หลวงบุรกรรมโกวิท (ล้อม บุรกรรมโกวิท)
หลวงบุรกรรมโกวิท (ล้อม บุรกรรมโกวิท) | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 |
เสียชีวิต | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2514 |
คู่สมรส | คุณหญิงลมุน บุรกรรมโกวิท[1] |
พันเอก หลวงบุรกรรมโกวิท นามเดิม ล้อม บุรกรรมโกวิท เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2500 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี และอดีตเลขาธิการสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์[2]
ประวัติ[แก้]
ล้อม บุรกรรมโกวิท เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 เป็นบุตรของนายกรี กับนางแข เข้าเรียนที่โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย แล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 ได้เข้าฝึกงานในกองก่อสร้างพระราชวังบ้านปืน จังหวัดเพชรบุรี สังกัดกระทรวงมหาดไทย จนได้บรรจุเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2460 ตำแหน่งช่างแบบ เป็นรองอำมาตย์ตรีในปี พ.ศ. 2462 และเป็นขุนบุรกรรมโกวิท ในปีถัดมา จนเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการกระทั่งเป็นอธิบดีกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย[3]
หลวงบุรกรรมโกวิท เป็นกรรมการชุดก่อตั้งของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2493[4]
หลวงบุรกรรมโกวิท ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก และหลังการเลือกตั้งเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม[5]
ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 โดยไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2499 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2496 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2497 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2485 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[9]
- พ.ศ. 2484 –
เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[10]
- พ.ศ. 2481 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
- พ.ศ. 2485 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[12]
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[13]
- พ.ศ. 2498 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[14]
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 –
เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2500 –
เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงลมุน บุรกรรมโกวิท (2522)
- ↑ ประวัติสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ↑ เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หลวงบุรกรรมโกวิท (2514)
- ↑ ประวัติความเป็นมาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง หน้า ๕๓๙๑, ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๓๐ ง หน้า ๑๒๒๕, ๑๑ พฤษภาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๑๖๖๖, ๓๐ มิถุนายน ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๓, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๘, ๒๔ กันยายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๖, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๑๑๒๖, ๒๘ เมษายน ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๘, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๕๔ ง หน้า ๔๗๒๙, ๓ ตุลาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๗๗๔, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2439
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2514
- บุคคลจากจังหวัดปราจีนบุรี
- บรรดาศักดิ์ชั้นหลวง
- บุคคลจากโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี
- พรรคเสรีมนังคศิลา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.3