ปองพล อดิเรกสาร
ปองพล อดิเรกสาร | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน พ.ศ. 2535 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | สุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า | อาสา สารสิน |
ถัดไป | อาสา สารสิน |
เลขาธิการพรรคชาติไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2540 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2543 | |
ก่อนหน้า | เสนาะ เทียนทอง |
ถัดไป | สนธยา คุณปลื้ม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 มีนาคม พ.ศ. 2485 อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2550–2564, 2566–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ชาติไทย (2517–2543) ไทยรักไทย (2543–2550) รวมไทยสร้างชาติ (2564–2566) สร้างอนาคตไทย (2566) |
คู่สมรส | นางธิดา อดิเรกสาร |
ปองพล อดิเรกสาร (เกิด 23 มีนาคม พ.ศ. 2485) ชื่อเล่น ป๊อก อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นบุตรของประมาณ อดิเรกสาร อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นบิดาของ ปรพล อดิเรกสาร อดีตสส.สระบุรี และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ นิตยสาร TVK mag
นอกจากเป็นนักการเมืองแล้ว ยังเป็นเจ้าของนามปากกา Paul Adirex มีผลงานนิยายภาษาอังกฤษและภาษาไทยหลายเล่ม
ประวัติ
[แก้]ประวัติการศึกษา
[แก้]จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยลีไฮ สหรัฐอเมริกา และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยอเมริกัน สหรัฐอเมริกา [1] และผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 32
ประวัติทางการเมือง
[แก้]ปองพล อดิเรกสาร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสระบุรี หลายสมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526, 2535/1, 2538 และ พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติไทย ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2535[2] เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2539 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2540-2543 เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2544-2545 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2545-2546 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3]
กระทั่งวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2565 นายปองพลได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่าได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์[4] แต่ต่อมาปองพลได้ลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันที่ 6 กันยายน[5] เนื่องจากปรพลซึ่งเป็นบุตรชายต้องการเปลี่ยนการลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากระบบบัญชีรายชื่อ เป็นลงสมัครในระบบเขตแทน แต่พรรครวมไทยสร้างชาติมีผู้สมัครในพื้นที่นั้นเรียบร้อยแล้ว โดยได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคสร้างอนาคตไทย และเปิดตัวพร้อมกับการดำรงตำแหน่งประธานพรรคของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และกลุ่มสี่กุมาร ในอีก 2 วันถัดมา[6] แต่ภายหลัง แกนนำพรรคสร้างอนาคตไทยได้ย้ายกลับเข้าพรรคพลังประชารัฐ จึงทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนเขตเลือกตั้งกับผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ ปองพลและปรพลจึงลาออกจากสมาชิกพรรคสร้างอนาคตไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566[7] และพาปรพลไปสมัครสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ในวันรุ่งขึ้น[8]
งานเขียน
[แก้]ปองพลหันมาเขียนนิยายหลังไม่ได้รับการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2535 [9] โดยนิยายส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษ ตัวเอกเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เน้นการผสมระหว่างประวัติศาสตร์และงานข่าวกรอง
ปัจจุบัน ได้หันมาเป็นพิธีกรผลิตรายการสารคดีท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และถ่ายรูปสัตว์ป่า ที่มีผลงานออกมาหลายชิ้นทั้งหนังสือสารคดี, หนังสือรวบรวมภาพถ่าย และรายการสารคดีทางโทรทัศน์ เช่น สุดหล้าฟ้าเขียว ทุกวันเสาร์เว้นวันเสาร์ในเวลา 06.00 น. ทางช่อง 3[10] และ เรื่องเล่าข้ามโลก ทุกวันเสาร์ในเวลา 17.00 น. ทางช่อง NOW26
- นิยายภาษาอังกฤษ
- ตราบจนสิ้นกรรม (Until The Karma Ends)
- โจรสลัดแห่งตะรุเตา (The Pirates of Tarutao)
- พิษหอยมรณะ (The King Kong Effect)
- แม่โขง (Mekong)
- นิยายภาษาไทย
- พ่อ
- คามีเลี่ยนแมน [11]
- รัตนโกสินทร์ กำเนิดกรุงเทพ
- วิชาการ
- เกษตรนำการเมือง
- สารคดี
- ท่องไปในไทยกว้าง
- ภาพชีวิต 60 ปี ปองพล อดิเรกสาร[12] - อัตชีวประวัติ
- บันทึกการเดินทางสุดหล้าฟ้าเขียว กาลาปากอส มาดากัสการ์
- สัตว์ป่าแอฟริกา
- สุดหล้าฟ้าเขียว
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อมูลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมประชาสัมพันธ์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ “ปองพล” รับเป็นสมาชิกรวมไทยสร้างชาติ มองสเปกผู้นำ “บิ๊กตู่” ยังทำงานได้
- ↑ ""พีระพันธุ์" ยัน "ปองพล-ปรพล" ลาออก "รวมไทยสร้างชาติ" ไร้ ขัดแย้ง". ไทยรัฐ. 8 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "2 พ่อลูกอดิเรกสาร ทิ้งรวมไทยสร้างชาติ 'พีระพันธุ์' เผยเหตุ 'ปรพล' เปลี่ยนใจลงเขต". มติชน. 8 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พรุ่งนี้ "ปองพล-ปรพล" ยื่นลาออกจากสร้างอนาคตไทย หลังมีข่าวดีลพลังประชารัฐ". ไทยรัฐ. 29 มกราคม 2023. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "2 พ่อลูกตระกูล 'อดิเรกสาร' ย้ายซบประชาธิปัตย์ 'ปรพล' ขอลงชิงเขต 1 สระบุรี". มติชน. 1 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Backtalk เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Asia Week
- ↑ ปองพล อดิเรกสาร โชว์ฝีมือภาพถ่ายสัตว์ป่าซาฟารี ใน 4 ทวีป ไทยรัฐ
- ↑ "ผู้มากบารมี" ซูเปอร์ฮีโร่...นวนิยายเรื่องใหม่ล่าสุดของ ปองพล อดิเรกสาร คมชัดลึก
- ↑ แนะนำหนังสือ เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2009-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๒, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์แกลเลอรี่ภาพส่วนตัว เก็บถาวร 2011-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | ปองพล อดิเรกสาร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ศุภชัย พานิชภักดิ์ กร ทัพพะรังสี ไตรรงค์ สุวรรณคีรี บัญญัติ บรรทัดฐาน วิโรจน์ เปาอินทร์ สุทัศน์ เงินหมื่น |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 54) (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545) |
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ | ||
อาสา สารสิน | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ครม. 48) (22 เมษายน พ.ศ. 2535 - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2535) |
อาสา สารสิน | ||
เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ สาวิตต์ โพธิวิหค พิมพา จันทร์ประสงค์ กร ทัพพะรังสี ปัญจะ เกสรทอง |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 51) (18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539) |
โภคิน พลกุล ชิงชัย มงคลธรรม ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ วีระกร คำประกอบ | ||
ชูชีพ หาญสวัสดิ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม. 53) (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 11 เมษายน พ.ศ. 2543) |
ประภัตร โพธสุธน | ||
สุวิทย์ คุณกิตติ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 54) (8 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2546) |
อดิศัย โพธารามิก |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2485
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดสระบุรี
- สกุลชุณหะวัณ
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- พรรครวมไทยสร้างชาติ
- พรรคสร้างอนาคตไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองที่เป็นแนวร่วมกปปส.
- นักเขียนชาวไทย
- นักถ่ายภาพชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.