เชิดชัย ตันติศิรินทร์
เชิดชัย ตันติศิรินทร์ | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 กันยายน พ.ศ. 2493 |
พรรคการเมือง | พรรคไทยรักษาชาติ |
คู่สมรส | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรรณวดี ตันติศิรินทร์ |
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เชิดชัย ตันติศิรินทร์ นักการเมืองไทย แพทย์ชาวไทย และ พิธีกร สมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตกรรมการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ประวัติ[แก้]
เชิดชัย ตันติศิรินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2493 ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นน้องชายแท้ ๆ ของ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร เพียงแต่ใช้คนละนามสกุล[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับปริญญาโท แพทย์ศาสตรบัณฑิต (พบ.) สาขาแพทย์ศาสตร์ และประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาศัลยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต (นบ.) สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง นายแพทย์ เชิดชัย ตันติศิรินทร์ สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรรณวดี ตันติศิรินทร์ ซึ่งเป็นอาจารย์พยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ อดีตแกนนำคนเสื้อแดง จังหวัดขอนแก่น[2][3][4][5]
ในขณะที่เขาอยู่ระหว่างการศึกษา เคยได้เข้าร่วมกิจกรรมและได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่กรรมการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2516
การทำงาน[แก้]
เชิดชัย ตันติศิรินทร์ รับราชการเป็นแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการกลาง และเป็นแกนนำภาคอีสาน[7]
ในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในนามพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 50 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 43[8]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 17 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2544 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2543 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 06 10 58
- ↑ http://gsmis.gs.kku.ac.th/advisor/details/1564
- ↑ https://www.isranews.org/investigative/investigate-asset/37696-peace-ty_888.html
- ↑ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรรณวดี ตันติศิรินทร์ ให้สัมภาษณ์กับรายการนับถอยหลังเลือกตั้ง62 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561
- ↑ https://www.matichon.co.th/region/news_173684
- ↑ ประวัติการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือด และทรวงอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ↑ http://www.youtube.com/watch?v=vfI7HZT6mvU&feature=player_embedded#at=90
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๐๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2493
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- แพทย์ชาวไทย
- อาจารย์คณะแพทยศาสตร์
- รองศาสตราจารย์
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคเพื่อไทย
- พรรคไทยรักษาชาติ
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา