หลวงกัมปนาทแสนยากร (กำปั่น อุตระวณิชย์)
หลวงกัมปนาทแสนยากร (กำปั่น อุตระวณิชย์) | |
---|---|
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลถนอม กิตติขจร |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 1 มกราคม พ.ศ. 2501 | |
นายกรัฐมนตรี | พจน์ สารสิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มกราคม พ.ศ. 2442 |
เสียชีวิต | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 (76 ปี) |
คู่สมรส | ชุ่ม กัมปนาทแสนยากร |
หลวงกัมปนาทแสนยากร | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกไทย กรมตำรวจ |
ประจำการ | 2466 - 2503 |
ชั้นยศ | พลเอก พลตำรวจตรี |
พลเอก หลวงกัมปนาทแสนยากร (กำปั่น อุตระวณิชย์) (11 มกราคม พ.ศ. 2442 - 11 สิงหาคม 2518) เป็นอดีตองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9 และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน และในรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร
ประวัติ
[แก้]หลวงกัมปนาทแสนยากร ชื่อเดิม กำปั่น อุตระวณิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2442 ที่อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี (ในขณะนั้น) เป็นบุตรของนายโต กับนางเชย อุตระวณิชย์
หลวงกัมปนาทแสนยากร เข้าศึกษาโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2458
หลวงกัมปนาทแสนยากร สมรสกับนางชุ่ม (สกุลเดิม เกษสมัย) มีบุตร 6 คน คือ
- พล.ต.ท. บันเทิง กัมปนาทแสนยากร
- ศาสตราจารย์เรือเอก ดร. นพ.ไชยยันตร์ กัมปนาทแสนยากร
- พ.อ. ประชุม กัมปนาทแสนยากร
- คุณหญิง สมศรี กันธมาลา
- นางสมทรง มุตตามระ
- นายบันลือ กัมปนาทแสนยากร
นอกจากนั้นหลวงกัมปนาทแสนยากร ยังมีบุตรที่เกิดจากภริยาคนอื่นอีก จำนวน 8 คน
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพและเครื่องเกียรติยศประกอบศพ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2518 พระราชทานโกศไม้สิบสองประกอบศพ ฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวดตั้งประดับ แตรงอน แตรฝรั่ง กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมกำหนด 7 คืน และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2518
การทำงาน
[แก้]หลวงกัมปนาทแสนยากร เข้ารับราชการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ในตำแหน่งนายร้อยตรีประจำกรมทหารราบที่ 6 เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 4 ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปี พ.ศ. 2491 จนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 จึงได้พ้นจากตำแหน่งและไปสำรองราชการกองทัพบก โดยมี พันเอก ขุนเสนาทิพ รองผู้บัญชาการโรงเรียนร้อยพระจุลจอมเกล้ารับตำแหน่งแทน[1]และเคยเป็นผู้ว่าราชการภาค 5 [2]
หลวงกัมปนาทแสนยากร เคยเป็นราชองครักษ์เวร ในปี พ.ศ. 2482 และเป็นราชองครักษ์พิเศษ ในปี พ.ศ. 2495
ในระหว่างรับราชการทหาร เคยเข้าร่วมในราชการสนามกรณีสงครามมหาเอเชียบูรพา ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2488
กระทั่งวันที่ 15 สิงหาคม 2491 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ท่านกลับคืนมามีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงกัมปนาทแสนยากร[3] ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2496 หลวงกัมปนาทแสนยากรซึ่งขณะนั้นสำรองราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม[4] ได้โอนย้ายมารับราชการที่กระทรวงมหาดไทย[5] เป็นข้าราชการตำรวจพร้อมกับรับพระราชทานยศ"พลตำรวจตรี"เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2496 [6]
งานการเมือง
[แก้]หลวงกัมปนาทแสนยากร ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[7] และปี พ.ศ. 2495 ต่อมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน ในปี พ.ศ. 2500[8][9] จนกระทั่งมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จึงมีรัฐบาลใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน ภายใต้การนำของพล.ท. ถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) ซึ่งหลวงกัมปนาทแสนยากร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกสมัย
องคมนตรี
[แก้]หลวงกัมปนาทแสนยากร ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในปี พ.ศ. 2503[10] จนถึงปี พ.ศ. 2517
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[14]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[15]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[16]
- พ.ศ. 2499 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[17]
- พ.ศ. 2482 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[18]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[19]
- พ.ศ. 2509 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[20]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[21]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการภาค
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกลับคืนมีบรรดาศักดิ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารพ้นจากตำแหน่งหน้าที่
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 27 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-07-09.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง คณะองคมนตรี (จำนวน ๙ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๙๔, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๖๙๔, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๖๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๙๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๓๖, ๕ ตุลาคม ๒๔๘๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๑๖๒๔, ๑๒ เมษายน ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๑๘๐๑, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2442
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2518
- ตำรวจชาวไทย
- บรรดาศักดิ์ชั้นหลวง
- นักการเมืองไทย
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 9
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบแต่งตั้ง
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ราชองครักษ์พิเศษ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1