เนวิน ชิดชอบ
เนวิน ชิดชอบ | |
---|---|
เนวิน ใน พ.ศ. 2555 | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (1 ปี 48 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มีนาคม พ.ศ. 2545 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (0 ปี 212 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุวรรณ วลัยเสถียร |
ถัดไป | วัฒนา เมืองสุข |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544 (3 ปี 53 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | ประวัฒน์ อุตตะโมต ฉัตรชัย เอียสกุล อุดมศักดิ์ ทั่งทอง |
ถัดไป | ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ นที ขลิบทอง |
ดำรงตำแหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 (2 ปี 304 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | นที ขลิบทอง |
ถัดไป | อดิศร เพียงเกษ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 (0 ปี 309 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | ชวรัตน์ ชาญวีรกูล อำนวย ปะติเส |
ถัดไป | เสริมศักดิ์ การุญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2501 อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | สหประชาธิปไตย (2531–2534) สามัคคีธรรม (2534–2535) ชาติไทย (2535 - 2539, 2543–2547) เอกภาพ (2539–2543) ไทยรักไทย (2547–2550) พลังประชาชน (2550–2551) ภูมิใจไทย (2551-2555) |
คู่สมรส | กรุณา ชิดชอบ (สุภา) |
เนวิน ชิดชอบ (เกิด 4 ตุลาคม พ.ศ. 2501) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบริหารสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเคยเป็นหนึ่งในบุคคลใกล้ชิดคนสำคัญของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร แต่ภายหลังคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 ได้เป็นประธานกลุ่มเพื่อนเนวิน แยกตัวออกจากพรรคพลังประชาชน มาร่วมกับ สส. จากพรรคมัชฌิมาธิปไตย จัดตั้งเป็นพรรคภูมิใจไทย และหันไปสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์แทน จนกลายเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในการลงมติในปลายปีเดียวกัน
ประวัติ
[แก้]นายเนวิน ชิดชอบ เกิดวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ แต่ไปเติบโตที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นบุตรของชัย ชิดชอบ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ และนางละออง ชิดชอบ เป็นลูกคนกลางในบรรดาพี่น้องชาย 5 หญิง 1 (เป็นพี่ชายของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) โดยชัย ชิดชอบ ตั้งตัวมาจากธุรกิจโรงโม่หิน มีกิจการที่สำคัญคือ โรงโม่หินศิลาชัย
ชื่อ "เนวิน" ตั้งตามชื่อของเนวี่น ผู้นำรัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศพม่าในขณะนั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่ ชัย ชิดชอบ มีความประทับใจมาก
เนวิน สมรสกับนางกรุณา ชิดชอบ นามสกุลเดิม "สุภา" บุตรีของนายคะแนน สุภา เจ้าของบริษัท เชียงใหม่ คอนสตรัคชั่น จำกัด โดยมีบุตรี 1 คนชื่อ ชิดชนก ชิดชอบ รองผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าที่ระลึกของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และบุตรชายอีก 3 คนคือ ไชยชนก ชิดชอบ (บุตรชายคนโต) ปัจจุบันเป็นเลขาธิการของพรรคภูมิใจไทย ,ชนน์ชนก ชิดชอบ (บุตรชายคนกลาง) ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเยาวชนของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อะคาเดมี่ และ โชติชนก ชิดชอบ (บุตรชายคนเล็ก)[1]
การศึกษา
[แก้]นายเนวินจบชั้น ป.7 จากโรงเรียนเขตการทางสงเคราะห์ ๕ (ไตรคามสิทธิศิลป์) และไปศึกษาระดับมัธยมศึกษาจนจบ ม.ศ. 5 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีเพื่อนร่วมรุ่นที่มีชื่อเสียง เช่น วัฒนา เมืองสุข, วีระ สมความคิด, สมชัย ศรีสุทธิยากร และสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ต่อมาได้ศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาวิชาพัฒนาชุมชนภาคพิเศษ สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2530 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นอกจากนี้ยังได้รับมอบปริญญากิตติมศักดิ์ด้านบริหารรัฐกิจจากมหาวิทยาลัยแปซิฟิกเวสเทิร์น รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐ
บทบาททางการเมือง
[แก้]เนวินมีชื่อเล่นจริง ๆ ว่า "โอ้ง"[2]และมีฉายาหนึ่งว่า ชื่อพม่า หน้าลาว เว้าเขมร เนื่องจากชื่อเหมือนเนวี่น อดีตผู้นำทหารพม่า หน้าลาวเพราะเป็นคนอีสาน แต่เมื่อเวลาหาเสียงจะพูดปราศรัยเป็นภาษาเขมรจนเป็นเอกลักษณ์
เนวินลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัด พรรคสหประชาธิปไตย และได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้ลงเลือกตั้งในนาม พรรคสามัคคีธรรม และ พรรคชาติไทย นอกจากนี้ เนวินเป็นหนึ่งในสมาชิกของ กลุ่ม 16 ซึ่งมีผลงานโดดเด่นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของ ชวน หลีกภัย กรณีแจกที่ดิน สปก.4-01 จนทำให้ต้องยุบสภาในเวลาต่อมา
และสืบเนื่องจากประเด็น ยี้ห้อย ร้อยยี่สิบ ทำให้เขาไม่สามารถอยู่ในพรรคชาติไทยต่อไปได้ และด้วยความช่วยเหลือของ ชัย ชิดชอบ ผู้เป็นบิดา ทำให้เขาได้สังกัด พรรคเอกภาพ โดยที่ ไชยยศ สะสมทรัพย์ เป็นหัวหน้าพรรคในขณะนั้น ในเวลาต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539[3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เนวินลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 11 ของพรรคชาติไทย[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ต่อมาได้ย้ายไปสังกัด พรรคไทยรักไทย ในช่วงก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ในระหว่างนั้น เนวินได้ถูก ถาวร เสนเนียม กล่าวหาว่าเป็นผู้พยายามเกลี้ยกล่อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา, จังหวัดพัทลุง, และจังหวัดสตูล ให้ความช่วยเหลือพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง แต่ปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งลงความเห็นว่าหลักฐานที่ถาวรใช้ยื่นฟ้องคือ เทปบันทึกเสียงของเนวิน มีความไม่ชัดเจนพอที่จะเอาผิด[5]
หลังจากนั้นได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า หมอผีเขมร เนื่องจากเชื่อว่าเป็นผู้แนะนำให้ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ใช้ไสยศาสตร์ในการปกป้องคุ้มครองตัว ในวิกฤตการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[6] และเชื่อว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการนำม็อบคาราวานคนจนมาปิดล้อมตึกของเครือเนชั่น ที่เขตบางนา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2549[7] และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการจัดทำสื่อทางเลือก เช่น TTV MV1 และเว็บไซต์ รีพอตเตอร์ ออกมาตอบโต้กลุ่มผู้ขับไล่ทักษิณ ชินวัตร ด้วย[8] และเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกควบคุมตัวหลังรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พร้อมกับ ยงยุทธ ติยะไพรัช อีกทั้งเป็นบุคคลต้องสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังของการพยายามคว่ำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่จะมีการรับร่างในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ในจังหวัดบุรีรัมย์ด้วย[9] ทำให้เนวินถูกควบคุมตัวไปอยู่ในคุกทหาร 11 วัน
25 กันยายน พ.ศ. 2550 เนวินได้ขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงของพรรคพลังประชาชนที่จังหวัดบุรีรัมย์ ตอนหนึ่งนายเนวินได้บอกว่าระหว่างที่ถูกควบคุมตัวได้ถูกกระทำอย่างไม่ถูกต้อง เช่น ถูกจับแก้ผ้าหมดทั้งตัว และถูกทิ้งไว้ข้างถนน แต่ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริงและปฏิบัติต่อเนวินอย่างใด
เนวินถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 แต่ยังคงเป็นผู้นำ กลุ่มเพื่อนเนวิน ที่มี ส.ส.ในกลุ่มอยู่ราว 30 คน เข้าสนับสนุนพรรคพลังประชาชน และร่วมสนับสนุน สมัคร สุนทรเวช ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกลุ่มเพื่อนเนวินนี้มีบทบาทอย่างสูงในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นแกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ สส.เดิมของพรรคมัชฌิมาธิปไตย และกลุ่มเพื่อนเนวิน พรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกตัดสินยุบพรรค เข้าสังกัด และร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์
ในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 หลังจากเนวินถูกทักษิณและกลุ่มคนเสื้อแดงพร้อมด้วย สส. พรรคเพื่อไทย โจมตีว่าเนรคุณหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน นายเนวินได้เปิดแถลงข่าวในตอนบ่ายของวันที่ 7 เมษายน ในเชิงท้าชนกับทักษิณ พร้อมกับตั้งคำถามว่า คำว่า "รัฐไทยใหม่" ของทักษิณที่กลุ่มคนเสื้อแดงกล่าวถึงนั้นหมายถึงอะไร และข้อเรียกร้องให้องคมนตรีลาออกนั้นเป็นการก้าวล่วงพระราชอัธยาศัย ซึ่งตนถือว่าสำคัญกว่าพระราชอำนาจ และถ้าจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ต้องข้ามศพตนไปก่อน[10]
ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2552 นายเนวินได้รับเลือกให้เป็นผู้อำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากรัฐบาล โดยกำหนดตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม จนถึงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ตลอดแนวถนนราชดำเนิน ตั้งแต่ สนามหลวง จนถึง ลานพระบรมรูปทรงม้า[11] และจัดงานได้อย่างน่าประทับใจ
ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งตรงกับวันครบรอบวันเกิด 54 ปี นายเนวินได้ประกาศยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด เพื่อที่จะลดความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาในรอบหลายปี โดยจะทุ่มเทให้กับการกีฬาอย่างเต็มที่ ทั้งฟุตบอล และการแข่งรถ[12]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]เนวินได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัด พรรคสหประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัด พรรคสามัคคีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัด พรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัด พรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัด พรรคเอกภาพ
คำวิจารณ์
[แก้]"ยี้ห้อย ร้อยยี่สิบ"
[แก้]เนวินได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "ยี้ห้อย ร้อยยี่สิบ" จากการทุจริตซื้อเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อชุดเฉพาะกิจของกระทรวงมหาดไทย ที่มี พลตำรวจตรีเสรี เตมียเวส รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ยศในขณะนั้น) บุกค้นและจับกุมน้องเขยและน้องสาวของ ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล สส.บุรีรัมย์ พบเงินสด 11.4 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในรูปของธนบัตรฉบับละ 100 บาท และฉบับ 20 บาท เย็บติดกับใบแนะนำตัวของผู้สมัคร สส. ของพรรค จนนำไปสู่การตั้งข้อหาเตรียมการซื้อเสียง แต่ศาลตัดสินว่าเนวินกับพวกไม่มีความผิดในภายหลัง[13]
"มันจบแล้วครับนาย"
[แก้]บทบาททางกีฬา
[แก้]ในช่วงฤดูกาล 2552 นายเนวินต้องการซื้อหุ้นทีมฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีก ให้ย้ายไปเล่นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ในเบื้องต้นได้เจรจากับสโมสรฟุตบอลตำรวจ แต่ได้รับการปฏิเสธ[14] นายเนวินได้มีการเจรจาในเบื้องต้นกับสโมสรฟุตบอลทีโอที และสโมสรฟุตบอลทหารบก [15] แต่ตกลงกันไม่ได้ ในที่สุดจึงได้มีการซื้อขายหุ้นของสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทางสโมสรได้ตกลงที่จะย้ายสนามแข่งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์[14] หลังจากนั้นทางสโมสรได้เปลี่ยนแปลงชื่อทีมเป็น บุรีรัมย์-พีอีเอ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหารทั้งหมด และทีมผู้ฝึกสอนบางส่วน
เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 นายเนวินแถลงข่าวว่าได้ซื้อหุ้นอีก 30% ของสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มาบริหารจัดการเองทั้งหมด รวมทั้งสิทธิทั้งหมดในนามการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จากนั้นเปลี่ยนชื่อทีมเป็นสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด[16]
นอกจากนี้นายเนวินยังเป็นประธานที่ปรึกษาโครงการสนามแข่งรถช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต[17] ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของช้างอารีนา สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[18]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[19]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ผ่าอาณาจักร “ชิดชอบ” ใน “ตู้เต่าบิน” - “ซ้อต่าย-ลูก 4 คน” ถือหุ้น
- ↑ "รู้ไหมทำไม!'เนวิน ชิดชอบ'ถึงได้เป็นผู้มากบารมีทางการเมือง". เดลินิวส์. สี่พระยาการพิมพ์. 4 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2024.
- ↑ "เนวิน ชิดชอบ จาก "นักเลงเซราะกราว" สู่ผู้มากบารมี". thepeople (ภาษาอังกฤษ). 2019-02-06.
- ↑ "บัญชีรายชื่อ 100 อันดับ พรรคชาติไทย". web.archive.org. 2001-02-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-02-08. สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2548". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-02.
- ↑ อวยชัยแฉทักษิณแอบทำพิธีต่ออายุที่บ้านเนวิน
- ↑ พันธมิตรฯ ย้ำชุมนุมใหญ่ 7 เมษาฯ - “สนธิ” แฉ “ยี้ห้อย” บงการปิดคมชัดลึก
- ↑ jouna lPDF The Trail of Alternative Media in Thailand ตามรอย “สื่อทางเลือก” อันหลากหลายในเมืองไทย
- ↑ บุคคลต้องสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังของการพยายามคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550
- ↑ "เนวินแถลงนปช.คิดไกลกว่าไล่รัฐมุ่งเผาชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-11. สืบค้นเมื่อ 2009-04-16.
- ↑ "เนวินปัดหวังฟอกตัวการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-03. สืบค้นเมื่อ 2009-12-15.
- ↑ 'เนวิน'ประกาศเลิกเล่นการเมือง หวังลดความขัดแย้งเก็บถาวร 2012-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากกรุงเทพธุรกิจ
- ↑ "ย้อนอดีต เนวิน "รับขวัญ" หลากผู้นำรัฐบาล ก่อนประยุทธ์เยือนบุรีรัมย์". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2024-02-08.
- ↑ 14.0 14.1 เนวินจะได้แต่ทีมการไฟฟ้าฯ แต่ไม่ได้นักเตะไปบุรีรัมย์
- ↑ เนวิน เผย บุรีรัมย์ เตรียมเสริมแข้งรายใหม่ช่วง มกราคม ปีหน้า สยามกีฬา, 25 ธันวาคม 2565
- ↑ ""เนวิน"ทุ่มซื้อสิทธิ์"พีอีเอ"ยุติปัญหาทั้งหมด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-22. สืบค้นเมื่อ 2014-10-09.
- ↑ "ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต". สืบค้นเมื่อ 2024-05-18.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย “สึนามิ” เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- เนวิน ชิดชอบ
- บุคคลจากอำเภอเมืองสุรินทร์
- สกุลชิดชอบ
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
- ผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองในประเทศไทย
- พรรคสหประชาธิปไตย
- นักการเมืองพรรคสามัคคีธรรม
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย
- ประธานและนักลงทุนฟุตบอลชาวไทย
- ประธานสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย
- สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- นักการเมืองพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)