มรกต กรเกษม
มรกต กรเกษม | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | อนุทิน ชาญวีรกูล |
ถัดไป | วิชาญ มีนชัยนันท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2476 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | วันดี กรเกษม |
นายแพทย์ มรกต กรเกษม เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพลเอกสุรุยทธ์ จุลานนท์ และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
ประวัติ
[แก้]มรกต กรเกษม เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เป็นบุตรของนายชุมพร กับนางแถมสิน กรเกษม[1] สำเร็จการศึกษาแพทย์ศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2501 และปริญญาโท สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2507 ด้านครอบครัวสมรสกับนางวันดี กรเกษม มีบุตร 4 คน คือ นายกุลดิลก กรเกษม นายอลงกรณ์ กรเกษม นายศรันย์ กรเกษม และนางสาวปาริฉัตร กรเกษม
การทำงาน
[แก้]มรกต กรเกษม เริ่มรับราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยแพทย์พระราชทานรักษาประชาชน ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2501 จากนั้นได้รับตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัย ในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อจากนั้นได้รับราชการและได้รับการเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมาเป็น นายแพทย์อนามัยจังหวัดสมุทรสงคราม นายแพทย์ตรวจราชการสาธารณสุข ผู้อำนวยการกองอนามัยครอบครัว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้รับตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองอธิบดีกรมอนามัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ คือ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
งานการเมือง
[แก้]มรกต กรเกษม เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ร่วมลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[2]
ใน พ.ศ. 2549 ได้รับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์มงคล ณ สงขลา)[3] และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายมรกต กรเกษม[ลิงก์เสีย]
- ↑ นายกรัฐมนตรีพระราชทาน
- ↑ ประวัตินายแพทย์มรกต กรเกษม[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑๗๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖