ข้ามไปเนื้อหา

เฉลิม อยู่บำรุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฉลิม อยู่บำรุง
เฉลิม ใน พ.ศ. 2563
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 186 วัน)
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
(1 ปี 325 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(0 ปี 311 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าเผดิมชัย สะสมทรัพย์
ถัดไปสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 86 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ถัดไปวิทยา แก้วภราดัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 178 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าสุรยุทธ์ จุลานนท์
ถัดไปโกวิท วัฒนะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(1 ปี 134 วัน)
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าไสว พัฒโน
ถัดไปสุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
(1 ปี 105 วัน)
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าพล เริงประเสริฐวิทย์
ถัดไปประสงค์ บูรณ์พงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(1 ปี 344 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
(0 ปี 17 วัน)
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
หัวหน้าพรรคมวลชน
ดำรงตำแหน่ง
20 ตุลาคม พ.ศ. 2529 – 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
(7 ปี 23 วัน)
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2541
(3 ปี 13 วัน)
ดำรงตำแหน่ง
18 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
(0 ปี 4 วัน)
เลขาธิการพรรคกิจสังคม
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม พ.ศ. 2536 – 27 ธันวาคม พ.ศ. 2537
(1 ปี 75 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 (77 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ประชาธิปัตย์ (2526–2529)
มวลชน (2529–2536, 2538–2541,2545–2548)
กิจสังคม (2536–2538)
ความหวังใหม่ (2541–2545)
ไทยรักไทย (2548–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
คู่สมรสลำเนา อยู่บำรุง (สมรส 2512)[1]
บุตรอาจหาญ อยู่บำรุง
วัน อยู่บำรุง
ดวง อยู่บำรุง
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[2]
มหาวิทยาลัยรามคำแหง (Ph.D.)[3]
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ยศ ร้อยตำรวจเอก

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง (เกิด 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490) เป็นข้าราชการตำรวจและนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคเพื่อไทย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครหลายสมัย รวมทั้งเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคมวลชน ทั้งยังเป็นผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557[4]

ประวัติ

[แก้]

ร้อยตำรวจเอก ดร. เฉลิม อยู่บำรุง เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 บิดาชื่อ ร้อยตำรวจตรี แฉล้ม อยู่บำรุง มารดาชื่อนางลั้ง อยู่บำรุง จบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง [5] [6] ก่อนเข้ารับราชการตำรวจที่มีตำแหน่งเป็นสารวัตรกองปราบปราม นั้นได้เคยเป็นทหารยศสิบโทมาก่อน ได้ขอโอนย้ายตัวเองเข้าสังกัดตำรวจ ในการทำงานการเมืองเคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และขณะที่กำกับดูแลหน่วยงานแห่งนี้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม มีชื่อเรียกสั้น ๆ จากสื่อมวลชนว่า "เหลิม" หรือ "เหลิมดาวเทียม" เนื่องจากเป็นที่รับรู้กันดีในแวดวงสื่อมวลชนถึงการควบคุมการนำเสนอข่าวด้วยตนเอง ซึ่งในบางครั้งถึงกับเข้าไปสั่งการในห้องตัดต่อเอง จนคนในช่อง 9 เรียกว่า "บรรณาธิการเฉลิม"[7]

สมรสกับลำเนา อยู่บำรุง ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชน มีบุตรด้วยกันทั้งสิ้น 3 คน เป็นชายล้วนคือ ร้อยตำรวจตรี อาจหาญ อยู่บำรุง[8], ร้อยตำรวจตรี วัน อยู่บำรุง และ พันตำรวจตรี ดวง อยู่บำรุง[9] ลูกชายทั้งสามก็ถูกเรียกกันทั่วไปว่า "ลูกเหลิม" มีน้องชายที่เล่นการเมืองท้องถิ่น เป็น ส.ก.หลายสมัยคือ นวรัตน์ อยู่บำรุง ส.ก.เขตหนองแขม และน้องชายที่เป็นตำรวจ พ.ต.ท.จารึก อยู่บำรุง (เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557)

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เป็นที่รู้จักในฐานะนักการเมือง หลายครั้งมีการใช้คำพูดที่ฟังดูรุนแรง ซึ่งร้อยตำรวจเอก เฉลิม เคยกล่าวถึงตัวเองไว้ว่า "ไปทะเลเจอฉลาม มาสภาเจอเฉลิม"[10]

ร้อยตำรวจเอกเฉลิม เคยขึ้นเวทีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ที่สนามทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุดรธานี[11]

บทบาททางการเมืองในช่วงแรก

[แก้]

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม มีบทบาททางการเมืองครั้งแรกในฐานะผู้ร่วมการพยายามก่อรัฐประหารรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2524 และหลังการทำรัฐประหารไม่สำเร็จ จึงตกเป็นผู้ต้องหามีคำสั่งย้ายเข้ากรมตำรวจในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2524 และพลตำรวจเอกมนต์ชัย พันธุ์คงชื่น อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้นได้ลงนามในคำสั่งที่ 500/2524 ไล่ออกจากราชการตำรวจในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2524[12]และตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ต่อมาจึงได้รับการนิรโทษกรรม[ต้องการอ้างอิง]

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เริ่มต้นชีวิตทางการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในปี 2526 ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้ก่อตั้ง พรรคมวลชน และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค โดยมีฐานเสียงสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะเขตภาษีเจริญและเขตบางบอน

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุนหะวัณ[13] มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) ต่อมาปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[14]

ภายหลังการรัฐประหารดังกล่าว ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เป็นหนึ่งในนักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ และถูกยึดทรัพย์จำนวน 32 ล้านบาท และต้องขอลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ โดยเดินทางไปพำนักอยู่ที่ประเทศสวีเดนและประเทศเดนมาร์ก

ต่อมาเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย เขาได้กลับเข้าประเทศไทย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[15] ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ตัดสินใจยุบพรรคมวลชนรวมเข้ากับ พรรคความหวังใหม่ ของ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

คดีความของลูกชาย

[แก้]

ร้อยตำรวจเอก ดร. เฉลิม กลับมาเป็นข่าวคราวอีกครั้ง เมื่อลูกชายทั้ง 3 คน คือ ร้อยตำรวจตรีอาจหาญ อยู่บำรุง ร้อยตำรวจตรีวัน อยู่บำรุง และว่าที่ พันตำรวจโทดวง อยู่บำรุง ตกเป็นข่าวผ่านสื่อมวลชนว่ามีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อเหตุวิวาททำร้ายร่างกายหลายครั้ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่ นายดวงเฉลิม ลูกคนเล็กตกเป็นผู้ต้องหาสังหาร ดาบตำรวจ สุวิชัย รอดวิมุติ หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ดาบยิ้ม" ในผับกลางโรมแรม ย่านถนนรัชดาภิเษก เมื่อปลายปี พ.ศ. 2544[ต้องการอ้างอิง] โดยหลบหนีไปหลังเกิดเหตุ และมอบตัวหลังจากนั้นกว่าครึ่งปีเขาถูกถอดยศทหารในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ภายหลังจากนั้นนายสมัคร สุนทรเวช ได้คืนยศทางทหารให้

ต่อมาคดีนายดวงเฉลิม มีคำตัดสินของศาลอาญาชั้นต้นให้ยกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า นายดวงเฉลิมเป็นผู้สังหารดาบยิ้ม ศาลอาญาชั้นต้นจึงมีคำพิพากษายกฟ้อง และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าผู้สังหารดาบยิ้มเป็นใคร

ในปลายปีพ.ศ. 2554 สื่อมวลชนรายงานว่านายวัน อยู่บำรุงได้แสดงเจตนาข่มขู่อาฆาตมาดร้ายนายวัชระ เพชรทองระหว่างที่กำลังลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนจากเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554[16]

เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

[แก้]

ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้ลงรับสมัคร ของ พรรคมวลชน โดยได้คะแนนมากเป็นลำดับที่ 4 โดยได้คะแนนเสียงในเขตบางบอนเป็นลำดับที่ 1

ร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน

[แก้]

บทบาทในช่วงเลือกตั้ง 2550

[แก้]

ร้อยตำรวจเอก เฉลิมตัดสินใจเข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน หลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 และในช่วงปลายปี พ.ศ. 2550 จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิมลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วน ลำดับที่ 2 กลุ่มจังหวัดที่ 6 (กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และ สมุทรปราการ) และได้รับเลือก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

[แก้]

ภายหลังจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกเป็นเสียงข้างมากในสภาถึง 233 ที่นั่ง ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ สมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยในการจัดคณะรัฐมนตรีนายสมัครได้ให้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[17] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมกล่าวว่าเป็นตำแหน่งที่ตนต้องการที่จะดำรงตำแหน่งมากที่สุดด้วย[ต้องการอ้างอิง]

แต่ต่อมาในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นายสมัครได้ตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี โดยในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายสมัครได้ให้ พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ดำรงตำแหน่งแทน ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง[18]

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

[แก้]

ต่อมานายสมัครได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่อีกครั้ง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยในการจัดคณะรัฐมนตรีนายสมชายได้เลือกให้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[19]

แต่ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน,พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค จึงส่งผลให้นายสมชายพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย

รองนายกรัฐมนตรี

[แก้]

ร.ต.อ.เฉลิม ได้ตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีกำกับ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และได้ตำแหน่งรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีอันดับที่ 1 ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 หรือรองนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 1 ภายหลังนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ลาออกจากตำแหน่งดังกล่างเนื่องจากมีการชี้มูลความผิดเรื่องที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพล์โดยคณะกรรมการปราบปรามทุจริตแห่งชาติ[20]

จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนพึงพอใจ เป็นลำดับที่ 2[21] รองจากนายกรัฐมนตรี

ร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย

[แก้]

ภายหลังจากมีการยุบพรรคพลังประชาชน ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้คณะผู้บริหารพรรคพิจารณาแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อควบคุมการทำงานในสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในพรรคต่อไป โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม กล่าวว่าพรรคได้มอบหมายให้ทำหน้าที่ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำหน้าที่หัวหน้าพรรคในสภาผู้แทนราษฎร[22]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 6[23]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 6[24] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ประธาน ส.ส.

[แก้]

ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นผู้นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นผู้ขึ้นเปิดอภิปรายเป็นคนแรก โดยอภิปรายไม่ไว้วางใจอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในกรณีการปกปิด ซ่อนเร้น ไม่เปิดเผยการรับเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ในการรายงานงบดุลต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเส้นทางของเงินดังกล่าวเป็นเงินที่รับจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) แล้วทำนิติกรรมอำพรางผ่านบริษัท เมซไซอะ ซึ่งถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง[25]

เฉลิม อยู่บำรุง ทำหน้าที่รักษาการเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กระทั่งพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 เนื่องจากลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[26]

ปลายปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ให้ฉายา ร้อยตำรวจเอก เฉลิมว่า "ดาวดับ" อันเนื่องจากวาทะที่แก้ตัวให้กับการกระทำที่ส่อทุจริตของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ว่า "พันตำรวจโท ทักษิณ ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่ทำในสิ่งที่กฎหมายห้าม" ซึ่งได้กลายเป็นวาทะประจำปีด้วย[27]

ต่อมาต้นปี พ.ศ. 2553 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ได้มีวิวาทะกับสมาชิกพรรคเพื่อไทยด้วยกันเอง ถึงขนาดตำหนิออกมาต่อหน้าสื่อมวลชนหลายต่อหลายครั้ง อันเนื่องจากเรื่องการที่จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่เห็นแตกต่างกันและมีความเห็นเกี่ยวกับทิศทางการบริหารจัดการพรรคที่แตกต่างกัน[28][29][30]

ซึ่งในปีถัดมา ความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวนี้ก็ได้เกิดขึ้นอีก จนกระทั่งในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ได้ขอลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคอย่างเป็นทางการ โดยมีกระแสข่าวถึงความไม่พอใจในสมาชิกพรรคบางคนตำหนิบทบาทการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของตัวเอง[31]

อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งครั้งถัดมา ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 3 พรรคเพื่อไทย รวมถึงได้ส่งบุตรชายลงสมัครรับเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

รองนายกรัฐมนตรี

[แก้]

ในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และบุตรชายได้รับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[32]ในระหว่างดำรงตำแหน่งเลขายืนยันว่าในกลุ่มนปช.ไม่มีชายชุดดำและรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไม่มีสิทธิสลายการชชุมนุมกลุ่ม นปช. เขาเคยประกาศก่อนหน้าดำรงตำแหน่งว่าจะปลดนายธาริต เพ็งดิษฐ์ จากตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ แต่ก็ไม่มีการปลดแต่อย่างใด[33]

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

[แก้]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ถูกปรับให้ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน[34] โดยมีการถวายสัตย์ปฏิญาณตนในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 และถ่ายภาพหมู่คณะรัฐมนตรีที่ได้รับโปรดเกล้าฯ บริเวณหน้าตึกไทยคู่ฟ้า แต่ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ไม่ได้เข้าร่วมถ่ายภาพในครั้งนั้นด้วย รวมทั้งไม่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยอ้างเหตุผลว่าขอลากิจเพื่อไปตรวจสุขภาพ แต่เป็นที่รับทราบโดยทั่วไปว่าเป็นการประท้วงที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ตำแหน่งนี้กับเขา[35]และปลดจากรองนายกรัฐมนตรี

เขาดำรงตำแหน่งผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 นับเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนแรกของประเทศไทย ที่ดำรงตำแหน่ง ผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ไม่ได้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็น กรรมการในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน[36]

วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม[37]

ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

[แก้]
  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 กรุงเทพมหานคร สังกัด พรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 กรุงเทพมหานคร สังกัด พรรคมวลชน
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 กรุงเทพมหานคร สังกัด พรรคมวลชน
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 กรุงเทพมหานคร สังกัด พรรคมวลชนพรรคกิจสังคม
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานคร สังกัด พรรคมวลชน
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 กรุงเทพมหานคร สังกัด พรรคมวลชนพรรคความหวังใหม่
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคความหวังใหม่พรรคมวลชน
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน สังกัด พรรคพลังประชาชนพรรคเพื่อไทย
  9. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคเพื่อไทย
  10. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคเพื่อไทย

สุขภาพ

[แก้]

5 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ร.ต.อ.เฉลิม เข้ารับการผ่าตัดอาการสมองบวม เนื่องจากเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง

หลังจากนั้นก็มีกระแสข่าวลือสะพัดว่า ร.ต.อ.เฉลิมได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยอาการสมองบวม แต่ที่จริง การผ่าตัดรักษาอาการป่วยของ ร.ต.อ.เฉลิม สำเร็จด้วยดี จนกระทั่ง ร.ต.อ.เฉลิม สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ในเวลา 14.00 น. ของวันที่ 10 ตุลาคม[38] และจากการตรวจสอบข้อมูล ยังพบอีกว่า ร.ต.อ.เฉลิมพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ไม่ใช่ โรงพยาบาลพระมงกุฏฯ

ร.ต.อ.เฉลิม พร้อมกับลูกชายคนเล็ก ร.ต.อ.ดวง ได้ออกมาจากโรงพยาบาลพร้อมกัน ด้วยสีหน้าท่าทางยิ้มแยมแจ่มใส ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน "ผมมีเลือดไหลในสมอง 2 ข้าง แต่เลือดไม่ไหลเข้าไปในสมองส่วนที่สำคัญ หมอจึงใช้เครื่องมือเจาะเอาเลือดออก ใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น"[39] ต่อมาเขาเกิดอาการช็อกในขณะประชุมร่วมกับคณะทำงานฯ ในวันที่ 21 ตุลาคมของปีเดียว จนต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลรามาธิบดี[40]

ต่อมาวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลาประมาณ 13.45 นาฬิกา ร.ต.อ.เฉลิม เกิดอาการทรุดลงหลังกลับมาทำงานที่กระทรวงแรงงานได้ 1 สัปดาห์ จากการผ่าตัดอาการเลือดออกใต้เหยื่อหุ้มสมองในระหว่างหารือกับ พลตำรวจเอก พงศพัศ พงศ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถึงการจัดประชุมแนวทางป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ที่ห้องทำงานชั้น 6 โดยมีอาการตัวเกร็ง พร้อมนั่งนิ่งไป จนเกือบฟุบลงจากเก้าอี้ ส่งผลให้ทีมงานต้องตัดสินใจ นำตัวร.ต.อ.เฉลิม ส่งโรงพยาบาลรามาธิบดี ทั้งที่ยังนั่งอยู่บนเก้าอี้[41]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 'ไม่มีนอกลู่ 100,000 ล้านเปอร์เซ็นต์..' เปิดใจที่แรก ภรรยารัก 'ลำเนา อยู่บำรุง'
  2. ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  3. นักการเมือง อดีตรองนายกรัฐมนตรี
  4. "ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-25. สืบค้นเมื่อ 2018-07-06.
  5. ชีวประวัติ เฉลิม อยู่บำรุง
  6. "เปิดโปง! "เป็ดเหลิม" ซื้อปริญญา-สมรู้ร่วมคิดอธิการฯ เด้ง ผอ.โครงการเพราะไม่ให้จบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-07. สืบค้นเมื่อ 2017-11-29.
  7. บทสุดท้ายทีวีเสรี. เทพชัย หย่อง. พ.ศ. 2544
  8. หนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม115 ตอนที่10ข หน้า161
  9. ล้วงประวัติเก่า!!! ดวง อยู่บำรุง หลังได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพ.ต.ต
  10. 2554 คอลัมน์: คันปากอยากเล่า: แก่รึยัง?. ไทยโพสต์. เข้าถึงได้จาก : Link. เรียกข้อมูลวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554.
  11. 24 พ.ค.2556 "ทวงคนดีคืนถิ่น เอาทักษิณกลับบ้าน"
  12. อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ได้ลงนามในคำสั่งที่ 500/2524 ไล่ออกจากราชการตำรวจในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2524
  13. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  14. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายมารุต บุนนาค ได้ลาออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง นายประจวบ ไชยสาส์น นายเจริญ คันธวงศ์ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายเอนก ทับสุวรรณ)
  15. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  16. "นายวัน อยู่บำรุงได้แสดงเจตนาข่มขู่อาฆาตมาดร้ายนายวัชระ เพชรทอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-24. สืบค้นเมื่อ 2012-11-27.
  17. "โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ครม.ภายใต้การนำของ "สมัคร สุนทรเวช"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-24. สืบค้นเมื่อ 2009-05-09.
  18. โปรดเกล้าฯ ครม.สมัคร 1/4 "โกวิท"นั่ง มท.1 ควบรองนายกฯ
  19. "โปรดเกล้า ครม.สมชาย1แล้ว จิ๋ว-เฉลิมมาแว้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2009-05-09.
  20. "อัลไพล์โดยคณะกรรมการปราบปรามทุจริตแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-05. สืบค้นเมื่อ 2012-10-26.
  21. "เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
  22. พรรคเพื่อไทยตั้ง เฉลิม อยู่บำรุง เป็นประธาน สส.
  23. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  24. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  25. ""เฉลิม"โชว์หลักฐาน"เมซไซอะ"อัด "มาร์ค-ประดิษฐ์" แฉเช็ค27ฉบับจ่าย23ล้าน บริจาคเข้าปชป. ผิดถึงยุบพรรค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-24. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
  26. "ด่วน เฉลิมลาออกส.ส.เพื่อไทย ไม่พอใจจาตุรนต์ จุ้น ซักฟอก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2018-05-24.
  27. สื่อมวลชนประจำรัฐสภา ตั้งฉายาสภาผู้แทนราษฎร ปี 52 “ถ่อย-เถื่อน-ถีบ” ส่วนวุฒิสภา เป็น “ตะแกรงก้นรั่ว” ด้าน"ชัย ชิดชอบ " ถูกยกให้เป็น “ตลกเฒ่าร้อยเล่ห์” ขณะที่ "เฉลิม" กลายเป็น "ดาวดับ"
  28. คลิปรายการเจาะข่าวร้อน ล่วงข่าวลึก เฉลิมฮึดสู้ชะตากรรม "ทักษิณ" จะพิฆาตเกื้อหนุน!!!
  29. เฉลิมฟิวส์ขาด ฉะสุดารัตน์ เพื่อไทยร้าวหนัก
  30. ""เฉลิม " ก้าบ!! แฉ "โปลิตบูโร" ชั้น 33 ตึกชินฯ ต้นตอขัดแย้งเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-30. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02.
  31. 'เฉลิม'ยื่นลาออกจากส.ส.เพื่อไทยแล้ว
  32. การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  33. "ประกาศก่อนหน้าดำรงตำแหน่งว่าจะปลดนายธาริต เพ็งดิษฐ์ จากตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ แต่ก็ไม่มีการปลดแต่อย่างใด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-02. สืบค้นเมื่อ 2016-09-22.
  34. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
  35. 'เฉลิม'ปิดปากเงียบ หลังถูกเขี่ยพ้นรองนายกฯ
  36. พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
  37. เปิดรายชื่อ รมต. ตกเก้าอี้พร้อมยิ่งลักษณ์ ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์
  38. ร.ต.อ.เฉลิม สยบข่าว! ยังไม่ตาย ยิ้มออกจากโรงพยาบาล
  39. ลือแรง! ร.ต.อ.เฉลิม สมองบวมเสียชีวิตแล้ว แชร์สะพัด
  40. "เฉลิม อยู่บำรุง" ช็อกคาที่ประชุม-หามส่งโรงพยาบาลรามาฯ ด่วน!
  41. "เฉลิม อาการทรุด ถูกหามส่งโรงพยาบาลทั้งเก้าอี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-01. สืบค้นเมื่อ 2013-10-21.
  42. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  43. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  44. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๗๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]
ก่อนหน้า เฉลิม อยู่บำรุง ถัดไป
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
รองนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายความมั่นคง

(27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556)
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก
เผดิมชัย สะสมทรัพย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครม. 60)
(30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ครม. 58)
(24 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
วิทยา แก้วภราดัย
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม. 57)
(6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551)
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ
ไสว พัฒโน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
สุทัศน์ เงินหมื่น
พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533)
ประสงค์ บูรณ์พงศ์
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(12 มกราคม พ.ศ. 2552 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2554)
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ