จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว. | |
---|---|
![]() | |
อธิบดีกรมรถไฟ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2479 – พ.ศ. 2486 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 ตุลาคม พ.ศ. 2438 |
เสียชีวิต | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 (87 ปี) |
เชื้อชาติ | ไทย |
บิดา | ร้อยเอกจิตร รัตนกุล |
มารดา | ชื่น รัตนกุล |
คู่สมรส | คุณหญิงเอิบ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์[1] ประไพ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ |
บุตร | ภูวลาภ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ |
อาชีพ | ทหารบก ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ พนักงานรัฐวิสาหกิจ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | ![]() |
พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (27 ตุลาคม พ.ศ. 2438 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2526) เป็นอดีตอธิบดีกรมรถไฟ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย[3][4] และเป็นอดีตพระสสุระในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ประวัติ[แก้]
พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เข้ารับราชการเป็นทหารบกเหล่าทหารสื่อสาร จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเสรีเริงฤทธิ์ เป็นหนึ่งในทหารบกคณะราษฎรที่ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 จากนั้นโอนย้ายจากกระทรวงกลาโหม ไปสังกัดกรมรถไฟในตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟ กระทรวงเศรษฐการ เมื่อ พ.ศ. 2479 - พ.ศ. 2487 เป็นแม่ทัพกองทัพพายัพในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ และกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ย้ายกลับมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟ กระทรวงคมนาคมอีกครั้ง พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2494 และดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2502
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์พร้อมคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 โดยใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลและนามสกุลเดิมเป็นชื่อรองได้ว่า จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2484[5]
ครอบครัว[แก้]
พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ มีนามเดิมว่า จรูญ รัตนกุล เป็นบุตรของนายร้อยเอก จิตร กับ ชื่น รัตนกุล บรรพบุรุษของท่านเป็นชาวจีนแซ่อึ้งที่อพยพมาจากแต้จิ๋ว ชื่อ หวงกุ้ย ซึ่งอพยพเข้ามาทางจังหวัดราชบุรี ในสมัยกรุงธนบุรี หวงกุ้ยได้รับราชการดูแลการค้าทางเรือ ล่วงมาจนถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 บุตรชายคนที่สองของหวงกุ้ยคือ หวงจวิน (กุน) ได้รับราชการเป็นที่สมุหนายกในตำแหน่ง เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ต้นสกุลรัตนกุล[6] ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาอิ่มในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1[7][6]
พลเอกจรูญ สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงเอิบ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (สกุลเดิม โกมลวรรธนะ) หลังภรรยาคนแรกถึงแก่อนิจกรรมจึงได้สมรสครั้งที่สองกับประไพ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (สกุลเดิม เศรษฐวัฒน์) บุตรชายได้แก่ พลตำรวจตรี อุดม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นภูวลาภ) และพันเอก อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ได้เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เมื่อ พ.ศ. 2487[8] มีธิดาคือท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม
ยศทหาร[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[11] ดังนี้
- พ.ศ. 2499 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2493 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2496 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2477 –
เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
- พ.ศ. 2475 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)
- พ.ศ. 2497 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[15]
- พ.ศ. 2464 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)
- พ.ศ. 2468 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 58, ตอน 0 ง, 18 กันยายน พ.ศ. 2484, หน้า 2942
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ อดีตอธิบดีกรมรถไฟ
- ↑ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์
- ↑ 6.0 6.1 คนจีนในแผ่นดินสยาม
- ↑ ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 242
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่องลาออกจากถานันดรสักดิ์, เล่ม 61, ตอน 42, 18 กรกดาคม พ.ศ. 2487, หน้า 1411-2
- ↑ เรื่อง พระราชทานยสทหาน
- ↑ เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ "ข่าวในพระราชสำนัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 100 ตอน 202 ง ฉบับพิเศษ: หน้า 33. 28 ธันวาคม พ.ศ. 2526. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 73 ตอน 8 ง: หน้า 346. 24 มกราคม พ.ศ. 2499. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 67 (ตอน 67 ง): หน้า 6348. 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 70 (ตอน 29 ง): หน้า 2053. 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2496. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 71 (ตอน 49 ง): หน้า 1724. 3 สิงหาคม 2497. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ก่อนหน้า | จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระอุดมโยธาธิยุต | ![]() |
![]() อธิบดีกรมรถไฟ (1 กุมภาพันธ์ 2479 – 30 กรกฎาคม 2485) |
![]() |
ชลอ ศรีธนากร |
ปุ่น ศกุนตนาค | ![]() |
![]() อธิบดีกรมรถไฟ (11 พฤศจิกายน 2492 – 30 มิถุนายน 2494) |
![]() |
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย) |
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (อธิบดีกรมรถไฟ) |
![]() |
![]() ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (1 กรกฎาคม 2494 – 10 กันยายน 2502) |
![]() |
ไสว ไสวแสนยากร |
หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) |
![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (7 มีนาคม 2485 – 5 พฤษภาคม 2485) |
![]() |
ควง อภัยวงศ์ |
ควง อภัยวงศ์ | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (8 กันยายน 2485 – 1 สิงหาคม 2487) |
![]() |
ควง อภัยวงศ์ |
หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) |
![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ (7 มีนาคม 2485 – 5 พฤษภาคม 2485) |
![]() |
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) |
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ) |
![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (5 พฤษภาคม 2485 – 8 กันยายน 2485) |
![]() |
ควง อภัยวงศ์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2438
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2526
- จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- ทหารบกชาวไทย
- นายพลชาวไทย
- บรรดาศักดิ์ชั้นหลวง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
- สมาชิกคณะราษฎร
- อาชญากรสงครามชาวไทย
- สกุลรัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบแต่งตั้ง
- ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- การยึดครองพม่าของไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง