พิพัฒน์ รัชกิจประการ
พิพัฒน์ รัชกิจประการ ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2498 อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา |
พรรค | ภูมิใจไทย |
คู่สมรส | นาที รัชกิจประการ |
พิพัฒน์ รัชกิจประการ (เกิด 5 สิงหาคม พ.ศ. 2498 - ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย[1] และเป็นนักธุรกิจในกิจการพีทีจี เอ็นเนอยี
ประวัติ[แก้]
พิพัฒน์ รัชกิจประการ เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2498 ที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาเป็นบุตรของนายสุทัศน์ และนางกุยเฮียง รัชกิจประการ และเป็นพี่ชายของนายพิบูลย์ รัชกิจประการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล สังกัดพรรคภูมิใจไทย สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนแสงทองวิทยา จังหวัดสงขลา ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[2] สมรสกับนางนาที รัชกิจประการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย
การทำงาน[แก้]
พิพัฒน์ สืบทอดธุรกิจกลุ่มเรือประมงในเขตน่านน้ำอันดามันของครอบครัว ต่อมาได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในชื่อ พีทีจี เอ็นเนอยี[2]
พิพัฒน์ เริ่มต้นงานการเมืองโดยการชักชวนของ วัฒนา อัศวเหม เมื่อครั้งก่อตั้งพรรคมหาชน เมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อสร้างฐานการเมืองในพื้นที่ภาคใต้[3] และเป็นกรรมการบริหารพรรค[4]
ในปี พ.ศ. 2562 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคภูมิใจไทยได้เข้าร่วมรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพรรคพลังประชารัฐ โดยเขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา[5] เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ในปี 2564 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย[6] และเป็นคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2564 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ไอเดีย “พิพัฒน์ รัชกิจประการ” จากเจ้าพ่อธุรกิจฝั่งอันดามัน สู่แม่ทัพใหม่ “กีฬา-ท่องเที่ยว”
- ↑ 2.0 2.1 ประวัติรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ ตัวจริง รัฐมนตรี "โกเกี๊ยะ" เริ่มต้นที่ "อัศวเหม"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๑ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๒) และคณะกรรมการบริหารพรรคราษฎร, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๑๐๕, ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๒
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งรัฐมนตรี". ราชกิจจานุเบกษา. 10 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ มติ ภท.แต่งตั้ง “พิพัฒน์”นั่งรองหัวหน้าพรรค
- ↑ “พิพัฒน์” ผงาดนั่งรองหัวหน้า ภท.หลังที่ประชุมเคาะ พร้อมเลือก 11 คกก.สรรหาผู้สมัครเลือกตั้ง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
ก่อนหน้า | พิพัฒน์ รัชกิจประการ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (ครม.62) (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน) |
![]() |
อยู่ในวาระ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเทพา
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาไทย
- พรรคมหาชน
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนแสงทองวิทยา
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.