พิศิษฐ์ ศาลิคุปต์
พลอากาศเอก พิศิษฐ์ ศาลิคุปต | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 บ้านพระยาภักดีนฤเบศร์ ตำบลปากคลอง อำเภอภาษีเจริญ กรุงธนบุรี |
เสียชีวิต | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 บ้านอยู่สบาย แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร |
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พิศิษฐ์ ศาลิคุปต์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน และ เป็นอดีตเสนาธิการทหาร
ประวัติ
[แก้]พลอากาศเอก พิศิษฐ์ ศาลิคุปต เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ ระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายเรือ โอนย้ายไปรับราชการเป็นทหารอากาศ ดำรงตำแหน่งสำคัญ คือ เสนาธิการทหาร[1]
ต่อมาในการก่อการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) พล.อ.อ.พิศิษฐ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ[2] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[3] และในปี พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[4]
พลอากาศเอก พิศิษฐ์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 และได้รับพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 28 กรกฎาคมของปีเดียวกัน ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จากตั๋งโต๊ะ และโจโฉ ถึง ตั้งโต๊ะ และโทโส[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๗ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติและคณะที่ปรึกษา)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ "สมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 6" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-08-06.
- ↑ บุคคลในข่าวจาก ไทยรัฐ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑