จังหวัดพระนคร เป็นจังหวัดในอดีตของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีขึ้นในช่วง พ.ศ. 2408–2515 ก่อนที่จะรวมกับจังหวัดธนบุรี เป็นกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
ประวัติ[แก้]
จังหวัดพระนคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2408 มีเขตการปกครอง 13 อำเภอ เดิมมีฐานะเป็น อำเภอชนะสงคราม ขึ้นกับกรมนครบาล มีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ถนนจักรพงษ์ ติดกับวัดชนะสงครามด้านเหนือ
ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2458 ได้มีประกาศยกเลิกอำเภอชั้นในแต่เดิมและตั้งอำเภอชั้นในขึ้นใหม่ 25 อำเภอ
ต่อมาในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2471 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการรวมพื้นที่อำเภอพาหุรัด อำเภอสำราญราษฎร์ อำเภอพระราชวัง และอำเภอชนะสงครามเป็นอำเภอเดียวกัน เรียกว่า อำเภอพระนคร ตามประกาศยุบรวมอำเภอและกิ่งอำเภอในจังหวัดพระนครและธนบุรี (ภายหลังได้ยุบอำเภอสามยอดและอำเภอบางขุนพรหมเข้ามารวมด้วย) และในปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดระเบียบการปกครองในเขตนครหลวงใหม่ อำเภอพระนครจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
- อำเภอชั้นใน (พ.ศ. 2408)
- อำเภอพระนคร
- อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย
- อำเภอดุสิต
- อำเภอปทุมวัน
- อำเภอยานนาวา
- อำเภอบางรัก
- อำเภอสัมพันธวงศ์
|
|
- อำเภอชั้นใน (พ.ศ. 2458)
- อำเภอพระราชวัง
- อำเภอชนะสงคราม
- อำเภอสำราญราษฎร์
- อำเภอพาหุรัด
- อำเภอจักรวรรดิ
- อำเภอสัมพันธวงศ์
- อำเภอสามแยก
- อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย
- อำเภอสามยอด
- อำเภอนางเลิ้ง
- อำเภอบางขุนพรหม
- อำเภอสามเสน
- อำเภอดุสิต
|
- อำเภอพญาไท
- อำเภอประแจจีน
- อำเภอประทุมวัน
- อำเภอบางรัก
- อำเภอสาธร
- อำเภอบ้านทะวาย
- อำเภอบางพลัด
- อำเภออมรินทร์
- อำเภอหงสาราม
- อำเภอราชคฤห์
- อำเภอบุปผาราม
- อำเภอบุคคโล
|
|
- อำเภอชั้นใน (พ.ศ. 2471)
|
- อำเภอชั้นนอก (ทุก พ.ศ.)
|
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]