พิชิต ชื่นบาน
พิชิต ชื่นบาน | |
---|---|
พิชิต เมื่อพฤษภาคม พ.ศ. 2567 | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 24 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
ก่อนหน้า | พวงเพ็ชร ชุนละเอียด |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 มกราคม พ.ศ. 2502 อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2552–2561, 2563–ปัจจุบัน) ไทยรักษาชาติ (2561–2562) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
อาชีพ | นักการเมือง ทนายความ |
พิชิต ชื่นบาน (เกิด 22 มกราคม พ.ศ. 2502) เป็นทนายความและนักการเมืองชาวไทย เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะคนสนิท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เคยทำหน้าที่หัวหน้าทีมทนายความให้นายทักษิณในคดีที่ดินรัชดาฯ แต่ต่อมานายพิชิตกลับมาทำงานให้ครอบครัวชินวัตรอีกครั้ง ด้วยการเป็น สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในปี 2554 และเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันจนสุดซอยกับกฎหมายนิรโทษกรรม ต่อมาทำหน้าที่หัวหน้าทีมทนายให้ครอบครัวชินวัตรอีกครั้ง ในคดีจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในปี 2557[1] นายพิชิต ชื่นบาน ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2567 ต่อมามีกลุ่ม 40 ส.ว. ยื่นเรื่องประเด็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่าพิชิตขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 160 (4) ส่งผลให้พิชิต ยื่นลาออกในวันที่ 21 พฤษภาคม[2]
สรุปประวัติการทำงาน พิชิตเป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และอดีตประธานที่ปรึกษากฎหมายของพรรคไทยรักษาชาติ
งานการเมือง
[แก้]ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายพิชิต มีบทบาทในฐานะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และอยู่เบื้องหลังในการกลั่นกรองระเบียบกฎหมาย ในการสนับสนุนกฎหมาย จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารปี 2557 อีกทั้ง นายพิชิต ก็ยังทำหน้าที่ในฐานะหัวหน้าทีมทนายความต่อสู้คดีโครงการจำนำข้าวให้มาโดยตลอด[3]
ต่อมาปี พ.ศ. 2562 นายพิชิต ได้รับตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษากฎหมายของพรรคไทยรักษาชาติ ขณะที่การเลือกตั้งเมื่อปี 2562 นายพิชิต ยังดำรงตำแหน่งกรรมการสรรหา ของพรรคไทยรักษาชาติ ทั้งนี้ในช่วงของการตั้ง ครม.เศรษฐา 1 นายพิชิต ได้ประกาศไม่ขอรับตำแหน่งรัฐมนตรี หลังมีชื่อได้นั่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมยืนยันว่าคุณสมบัติของตนเองครบถ้วนถูกต้องทุกประการ ไม่ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งการสละตำแหน่งของนายพิชิตในครั้งนั้น เจ้าตัวระบุว่าเพื่อต้องการให้การจัดตั้งรัฐบาลของนายเศรษฐาสำเร็จโดยเร็ว ขณะที่นายเศรษฐา ก็ไม่มีการดึงคนในพรรคเพื่อไทยมานั่งแทน และยังเว้นว่างเก้าอี้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อีก 1 เก้าอี้ ไว้รอนายพิชิต อย่างไรก็ตาม ในช่วงก่อนการแต่งตั้ง ครม.เศรษฐา 1 นายพิชิต ยังให้สัมภาษณ์กับสื่อ ภายหลังที่มีชื่อจะได้นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอีกครั้งนั้น ว่า "ตนเองเป็นคนทำงาน อยู่ตรงไหนก็สามารถทำงานได้หมด"[4][5]
นายพิชิต ชื่นบาน ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2567 และเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 3 พฤษภาคม[6] ต่อมา สว จำนวน 40 คน ยื่นเรื่องประเด็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่าพิชิตขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 160 (4) ส่งผลให้พิชิต ยื่นลาออกในวันที่ 21 พฤษภาคม[7] โดยให้เหตุผลว่าเพื่อไม่ให้กระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและให้ประเทศเดินต่อไปได้[8] รวมเวลาดำรงตำแหน่ง 24 วัน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1]
- ↑ ด่วน พิชิต ชื่นบาน โชว์สปิริต ลาออกจากรัฐมนตรี...
- ↑ "เปิดประวัติ "พิชิต ชื่นบาน" ถอย ครม.เศรษฐา 1 ช่วย นายกฯ ไม่ต้องตอบคำถาม". www.thairath.co.th. 2023-09-02.
- ↑ "ประวัติ "พิชิต ชื่นบาน" มือกฎหมายตระกูลชินวัตร ผงาดนั่ง รมต.ประจำสำนักนายกฯ". www.thairath.co.th. 2024-04-28.
- ↑ "รู้จัก "พิชิต ชื่นบาน" มือกฎหมายตระกูลชินวัตร เคยทำธุรกิจที่ไม่มีใครรู้มาก่อน". www.sanook.com/money. 2023-09-03.
- ↑ [2]
- ↑ ด่วน พิชิต ชื่นบาน โชว์สปิริต ลาออกจากรัฐมนตรี...
- ↑ "เปิดหนังสือ พิชิต ลาออก ย้ำ ไม่อยากให้ปมคุณสมบัติรัฐมนตรี กระทบ นายกรัฐมนตรี". posttoday. 2024-05-21.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๘, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
ก่อนหน้า | พิชิต ชื่นบาน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พวงเพ็ชร ชุนละเอียด | รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 63) (27 เมษายน พ.ศ. 2567 — 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567) |
ว่าง |