สมพร บุณยคุปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมพร บุณยคุปต์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 พฤษภาคม พ.ศ. 2465
อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
เสียชีวิต30 เมษายน พ.ศ. 2532[1] (66 ปี)
คู่สมรสท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์

สมพร บุณยคุปต์ เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 1 สมัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 1 สมัย ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นอดีตรักษาการปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงานคนแรก (ระยะเริ่มก่อตั้งกระทรวง)

ประวัติ[แก้]

สมพร รับราชการในสังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เคยเป็นผู้อำนวยการกองแผนงาน กรมทางหลวง กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2503 - 2506[2]

สมพร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[3] ซึ่งเขาได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ขึ้น โดยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประกาศคณะปฏิวัติ และได้รับความเห็นชอบจาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประกาศใช้ใน ราชกิจจานุเบกษา มีผลตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2522[4] และนายสมพร ได้ปฏิบัติหน้าที่รักษาการปลัดกระทรวงคนแรกของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน[5]

สมพร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม.41)[6]

สมพร เป็นผู้บริจาคที่ดินและเงินในการก่อสร้างโรงพยาบาลวิชัยยุทธ เมื่อปี พ.ศ. 2518[7][8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายสมพร บุณยคุปต์ ณเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2532
  2. http://planning.doh.go.th/about/director
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  4. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๖ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๒๒
  5. ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในอดีต
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-04-03.
  7. https://page.line.me/vxi2476l/text/77911634890044
  8. "ประวัติโรงพยาบาลวิชัยยุทธ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-03.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๙๗, ๑ มีนาคม ๒๔๗๘
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๑๖, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙