อาคม เอ่งฉ้วน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาคม เอ่งฉ้วน
อาคม ใน พ.ศ. 2554
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 มกราคม พ.ศ. 2494
อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
เสียชีวิต1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (69 ปี)
อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสนางปราณี เอ่งฉ้วน

อาคม เอ่งฉ้วน (5 มกราคม พ.ศ. 2494 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และอดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกระบี่ 9 สมัย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 1 สมัย[1]

นายอาคมเป็นบุคคลที่มีรูปร่างอ้วนใหญ่ จึงได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า ตูมตาม[2] มีบทบาทตรวจสอบรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผ่านสภาผู้แทนราษฎร โดยเป็นผู้อภิปรายเรื่อง การทุจริตจัดซื้อเครื่องฉายดาว

ประวัติ[แก้]

อาคม เกิดวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2494[3] ที่ตำบลกระบี่ใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นบุตรของ นายต่วน กับนางปรีญา เอ่งฉ้วน

นายอาคม เอ่งฉ้วน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางเขน เมื่อ พ.ศ. 2519 และปริญญาโทสาขารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

การทำงาน[แก้]

อาคม เอ่งฉ้วน เข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกระบี่ สมัยแรกในปี พ.ศ. 2526 จากนั้นก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2529 ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2531 เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2532 เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ปี พ.ศ. 2535[4]

จากนั้นในปี พ.ศ. 2540 จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2540 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2542

ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง รัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ นายอาคม เอ่งฉ้วน ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เงา[5] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[6] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 นายอาคม ลงสมัครรับเลือก ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 150 ซึ่งเป็นลำดับสุดท้าย โดยเจ้าตัวให้เหตุผลว่าไม่ประสงค์ที่จะเป็น ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องจากตัวเองมีปัญหาเรื่องสุขภาพ เพียงแต่ตนเองต้องการขึ้นเวทีหาเสียให้ลูกชายให้ถูกต้องตามกฎหมายการเลือกตั้งเท่านั้น [7]

การเสียชีวิต[แก้]

นายอาคมเสียชีวิตด้วยโรคไตเมื่อช่วงเที่ยงของวันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ที่ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ รวมอายุ 69 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เศร้า!สิ้นนักการเมืองฝีปากกล้า 'อาคม เอ่งฉ้วน' อดีตส.ส.หลายสมัย พรรคปชป.
  2. ปิดตำนาน “ตูมตาม” ส.ส.อาคม เอ่งฉ้วน กุนซือฝีปากกล้าเสียชีวิตด้วยโรครุมเร้า
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  4. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑๖/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (๑ นายอาคม เอ่งฉ้วน ๒ นายพงศธร สิริโยธิน ๓ นายเรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์ ๔ นางเตือนใจ นุอุปละ)
  5. "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  7. อาคม เอ่งฉ้วน ระบุบบัญชีรายชื่ออันดับ 150 ยอมรับได้ ไม่ใช่ปัญหา ไม่น้อยใจ
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2021-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖