ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร
ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎรแสดงรายการเหตุการณ์สำคัญนับตั้งแต่การก่อตั้งคณะราษฎรในปี 2469 จนหมดอำนาจในปี 2490
เหตุการณ์ปฏิวัติสยามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทย และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานเสียอำนาจส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวใน พ.ศ. 2475 การต่อสู้ทางการเมืองก็ยังมิได้จบลงไปอย่างสิ้นเชิง ยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบเก่า กับระบอบใหม่ หรือความขัดแย้งในผู้นำคณะราษฎรด้วยกันเอง จนรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 ถือได้ว่าเป็นการล้างอำนาจทางการเมืองของคณะราษฎรเสียสิ้น
บุคคลสำคัญ
[แก้]
|
ก่อนการปฏิวัติ (พ.ศ. 2469–2475)
[แก้]พ.ศ. 2469
[แก้]- 5 กุมภาพันธ์ – ตั้งคณะราษฎร และมีการประชุมครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอมเมอราร์ด กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ผู้เข้าร่วมประชุมมี 7 คน การประชุมกินเวลานาน 5 วัน และลงมติให้ปรีดี พนมยงค์เป็นประธาน และหัวหน้าคณะราษฎรไปก่อนจะมีผู้ที่เหมาะสม[1][2]
พ.ศ. 2474
[แก้]- 19 มิถุนายน - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ลาออกจากตำแหน่ง หลังมีความขัดแย้งกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต อภิรัฐมนตรี ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้เปิดโอกาสอย่างมากให้แก่คณะราษฎร[3]
พ.ศ. 2475
[แก้]- 12 มิถุนายน – คณะราษฎรวางแผนการที่บ้าน ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี เพื่อจะดำเนินการควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร
- 24 มิถุนายน – คณะราษฎรประกาศ เปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย ในการปฏิบัติการ มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าคณะราษฎร
ลำดับเหตุการณ์หลังการปฏิวัติ (พ.ศ. 2475–2490)
[แก้]พ.ศ. 2475
[แก้]- 27 มิถุนายน – พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองประเทศ โดยทรงเพิ่มคำว่า "ชั่วคราว" ต่อท้ายธรรมนูญการปกครองประเทศ ซึ่งหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นผู้ร่าง[4]
- 28 มิถุนายน
- มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกตามธรรมนูญการปกครองประเทศชั่วคราว มีสมาชิก 70 คน โดยแต่งตั้งจากคณะราษฎร 31 คน และจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในระบอบเดิม 39 คน เลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการราษฎร ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนแรก[5] เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก และมีหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก[6] (ดูเพิ่มที่ คณะกรรมการราษฎร)
- มีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 7 นาย ซึ่งกรรมการมีหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นสมาชิกคณะราษฎรคนเดียว
- 25 สิงหาคม – พระยานิติศาสตร์ไพศาล จดทะเบียนจัดตั้ง สมาคมคณะราษฎร ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองแรกของไทย[7][8]
- 10 ธันวาคม – สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้บริหารชุดใหม่ในนามใหม่ คือ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวน 20 นาย คณะบริหารชุดใหม่มีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรี ในจำนวนนี้สมาชิกคณะราษฎรเป็นรัฐมนตรีลอย 10 นาย[2]
พ.ศ. 2476
[แก้]- 15 มีนาคม – หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเสนอ "เค้าโครงร่างเศรษฐกิจ" ("สมุดปกเหลือง")[9][10]
- 1 เมษายน – รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476: พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) นายกรัฐมนตรี ออกพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญเกือบทุกมาตรา[11] บ้างอธิบายว่าพฤติการณ์ดังกล่าวว่าเพื่อจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่[2] โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี
- 2 เมษายน – มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี[12] เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง[2]
- 12 เมษายน – หลวงประดิษฐ์มนูธรรมถูกบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศไปยังประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากความเห็นของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมถูกโจมตีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ภายหลังการเสนอเค้าโครงร่างทางเศรษฐกิจ[13]
- 10 มิถุนายน – พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระประศาสน์พิทยายุทธ และพระยาฤทธิอัคเนย์ ผู้นำสายทหารของคณะราษฎรยื่นจดหมายลาออก[11]
- 20 มิถุนายน – พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนารัฐประหารพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่าการปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นเผด็จการ จากนั้นมีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม
- 29 กันยายน – หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเดินทางกลับสยาม
- 1 ตุลาคม–15 พฤศจิกายน – มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรผ่านผู้แทนตำบล นับเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทย
- 11 ตุลาคม – กบฏบวรเดช: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการปกครองของรัฐบาล โดยระบุเหตผลว่ารัฐบาลปล่อยให้มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและปล่อยให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์
- 25 ตุลาคม – หลังทราบว่าแพ้ต่อรัฐบาลแน่แล้ว พระองค์เจ้าบวรเดช หัวหน้าคณะกบฏและพระชายา ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังประเทศอินโดจีนฝรั่งเศส
- 7 พฤศจิกายน – ออกพระราชบัญญัติป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ อันเป็นเครื่องมือที่จะตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล[2]
- 16 ธันวาคม – พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งสมาชิกสภาแบบ 2 ชั้น (1 ตุลาคม - 15 พฤษภาคม) [12]
- 25 ธันวาคม – หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณทรงเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ ลงมติว่าหลวงประดิษฐ์มนูธรรมมิได้เป็นคอมมิวนิสต์[2]
พ.ศ. 2477
[แก้]- 2 มีนาคม – พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ขณะประทับรักษาพระเนตรอยู่ในประเทศอังกฤษ, วันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ขณะที่มีพระชนมายุ 9 พรรษา ได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- 13 กันยายน – รัฐบาลลาออก เพราะแพ้คะแนนเสียงในสภาเรื่องสัญญาการจำกัดยาง[12]
- 22 กันยายน – ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[12]
พ.ศ. 2478
[แก้]- 3 สิงหาคม – เกิดเหตุการณ์กบฏนายสิบ
พ.ศ. 2479
[แก้]- 14 ตุลาคม – เปิดอนุสาวรีย์ปราบกบฏ หรืออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่เขตบางเขน (ปัจจุบันเรียกเพียงว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่")[14]
- 10 ธันวาคม - มีพิธีฝังหมุดคณะราษฎร
พ.ศ. 2480
[แก้]- 27 กรกฎาคม – พระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากกรณีอื้อฉาวที่มีกระทู้ถามเรื่องการนำที่ดินของพระคลังข้างที่มาซื้อขายในราคาถูกเป็นพิเศษ เพื่อเป็นแสดงความบริสุทธิ์และแสดงให้เห็นถึงความไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายที่ดินดังกล่าว[2]
พ.ศ. 2481
[แก้]- 18 กรกฎาคม – รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง "วันชาติ" กำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ ซึ่งตรงกับวันปฏิวัติ[15][16]
- 11 กันยายน – พระยาพหลพลพยุหเสนา ยุบสภา เนื่องจากรัฐบาลแพ้คะแนนเสียงเรื่องการชี้แจงรายรับ-รายจ่ายที่รัฐบาลจัดทำเสนอ[2]
- 16 ธันวาคม – พันเอก หลวงพิบูลสงคราม เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- 29 มกราคม – รัฐบาลจับกุมศัตรูของรัฐบาล 51 คน แล้วตั้งศาลพิเศษโดยมีพันเอก หลวงพรหมโยธีเป็นประธาน
พ.ศ. 2482
[แก้]- 24 มิถุนายน – รัฐบาลพลตรี หลวงพิบูลสงคราม รับสนองพระบรมราชโองการแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ โดยให้เรียกชื่อประเทศว่า "ประเทศไทย" และเปลี่ยนคำว่า "สยาม" ให้เป็น "ไทย" แทน โดยเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงหลักการของลัทธิชาติ-ชาตินิยมว่า รัฐบาลเห็นควรถือเป็นรัฐนิยมให้ใช้ชื่อประเทศ ให้ต้องตามชื่อเชื้อชาติ และความนิยมของประชาชน [17]
- 26 กรกฎาคม – ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยึดทรัพย์สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่โอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นทรัพย์สินส่วนตัว
- 20 พฤศจิกายน – ศาลพิเศษตัดสินประหารชีวิต 18 นาย และจำคุกตลอดชีวิตอีกรวม 25 นาย
พ.ศ. 2483
[แก้]- 24 มิถุนายน – มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
พ.ศ. 2484
[แก้]- 8 ธันวาคม – สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย: กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่หลายจังหวัดติดอ่าวไทย
- 11 ธันวาคม – รัฐบาลไทยยอมยุติการต่อสู้กับกองกำลังญี่ปุ่น และประกาศทางวิทยุให้ทุกฝ่ายหยุดยิง
- 12 ธันวาคม – หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เอกอัครทูตไทยประจำสหรัฐ ไม่ยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และได้ประกาศขบวนการเสรีไทยขึ้นที่นั่น โดยต่อมาคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน เช่น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม, ทวี บุณยเกตุ และหลวงโกวิทอภัยวงศ์ แยกตัวจากรัฐบาลมาเข้าร่วมกับขบวนการเสรีไทยในประเทศ
- 16 ธันวาคม – ปรีดี พนมยงค์ถูกปลดจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งถูกมองว่าเป็นตำแหน่งที่ไร้อำนาจแทน เนื่องจากความขัดแย้งส่วนตัวกับจอมพล ป. และการกดดันจากญี่ปุ่นเนื่องจากมีแนวคิดต่อต้านญี่ปุ่น
พ.ศ. 2486
[แก้]- 2 กุมภาพันธ์ -
- สถาปนา "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"[18]
- สถาปนา "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)[19]
- 20 สิงหาคม - ญี่ปุ่นยินยอมลงนามให้ไทยรวมสหรัฐไทยเดิม (เมืองเชียงตุงและเมืองพวนในรัฐฉาน) และสี่รัฐมาลัยเป็นดินแดนของไทย
- 12 ตุลาคม - สถาปนา "มหาวิทยาลัยศิลปากร"[20]
พ.ศ. 2487
[แก้]- 24 กรกฎาคม – จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกกดดันให้ลงออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากนโยบาย ร่างพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์[2]
- 1 สิงหาคม – พลโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ลงมติแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่เพียงผู้เดียว
- 24 สิงหาคม – จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด[2]
พ.ศ. 2488
[แก้]- 16 สิงหาคม – ปรีดี พนมยงค์ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ออกประกาศสันติภาพ ว่าการประกาศสงครามต่อสหรัฐและบริเตนใหญ่เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 เป็น "โมฆะ"
- 20 สิงหาคม – รัฐบาลควง อภัยวงศ์ลาออกจากตำแหน่ง[2]
- 1 กันยายน – ทวี บุณยเกตุได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ[2]
- 17 กันยายน – หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชเดินทางกลับจากสหรัฐมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้ดำเนินการเจรจาความตกลงสมบูรณ์แบบ
- 27 กันยายน – รัฐบาลเสนอพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อใช้จัดการกับ จอมพล ป. พิบูลสงครามและคณะ[2]
- 15 ตุลาคม – หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
พ.ศ. 2489
[แก้]- 1 มกราคม - ม.ร.ว.เสนีย์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากเสร็จภารกิจเจรจากับประเทศอังกฤษ
- 6 มกราคม - มีการเลือกตั้งทั่วไป
- 31 มกราคม - มติสภาผู้แทนราษฎรเลือกควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2
- 18 มีนาคม - ควง อภัยวงศ์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะแพ้การลงมติในสภาผู้แทนราษฎร เรื่องร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายฯ[2]
- 24 มีนาคม - ปรีดี พนมยงค์ ได้รับเสียงสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี[2]
- 9 พฤษภาคม - รัฐสภามีรัฐพิธีลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 3[12]
- 8 มิถุนายน – ปรีดีลาออกจากตำแหน่งเพื่อให้เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ หลังรัชกาลที่ 8 พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่รัฐสภาก็มีมติเป็นเอกฉันท์ให้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง
- 9 มิถุนายน
- เหตุการณ์เสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล:
- ปรีดีและคณะรัฐมนตรีได้ขอความเห็นชอบต่อสภาว่า ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ควรได้แก่ สมเด็จพระอนุชา เมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว นายปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้สวรรคตเสียแล้ว
- ศัตรูทางการเมืองของปรีดี ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอำนาจเก่าและพรรคฝ่ายค้านนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวหาว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง" จนนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมดในเดือนพฤศจิกายน
- 5 สิงหาคม - การเลือกตั้งเพิ่มเติม
- 23 สิงหาคม - พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี[2]
พ.ศ. 2490
[แก้]- 19–26 พฤษภาคม – พรรคประชาธิปัตย์อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นานถึง 8 วัน 7 คืนติดต่อกัน จนถูกเรียกว่า "มหกรรม 8 วัน" การลงมติปรากฏว่า พล.ร.ต.ถวัลย์ ได้มติไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งต่ออย่างท่วมท้น แต่เนื่องจากกระแสกดดันอย่างมากทั้งในและนอกสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องลาออกในวันรุ่งขึ้น แต่ก็กลับเข้ารับตำแหน่งอีกครั้งในวันถัดมา
- 8 พฤศจิกายน – รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490: พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และ น.อ.กาจ กาจสงคราม นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (รับช่วงต่อจากนายปรีดี) โดยอ้างว่าไม่สามารถสะสางกรณีสวรรคตได้ และยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2489[21] ปรีดี และพล.ร.ต.ถวัลย์ หลบหนีออกนอกประเทศไปยังสหรัฐ ในขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐสนับสนุนฝ่ายรัฐประหาร ปรีดีจึงเดินทางไปประเทศจีนแทน[13] รัฐประหารครั้งนี้ถึงแม้จอมพล ป. ซึ่งเป็นสมาชิกคณะราษฎร จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีก็ตาม แต่สมาชิกและบุคคลร่วมคณะในรัฐบาลก็มิได้เป็นสมาชิกคณะราษฎรเลย โดยรัฐประหารครั้งนั้นถือได้ว่าเป็นการล้างอำนาจทางการเมืองของคณะราษฎรเสียสิ้น[22]
เหตุการณ์ภายหลัง
[แก้]21 พฤษภาคม 2503 รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันที่คณะราษฎรปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันชาติแทน[23] ถือเป็นการสิ้นสุดสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร
วันที่ 14 เมษายน 2560 มีข่าวว่าหมุดคณะราษฎรถูกเปลี่ยน โดยหมุดใหม่มีข้อความว่า "ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดี ในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องทำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง ขอประเทศสยามจงเจริญยั่งยืนตลอดไป ประชาชนสุขสันต์ หน้าใส เพื่อเป็นพลังของแผ่นดิน"[24]
ในปี 2563 มีการเปลี่ยนชื่อค่ายพหลโยธินและค่ายพิบูลสงคราม ซึ่งได้ชื่อตามผู้นำคณะราษฎร เป็น "ค่ายภูมิพล" และ "ค่ายสิริกิติ์" ตามลำดับ[25]
หมายเหตุ
[แก้]- ในลำดับเหตุการณ์ข้างต้น ระหว่างปี พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2503 ซึ่งปีพุทธศักราชมีการเปลี่ยนแปลงวันเริ่มศักราช จากเดิมเริ่มต้นปีในวันที่ 1 เมษายน แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ประเทศไทยได้ปรับวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลในปีก่อน พ.ศ. 2483 เกิดความสับสนในการเรียงลำดับ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "thunder.prohosting.com สยาม 2475 - 2490 คณะราษฎร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-14. สืบค้นเมื่อ 2007-09-15.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทย 2475 - 2550 [ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
- ↑ "เหตุการณ์ในแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. 2475". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-02. สืบค้นเมื่อ 2013-06-04.
- ↑ คือวิญญาณเสรี ปรีดี พนมยงค์ หนังสือครบรอบ 100 ปี ชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส 11 พ.ค. 2543 หน้า 111
- ↑ www.sarakadee.com ยุทธการยึดเมือง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
- ↑ คือวิญญาณเสรี ปรีดี พนมยงค์ หนังสือครบรอบ 100 ปี ชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส 11 พ.ค. 2543 หน้า 112
- ↑ รากฐานไทย, ความเป็นมาพรรคการเมืองไทย เก็บถาวร 2007-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รากฐานไทย
- ↑ สารคดี, วันนี้ในอดีต: 25 สิงหาคม[ลิงก์เสีย], นิตยสารสารคดี, 25 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ "www.pridi-fo.th.com ปฏิทินชีวิต นายปรีดี พนมยงค์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-03. สืบค้นเมื่อ 2007-09-16.
- ↑ อนุสรณ์ ธรรมใจ, ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ พุทธศักราช 2547, 24 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ณ ห้องประชุมใหญ่ สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพมหานคร
- ↑ 11.0 11.1 บทความ เมรุคราวกบฏบวร: เมรุสามัญชนครั้งแรกกลางท้องสนามหลวง ชาตรี ประกิตนนทการ - นิตยสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เม.ย. - มิ.ย. 2550
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 พระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2476 การพิทักษ์รัฐธรรมนูญในยุคแรก สถาบันปรีดี สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564
- ↑ 13.0 13.1 "geocities.com/siamintellect ชีวประวัติ ปรีดี พนมยงค์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-23. สืบค้นเมื่อ 2007-07-23.
- ↑ ประชาไท, ชาตรี ประกิตนนทการ : สถาปัตย์คณะราษฎร บนพื้นที่ศักดิ์สิทธิแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์[ลิงก์เสีย] (ย่อหน้า 8), ประชาไท, 19 กันยายน พ.ศ. 2550
- ↑ เกษียร เตชะพีระ, 20 พฤษภาฯ วันสิ้น (วัน) ชาติ เก็บถาวร 2008-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, มติชน ปีที่ 26 ฉบับที่ 9310, 5 กันยายน พ.ศ. 2546 (อ้างผ่านเว็บไซต์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)
- ↑ พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย, เพลงวันชาติ 24 มิถุนายน เก็บถาวร 2007-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย
- ↑ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1401, 1402 ฉบับวันที่ 22 และ 29 มิ.ย. 2550 (ผ่านหนังสือ จากสยามเป็นไทย: นามนั้นสำคัญมากฉะนี้หรือ? เอกสารโครงการตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน หน้า 8 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ)
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช 2486 เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2486 เล่ม 228 หน้า 60 ตอนที่ 7
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พุทธศักราช 2486, ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2486 หน้า 212 เล่ม 60 ตอนที่ 7
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศิลปากร พุทธศักราช 2486 เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2486 หน้า 1496 เล่ม 60 ตอนที่ 54
- ↑ ทหารกับการเมืองในอุษาคเนย์: ศึกษาเปรียบเทียบในกรณีของ ไทย พม่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ)
- ↑ สารคดี, ยุทธการยึดเมือง 24 มิถุนายน 2475, นิตยสารสารคดี, ปรับปรุงล่าสุด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย; ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 77 ตอน 43 24 พฤษภาคม 2503 หน้า 1452
- ↑ แชร์ว่อน! หมุดคณะราษฎรถูกเปลี่ยน ผอ.เขตดุสิตปัดเกี่ยว กรมศิลป์แจงไม่อยู่ในความรับผิดชอบ
- ↑ คณะราษฎร : โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนาม "ค่ายพหลโยธิน" และ "ค่ายพิบูลสงคราม" เป็น "ค่ายภูมิพล" และ "ค่ายสิริกิติ์"