ภูมิ สาระผล
ภูมิ สาระผล ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม 2554 – 28 ตุลาคม 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | อลงกรณ์ พลบุตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 (65 ปี) จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | นางอรอนงค์ สาระผล |
ภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคเพื่อไทย ปัจจุบันกำลังถูกจำคุกเนื่องจากคดีจำนำข้าว
ประวัติ[แก้]
ภูมิ สาระผล เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ที่จังหวัดขอนแก่น เป็นบุตรของนายคำดี กับนางไสว สาระผล จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ปริญญาตรีนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ และประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[1]
ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับครูอรอนงค์ สาระผล (สกุลเดิม วงศ์ก่อ) อาจารย์ประจำวิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวภณิดา สาระผล และนายภพพล สาระผล[2]
การทำงาน[แก้]
ภูมิ สาระผล ประกอบอาชีพเป็นทนายความ ก่อนจะเข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[3]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น เขต 2 สังกัดพรรคเพื่อไทย ต่อมาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[4] แต่จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จัก เป็นลำดับที่ 4[5] จนกระทั่งเขาถูกปรับออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา
การทุจริตจำนำข้าว[แก้]
ผลจากการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทำให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติเป็นเอกฉันท์ชี้มูลความผิดเขา พร้อมกับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ กับพวกรวม 21 ราย เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2558 กรณีการทุจริตต่อหน้าที่ในการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ในโครงการรับจำนำข้าว[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2546 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2538 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.กรมการปกครอง
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรี
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 323/2545 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
- ↑ เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม
- ↑ มติปปช.เอกฉันท์ฟันบุญทรงร่วมกับพวกทุจริต
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖) เล่ม 120 ตอนที่ 19ข วันที่ 1 ธันวาคม 2546
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/B/017V001/1_1.PDF
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บุคคลจากจังหวัดขอนแก่น
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
- พรรคประชากรไทย
- พรรคพลังธรรม
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- นักโทษของประเทศไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.