครม. 'สมัคร 1' ทั้ง 36 คน
- ประวัติโดยละเอียดมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
ก่อนหน้า | มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน |
![]() |
![]() รองนายกรัฐมนตรี (6 กุมภาพันธ์ - 9 กันยายน พ.ศ. 2551) |
![]() |
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล โอฬาร ไชยประวัติ พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ |
สุวิทย์ คุณกิตติ | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (2 สิงหาคม - 9 กันยายน พ.ศ. 2551) |
![]() |
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก |
เกริกไกร จีระแพทย์ | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (6 กุมภาพันธ์ – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551) |
![]() |
ไชยา สะสมทรัพย์ |
|
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- บุคคลจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ
- นิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- พรรคเศรษฐกิจใหม่
- อสมท
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.