อดิศร เพียงเกษ
อดิศร เพียงเกษ | |
---|---|
![]() อดิศร ใน พ.ศ. 2566 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 (144 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ภูมิธรรม เวชยชัย | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ประชา มาลีนนท์ พงศกร เลาหวิเชียร นิกร จำนง พิเชษฐ สถิรชวาล วิเชษฐ์ เกษมทองศรี |
ถัดไป | สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (1 ปี 1 เดือน 16 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ |
ก่อนหน้า | เนวิน ชิดชอบ |
ถัดไป | รุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 (2 ปี 26 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
รัฐมนตรีว่าการ | สัมพันธ์ ทองสมัคร |
ก่อนหน้า | สมชัย วุฑฒิปรีชา |
ถัดไป | สฤต สันติเมทนีดล |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 (11 เดือน 10 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวลิต ยงใจยุทธ |
รัฐมนตรีว่าการ | ยิ่งพันธ์ มนะสิการ |
ก่อนหน้า | อุดมศักดิ์ ทั่งทอง |
ถัดไป | พรเทพ เตชะไพบูลย์ |
ประธานคณะกรรมการประสานงาน สภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 14 กันยายน พ.ศ. 2566 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 (5 เดือน 7 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
ก่อนหน้า | นิโรธ สุนทรเลขา |
ถัดไป | วิสุทธิ์ ไชยณรุณ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 10 เดือน 14 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 กันยายน พ.ศ. 2495 อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | แรงงานประชาธิปไตย (2529–2531) มวลชน (2531–2535) พลังธรรม (2535–2538) นำไทย (2538–2539) ความหวังใหม่ (2539–2543) ไทยรักไทย (2543–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | เยาวนิตย์ เพียงเกษ[1] |
รองศาสตราจารย์พิเศษ อดิศร เพียงเกษ[2][3] (เกิด 6 กันยายน พ.ศ. 2495) ชื่อเล่น ตุ๊ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล อดีตโฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (สมพงษ์ อมรวิวัฒน์)[4][5] อดีตประธานสถานีประชาชน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น รวมถึงเป็นประธานกรรมการมูลนิธิไกวแก้ว เพียงเกษ
ประวัติ
[แก้]อดิศร เกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2495 ที่อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรนายทองปักษ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น[1] นางไกวแก้ว เพียงเกษ
การศึกษา
[แก้]อดิศร สำเร็จการศึกษาระดับประถมปีที่ 1-2 ที่โรงเรียนหลักเมือง จังหวัดมหาสารคาม และย้ายไประดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 ที่โรงเรียนบ้านขามเฒ่า (ขามเฒ่าผดุงศิลป์) ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย และระดับชั้นประถมปีที่ 5-7 ที่โรงเรียนมาตุภูมิอนุสรณ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์ ที่ก่อตั้งโดยทองปักษ์ บิดาของเขา ใช้ศาลาวัดบ้านขามเฒ่า เป็นสถานที่เรียน จากนั้นจบการศึกษามัธยมต้น ที่โรงเรียนบำรุงไทย 1, โรงเรียนสงเคราะห์นิยมวิทยา, และโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น แล้วจบการศึกษามัธยมปลาย ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ รุ่น 10-12 (DSA84) เลขประจำตัวนักเรียน ท.ศ.11260
ในระดับอุดมศึกษา อดิศรสำเร็จนิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนด้าน Oriental Studies ระยะสั้นที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ประเทศพม่า, ปริญญาเอกด้านปรัชญาและด้านพุทธศาสนาจากมหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย, ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.1) จากสถาบันพระปกเกล้า, ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
การเมือง
[แก้]ขณะที่อดิศรเป็นนักศึกษา เขาร่วมชุมนุมขับไล่พระถนอม เมื่อกลางเดือนกันยายน ถึงต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2519 อันเป็นชนวนสำคัญของเหตุการณ์ 6 ตุลา หลังจากนั้นครอบครัวของเขาได้เข้าเป็นแนวร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยพำนักอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายศรชัย" หรือ "สหายสอง"
อดิศรเริ่มเข้าสู่การเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยไม่สังกัดพรรคการเมือง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ[6] กระทั่งได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคมวลชน เมื่อปี พ.ศ. 2531 และต่อมาย้ายไปสังกัดพรรคพลังธรรม และเข้ารับตำแหน่งรองเลขาธิการให้กับพรรคนำไทย[7] ในที่สุดจึงย้ายมาร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้ตัดสิทธิทางการเมืองของเขา เป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[8]
อดิศรเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมา 4 สมัย ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[9] เมื่อ พ.ศ. 2535 และเป็น ส.ส.สังกัดพรรคพลังธรรม ชนะการเลือกตั้งแบบยกทีมในเขต 1 จังหวัดขอนแก่น ในการเลือกตั้ง 35/2 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม[10] เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (11 มีนาคม พ.ศ. 2548)[11] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2 สิงหาคม 2548)
ด้านภรรยา เยาวนิตย์ เพียงเกษ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชนและกองทุน[12]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 40[13] แต่การเลือกตั้งกล่าวเป็นโมฆะ
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 23[14] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นโฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 18[15] และได้รับการเลือกตั้ง[16] และต่อมาเมื่อวันที่ 14 กันยายน เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งแต่งตั้งให้อดิศรเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล[17]
งานสื่อสารมวลชน
[แก้]- ผู้ดำเนินรายการวิทยุ “กุญแจเมืองไทย” (อดิศร เพียงเกษ, วิสา คัญทัพ และ ไพจิตร อักษรณรงค์) ทาง FM 105 MHz
- ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ “สร้างบ้านแปงเมือง” ทาง MVTV
- ประธานสถานีประชาธิปไตย D-Station
- ประธานสถานีประชาชน People Channel และผู้ดำเนินรายการ "คุยกับอดิศร"
- ประธานที่ปรึกษาสถานีโทรทัศน์ทีวี 24 และวิทยากรประจำรายการ "ตรงไปตรงมา"
- ผู้ก่อตั้งเพจ "ตรงไปตรงมาทีวี" และจัดรายการออนไลน์ผ่านเพจตรงไปตรงมาทีวี
- ผู้ดำเนินรายการคลิปสั้น "ประเด็นร้อนกลอนผะหยา" ทางเพจ Voice Online
ผลงานเพลง
[แก้]ขับร้อง
[แก้]- เพลงแคน
- เพลงพิณ
- ลำน้ำพอง
ประพันธ์เนื้อร้อง และขับร้อง
[แก้]- น่าอาย
- มือถือสากปากถือศีล
- สู้ทุกเมื่อเพื่อประชาธิปไตย
- ตีนโตประชาธิปไตย
ประพันธ์เนื้อร้อง
[แก้]- ประชาธิปไตยของประชาชน (2552,วันชนะ เกิดดี) ขับร้อง)
- ความไม่เป็นธรรม (2552, มุกข์ เมทินี ขับร้อง และ วันชนะ เกิดดี นำมาขับร้องใหม่ในปี พ.ศ. 2557)
- คนธรรมดา (จตุพร พรหมพันธุ์ ขับร้อง)
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]อดิศร สมรสกับ เยาวนิตย์ เพียงเกษ (สกุลเดิม: พินสำริด) ผู้มีชื่อจัดตั้งว่า "สหายการะเกด" ปัจจุบันเป็นอาจารย์ ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
ในด้านงานอดิเรกอดิศรมีความชอบแต่งกาพย์กลอนและเป่าแคน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[18]
- พ.ศ. 2537 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[19]
- พ.ศ. 2536 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[20]
- พ.ศ. 2515 –
เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 อดิศร เพียงเกษ
- ↑ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ↑ รองศาสตราจารย์พิเศษประจำมหาวิทยาลัย
- ↑ "ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (83 ง): 11. 31 ตุลาคม 2019.
- ↑ ชวน เซ็นตั้ง 3 แกนนำเพื่อไทย ประยุทธ์-อดิศร-ภูมิธรรม นั่งทีมงานผู้นำฝ่ายค้านฯ
- ↑ ปากพารุ่ง? "เฉลิม-อดิศร" คู่บุญคู่กรรม - คมชัดลึก
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคนำไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอน 56ง 13 กรกฎาคม 2538
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรคเพื่อไทย"". pptvhd36.com.
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (36 ก): 38. 20 มิถุนายน 2023. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2023.
- ↑ "นายกฯ ตั้งวิปรัฐบาล "อดิศร เพียงเกษ" นั่งประธาน". ไทยพีบีเอส. 14 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๙๘, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
- พรรคแรงงาน (ประเทศไทย)
- พรรคมวลชน
- พรรคพลังธรรม
- พรรคนำไทย
- พรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- กวีชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยมคธ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.