สมบัติ ศรีสุรินทร์
สมบัติ ศรีสุรินทร์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
สมบัติในปี 2563 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2489 จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย |
พรรค | เพื่อไทย |
สมบัติ ศรีสุรินทร์ เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์หลายสมัย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย
ประวัติ[แก้]
สมบัติ ศรีสุรินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2489 เป็นบุตรของนายต่วน ศรีสุรินทร์ กับนางประยงค์ ศรีสุรินทร์ และเป็นหลานของรองอำมาตย์ตรี ขุนศรีสุรินทร์พาณิชย์ (陈振乾) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยลีดส์ (Leeds University) และปริญญาโท M.COM จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม (University of Birmingham)[1][2] ประเทศอังกฤษ อดีตเคยเป็นอาจารย์ประจำที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การทำงาน[แก้]
สมบัติ ศรีสุรินทร์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้ย้ายมาสังกัดพรรครวมไทย ได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 จากนั้นได้ย้ายมาสังกัดพรรคสามัคคีธรรม ในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 และพรรคความหวังใหม่ ในการเลือกตั้งเดือนกันยายน พ.ศ. 2535
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคชาติไทย และย้ายกลับไปสังกัดพรรคความหวังใหม่อีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 5 ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ แต่พ่ายให้กับนายประดุจ มั่นหมาย จากพรรคไทยรักไทย ซึ่งต่อมาเขาจึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทยด้วย แต่ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครในนามพรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชนทั้งหมด
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. อีกสมัยในนามพรรคเพื่อไทย
สมบัติ ศรีสุรินทร์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร (ครม.48)[3] ก่อนจะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2543 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Portal HRIS". hris.parliament.go.th.
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- สมบัติ ศรีสุรินทร์ เก็บถาวร 2013-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์พรรคเพื่อไทย
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2489
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดสุรินทร์
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์
- พรรคชาติไทย
- พรรคเอกภาพ
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อไทย
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยลีดส์
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.