พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ)
พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |
ก่อนหน้า | พันเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม |
ถัดไป | พลโท หลวงสินาดโยธารักษ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 | |
ก่อนหน้า | พลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต |
ถัดไป | แสง สุทธิพงศ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 |
เสียชีวิต | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (81 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงประยูร สุนทรพิพิธ |
ศาสนา | พุทธ |
พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
ประวัติ[แก้]
พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) เดิมสกุล มัฆวิบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 ณ บ้านริมคลองบางสะแกฝั่งธนบุรี เป็นบุตรนายแพ และนางหุ่น สุนทรพิพิธ เริ่มเรียนหนังสือที่วัดบางสะแกนอก ก่อนจะเข้าศึกษาชั้นประถม โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข ต่อมาจึงได้ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 6) อยู่ที่วังปารุสวัน และพระราชวังสราญรมย์ โดยทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เข้าเรียนในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบัน คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จนจบประกาศนียบัตรวิชารัฏฐประศาสน์[1]
พระยาสุนทรพิพิธ สมรสกับ คุณหญิงประยูร (เศวตเลข) ธิดาของ หลวงพิสุทธิ์สัตยารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหล่มสัก และนางทรวง (จินตกานนท์) โดยนางทรวงเป็นพี่สาวของ พระยาอรรถวิรัชวาทเศรณี (ปลั่ง จินตกานนท์) อัยการมณฑลอุบลราชธานี มีบุตร-ธิดา 4 คนได้แก่ นายชัยทัต สุนทรพิพิธ นางชยศรี ชาลี นายชัยเสน สุนทรพิพิธ นายชัยเชต สุนทรพิพิธ [2]
พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าศาลาทักษิณาประดิษฐ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2516 เวลา 16.50 น.[3]
งานการเมือง[แก้]
พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา รวม 1 สมัย[4] และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา 1 สมัย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี 4 คณะ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
สมาชิกวุฒิสภา[แก้]
พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย คือ[5]
รัฐมนตรี[แก้]
พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2489 ในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์[6][7] และดำรงตำแหน่งต่อในคณะรัฐมนตรีถัดมาจนถึง พ.ศ. 2490[8][9] จากนั้นใน พ.ศ. 2490 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[10] และพ้นจากตำแหน่งไปในปีเดียวกัน[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2483 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[12]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติ พระยาสุนทรพิพิธ สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาสุนทรพิพิธ
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า 24-25)
- ↑ สมุดภาพสมาชิกรัฐสภา 2475 - 2502. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2502
- ↑ รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 3
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 16 ราย)
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 16 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 22 ราย)
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 18 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, (ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา รัชกาลที่ 8) เล่ม 57, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2483, หน้า 1897.
|
|
|
|
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2434
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2516
- สกุลสุนทรพิพิธ
- นักการเมืองไทย
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย
- ปลัดกระทรวงมหาดไทยไทย
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา