สุทัศน์ เงินหมื่น
สุทัศน์ เงินหมื่น ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 8 กันยายน พ.ศ. 2543 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | เฉลิม อยู่บำรุง |
ถัดไป | พงศ์เทพ เทพกาญจนา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (75 ปี) |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | มลิวัลย์ เงินหมื่น[1] |
ศาสนา | พุทธ |
สุทัศน์ เงินหมื่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 กรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[2] อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และเป็นบิดาของ นายอภิวัฒน์ เงินหมื่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอำนาจเจริญ
ประวัติ[แก้]
นายสุทัศน์ เงินหมื่น เกิดวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรคนที่ 9 ของสิริ กับจันทร์ทอง เงินหมื่น มีพี่น้อง 10 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในหลายกระทรวงคือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[3] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นายสุทัศน์ เป็น ส.ส.ในพื้นที่ภาคอีสานของพรรคประชาธิปัตย์ (เขตจังหวัดอุบลราชธานีและภายหลังแยกเขตจังหวัดอำนาจเจริญ) มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เป็นตัวแทนของพรรคที่สำคัญในภูมิภาคนี้ ในการเลือกตั้ง ปี 2544 นายสุทัศน์ย้ายไปลงสมัคร ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกตั้ง
ในกลางปี พ.ศ. 2550 มีข่าวว่านายสุทัศน์พร้อมด้วยลูกชาย และนายอิสระ สมชัย อดีต ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ จะย้ายไปสังกัด พรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ทางนายสุทัศน์ นายวิฑูรย์ นามบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง[4]
ในการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายสุทัศน์รับผิดชอบดูแลการเลือกตั้งของ พรรคประชาธิปัตย์ ในโซน 3 (ภาคอีสานตอนบน รวม 10 จังหวัด)
ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้ง ครม.เงา ขึ้นเป็นครั้งแรก นายสุทัศน์ เงินหมื่น ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ ให้ทำหน้าที่ รองนายกรัฐมนตรีเงา ดูแลตรวจสอบ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน และ กระทรวงสาธารณสุข[5] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[6] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย
ในวันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562 นายสุทัศน์ได้ขยับขึ้นเป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อแทนนายอภิสิทธิ์ที่ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. ก่อนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีโดยให้มีผลตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562 [7] [8]
ประวัติการทำงาน[แก้]
- ส.ส. ปี พ.ศ. 2518, 2526, 2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544, 2548, 2550, 2554 , 2562
- ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปี 2527
- ผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2529-2531
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2531-2533[9]
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2533
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี 2538[10]
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปี 2540-2543
- รองนายกรัฐมนตรี ปี 2543
- รองนายกรัฐมนตรีเงา พรรคประชาธิปัตย์ ปี 2551
- ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกองเอก[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2535 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2533 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สุทัศน์ เงินหมื่น
- ↑ คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคจากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2561
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายมารุต บุนนาค ได้ลาออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง นายประจวบ ไชยสาส์น นายเจริญ คันธวงศ์ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายเอนก ทับสุวรรณ)
- ↑ “มาร์ค” ปัดข่าว “สุทัศน์” ทิ้งพรรค จี้ “หมัก” ยื่นเอกสารรัฐสอบ
- ↑ เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ "สุทัศน์ เงินหมื่น" ว่าที่ ส.ส. แทน "อภิสิทธิ์" หลังประกาศลาออก
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2536/D/020/1.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักกฎหมายชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- บุคคลจากจังหวัดอุบลราชธานี
- บุคคลจากจังหวัดอำนาจเจริญ
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอำนาจเจริญ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
- พรรคสังคมประชาธิปไตย (พ.ศ. 2525)
- พรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.