พะเนียง กานตรัตน์
พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | เปรม ติณสูลานนท์ |
ถัดไป | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2520 – พ.ศ. 2524 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ |
ถัดไป | พลอากาศเอก ทะแกล้ว ศุษิลวรณ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 เมษายน พ.ศ. 2465 |
เสียชีวิต | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (88 ปี) โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช |
ศาสนา | พุทธ |
พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ เป็นนายทหาร เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2465 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์, โรงเรียนการบิน, โรงเรียนการบินประเทศอังกฤษ, Air Command and Staff College และ Tactical Air Command ประเทศสหรัฐอเมริกา, โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ, โรงเรียนวิทยาลัยกองทัพบก, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2507[1]
ประวัติ[แก้]
รับราชการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ในยศ "เรืออากาศตรี" จากนั้นได้เติบโตในหน้าที่ราชการเรื่อยมา ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ, เสนาธิการทหารอากาศ, และผู้บัญชาการทหารอากาศ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, ตุลาการศาลทหารสูงสุด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม 3 สมัย[2][3][4] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในสมัยรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนั้น ได้เกิดเหตุกบฏ 9 กันยา ขึ้น ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ที่ทหารบกเหล่าทหารม้าและทหารอากาศสังกัดอากาศโยธินกลุ่มหนึ่ง นำกำลังก่อการยึดอำนาจแต่ทว่าไม่สำเร็จ ซึ่งเหตุการณ์ได้จบลงที่ คณะทหารผู้ก่อการได้หลบหนีออกนอกประเทศไป และหลังเหตุการณ์นี้ พล.อ.อ.พะเนียง ได้ถูกเพ่งเล็งว่าเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อการครั้งนี้ด้วย ร่วมกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายคน อาทิ
- พล.อ. เสริม ณ นคร
- พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
- พล.อ. ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
- พล.อ.อ. อรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด [5]
ทางด้านชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับคุณหญิงสุรนุช กานตรัตน์ (พ.ศ. 2467-พ.ศ. 2540)
พล.อ.อ. พะเนียง กานตรัตน์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ด้วยโรคชรา ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช สิริอายุได้ 88 ปี[6] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2520 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)
- พ.ศ. 2521 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
มาเลเซีย :
สหราชอาณาจักร:
- พ.ศ. 2504 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นสร้อยแพร [9]
- พ.ศ. 2504 -
เกาหลีใต้ :
สหรัฐ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติ[ลิงก์เสีย]จากเว็บไซต์กองทัพอากาศไทย
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา '49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4
- ↑ “พล.อ.อ. พะเนียง กานตรัตน์” อดีตรมว.กลาโหมถึงแก่อนิจกรรมแล้ว[ลิงก์เสีย]
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2520" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (44ง): 2201. 24 พฤษภาคม 2520. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 98 19 กันยายน 2521
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2504/D/021/613.PDF
ก่อนหน้า | พะเนียง กานตรัตน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ | ![]() |
![]() ผู้บัญชาการทหารอากาศ (พ.ศ. 2520-พ.ศ. 2522) |
![]() |
พลอากาศเอก ทะแกล้ว ศุษิลวรณ์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2465
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2553
- ทหารอากาศชาวไทย
- พลอากาศเอกชาวไทย
- พลอากาศโทชาวไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย
- ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา