ประยุทธ์ ศิริพานิชย์
ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน พ.ศ. 2535 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า | สง่า สรรพศรี |
ถัดไป | ไพจิตร เอื้อทวีกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 กันยายน พ.ศ. 2488 (75 ปี) จังหวัดมหาสารคาม |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | พัฒนวดี ศิริพานิชย์ |
ศาสนา | พุทธ |
นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เป็นเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์)[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จังหวัดมหาสารคาม และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553[2] และเป็นอดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ปลอดประสพ สุรัสวดี)
ประวัติ[แก้]
ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2488 ที่อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม[3] เป็นบุตรคนที่สองของนายประจวบ กับนางหนูทอง ศิริพานิชย์ มีพี่น้อง 8 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสกับนางพัฒนวดี ศิริพานิชย์ มีบุตร 3 คน
งานการเมือง[แก้]
นายประยุทธ์ เป็นสมาชิกสภาจังหวัดมหาสารคามหลายสมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา และเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคกิจสังคม ในช่วงที่มีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็นหัวหน้าพรรค และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[4] และรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[5] เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[6] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย
ในปี พ.ศ. 2553 นายประยุทธ์ ได้รับเลือกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย ให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 นายประยุทธ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคพร้อมกับคณะกรรมการบริหารพรรคอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบอันจะเป็นเหตุให้มีการยุบพรรคได้[7]
ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ปลอดประสพ สุรัสวดี) ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557[8]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 56[9]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 20[10] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
การเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม[แก้]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 เขาในฐานะรองประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ได้เสนอให้มีการแก้ไขให้มีการนิรโทษกรรมทุกฝ่าย หรือฉบับที่สื่อมวลชนเรียกว่า "นิรโทษกรรมสุดซอย" จนมีการคัดค้านจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ว่าเป็นการเอื้อผลประโยชน์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[11]
ผลการกระทำของนายประยุทธในครั้งนี้ลุกลามใหญ่โต เป็นผลเสียกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยเกิดความไม่พอใจของทุกฝ่ายทั้งกลุ่มเสื้อแดง ทหาร ญาติผู้เสียชีวิต และกลุ่มต่อต้านรัฐบาล ทำให้กลุ่มต่อต้านรัฐบาลสามารถนำไปขยายผลและลุกลามขยายใหญ่เพื่อล้มรัฐบาล คนออกมาเดินขบวนต่อต้านมากมายตามท้องถนน ในที่สุดรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องยุบสภาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2529 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก[12]
- พ.ศ. 2528 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)[13]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ชวน เซ็นตั้ง 3 แกนนำเพื่อไทย ประยุทธ์-อดิศร-ภูมิธรรม นั่งทีมงานผู้นำฝ่ายค้านฯ
- ↑ คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ กก.บริหาร พท.แห่ลาออก หวั่นถูกยุบพรรค
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ คม ชัด ลึก ออนไลน์ 'ปชป.'เป่านกหวีดชุมนุมค้าน'นิรโทษกรรม' สืบค้นวันที่ 1-11-2556
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๙)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่อราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชชั้นสายสะพาย ๕ ธันวาคม ๒๕๒๘)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดมหาสารคาม
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม
- พรรคกิจสังคม
- พรรคชาติไทย
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.