นที ขลิบทอง
รองศาสตราจารย์ นที ขลิบทอง ป.ช., ป.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | |
นายกรัฐมนตรี | พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร |
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2563 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2501 กรุงเทพ |
พรรค | ชาติไทย |
ศาสนา | พุทธ |
รองศาสตราจารย์ นที ขลิบทอง อดีตผู้อำนวยการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) เป็นนักการเมืองคนสนิทของนายเนวิน ชิดชอบ[1]
ประวัติ[แก้]
นที ขลิบทอง เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2501 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายประเสริฐ กับนางวิไล ขลิบทอง สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีสาขาศึกษาศาสตร์ (การเกษตร) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2524 นอกจากนั้นแล้วยังผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2546
การทำงาน[แก้]
หลังจากจบการศึกษาทางด้านการเกษตร ได้เข้าทำงานเป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรอยู่ระยะหนึ่ง จึงได้โอนย้ายมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2525 ต่อมาจึงได้โอนมาสังกัดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในปีเดียวกัน จนกระทั่งได้รับตำแหน่งรองอธิการบดี ในระหว่างปี พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2543 และมีตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ ระดับ 9
ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ในปีต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2544 (รัฐบาลของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2544 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2540 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ย้อนรอย "ตระกูลยี้" ฮุบที่หลวง-โกงแผ่นดิน!? (1)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๘๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
แหล่งข้อมูล[แก้]
- จากเว็บไซต์ nia.or.th เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์
- รองศาสตราจารย์
- นักการเมืองไทย
- พรรคชาติไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- บุคคลจากสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.