เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์
(แสง วงศาโรจน์)
สมุหพระกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2352 – พ.ศ. 2365
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ก่อนหน้าเจ้าพระยามหาเสนา (บุญมา)
ถัดไปเจ้าพระยาอัครมหาเสนา (สังข์)
เจ้าเมืองราชบุรี
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2352
ก่อนหน้าเจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์)
ถัดไปเจ้าพระยาราชบุรี (เนียม วงศาโรจน์)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 มกราคม พ.ศ. 2311
เสียชีวิต2 พฤษภาคม พ.ศ. 2365 (54 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรส
บุตรพระยาราชบุรี (กลั่น วงศาโรจน์)
พระยาภักดีนฤบดินทร์ (กุ้ง วงศาโรจน์)
พระยาอัมรินทรฤๅชัย (นิ่ม วงศาโรจน์)
พระยาอัมรินทรฤๅชัย (โนรี วงศาโรจน์)
บุพการี

เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) ที่สมุหพระกลาโหม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต้นสกุล วงศาโรจน์

ประวัติ[แก้]

เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) มีนามเดิมว่า "แสง" เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2311 ตรงกับขึ้น 5 ค่ำ เดือน ยี่ ปีชวด สัมฤทธิ์ศก จุลศักราช 1130 เป็นบุตรของเจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) และท่านผู้หญิงอิน

เจ้าพระยาราชบุรี(เสม วงศาโรจน์) ผู้เป็นบิดานั้นเป็นบุตรขุนแกล้ว กับท่านยายเดื่อ ท่านยายเดื่อเป็นธิดาของท่านยายเจ้าเมือง ซึ่งเป็นพระปิตุจฉาพระองค์โตของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ส่วนท่านผู้หญิงอิน มารดานั้นเป็นธิดาของท่านตาขุนศรี(ชู) ท่านตาขุนศรี(ชู)เป็นบุตรท่านยายเจ้าเมืองเช่นกัน

ท่านแสงซึ่งเป็นพระญาติในสมเด็จพระอมรินทร์ฯได้เข้ารับราชมาตั้งแต่ต้นแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และมีความดีความชอบมาโดยตลอด และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยาสมุทรสงคราม เจ้าเมืองสมุทรสงคราม ในปี พ.ศ. 2325 ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ในขณะที่บิดาของท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาราชบุรี[1] เมื่อเจ้าพระยาราชบุรี (เสม วงศาโรจน์) ถึงแก่อสัญกรรม ท่านจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาราชบุรี[1] เจ้าเมืองราชบุรีต่อจากบิดาของท่าน

ต่อมาเจ้าพระยามหาเสนา (บุญมา) สมุหพระกลาโหมถึงแก่อสัญกรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาราชบุรี (แสง) ขึ้นเป็นเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ ที่สมุหพระกลาโหม

เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) ถึงแก่อสัญกรรมในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2365 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย สัมฤทธิ์ศก จุลศักราช 1184 รวมสิริอายุได้ 54 ปี

บุตร-ธิดา[แก้]

  1. พระยาราชบุรี (กลั่น วงศาโรจน์) เจ้าเมืองราชบุรี คนที่ 4[1]
  2. พระยาภักดีนฤบดินทร์ (กุ้ง วงศาโรจน์) เจ้าเมืองราชบุรี คนที่ 5[1] บิดาท่านผู้หญิงอู่[2] ภรรยาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)
  3. พระยาอัมรินทรฤๅชัย (นิ่ม วงศาโรจน์) เจ้าเมืองราชบุรี คนที่ 6[1]
  4. พระยาอัมรินทรฤๅชัย (โนรี วงศาโรจน์)

ลำดับบรรดาศักดิ์[แก้]

  • พระยาสมุทรสงคราม[3]
  • พระยาอัมรินทรฤๅชัย
  • เจ้าพระยาราชบุรี
  • เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์

มรดก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ตั้งแต่อดีต - ปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-06. สืบค้นเมื่อ 2012-09-06.
  2. "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-19. สืบค้นเมื่อ 2012-09-06.
  3. ศูนย์ข้อมูลทางวัฒนธรรม[ลิงก์เสีย]
  4. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. ข้อมูลทำเนียบท้องที่. ณ วันที่ 1 กันยายน 2565.

บรรณานุกรม[แก้]

  • เทพ สุนทรศารทูล, นามสกุลพระราชทาน, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดวงแก้ว