ชัยเกษม นิติสิริ
ชัยเกษม นิติสิริ | |
---|---|
ชัยเกษม ในปี 2564 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (0 ปี 326 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ประชา พรหมนอก |
ถัดไป | ไพบูลย์ คุ้มฉายา |
อัยการสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2552 (1 ปี 365 วัน) | |
ก่อนหน้า | พชร ยุติธรรมดำรง |
ถัดไป | จุลสิงห์ วสันตสิงห์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 – 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (0 ปี 148 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2491 จังหวัดธนบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2554–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | อัมพร นิติสิริ |
ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ร.จ.พ. (เกิด 26 สิงหาคม พ.ศ. 2491) เป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง และบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทยจากพรรคเพื่อไทย อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบ ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตอัยการสูงสุด อดีตอัยการอาวุโส (ที่ปรึกษาอัยการสูงสุด) สำนักงานอัยการสูงสุด
การศึกษา
[แก้]จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นจาก โรงเรียนอัสสัมชัญ มัธยมปลายจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 28 และจบการศึกษาปริญญาตรีแผนกนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยทุนการศึกษา ประเภทเรียนดี จากมูลนิธิจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ต่อมาศึกษาระดับปริญญาโท L.L.M. จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของกรมอัยการ (สำนักงานอัยการสูงสุด) และทุนของมูลนิธิ Starr ประเทศสหรัฐอเมริกา) และจบการศึกษาเนติบัณฑิต ไทยจากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
การทำงาน
[แก้]ชัยเกษม นิติสิริ เริ่มรับราชการเป็นอัยการผู้ช่วย จังหวัดสมุทรสาคร[1] อัยการประจำกอง กองคดี และได้รับการเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมา เขาเคยดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดภูเก็ต เป็นอธิบดีอัยการฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอัยการสูงสุด เป็นอธิบดีอัยการฝ่ายปรึกษา พ.ศ. 2546 - 2550 ดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการสูงสุดและตำแหน่งสูงสุด คือ อัยการสูงสุด ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550[2] ในขณะที่ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดได้รับตำแหน่งกรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)กรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
นายชัยเกษม นิติสิริ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ในสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552[3]ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2555 นายชัยเกษม นิติสิริ ได้รับตำแหน่งในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลายตำแหน่งเช่นประธานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์คณะกรรมการคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษกรรมการตรวจสอบ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียมกรรมการ คณะที่ 3 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา[4]
ชัยเกษมยังได้รับหน้าที่เป็นประธานกรรมการและกรรมการอีกหลายตำแหน่ง อาทิ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)[5] ประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) กรรมการและประธานกรรมการบริหารธนาคารอาคารสงเคราะห์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยเนชั่น กรรมการสภามหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น กรรมการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)[6] และกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย
งานการเมือง
[แก้]ในสมัยที่ชัยเกษมดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ได้มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ[7] ฟ้องร้องทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและยังเป็นหนึ่งในฐานะกรรมการกฤษฎีกาที่ได้ร่วมทำคำวินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ 568-569/2549 เกี่ยวกับโครงการสลากพิเศษแบบเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว รวมทั้งสั่งไม่ฟ้องการทุจริตในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จากกรณีดังกล่าวมีการวิจารณ์จากสื่อมวลชนว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พยายามที่จะตอบแทนตำแหน่งให้ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556[8]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 5[9] แต่การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ภายหลังจากการพ้นจากตำแหน่งของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการประกาศกฏอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร โดยผู้บัญชาการทหารบก และเขาได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่หัวหน้าคณะฝ่ายรัฐบาล ในการร่วมเจรจาหาทางออกวิกฤติการณ์ทางการเมือง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 แต่การเจรจาในครั้งนั้นไม่สามารถตกลงกันได้ เขายืนยันว่าคณะรัฐมนตรีรักษาการจะไม่ลาออกจากตำแหน่ง ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อเวลา 16.30 น. วันเดียวกัน[10]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ชัยเกษมเป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และชัชชาติ สิทธิพันธุ์[11] และลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 3[12] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาเป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง[13] พร้อมกับแพทองธาร ชินวัตร และเศรษฐา ทวีสิน[14] และลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคเดิม ในลำดับที่ 10[15] และได้รับเลือกตั้ง[16] แต่ต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม[17] จากนั้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน)[18]
หลังเศรษฐาพ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เช้าวันถัดมาชัยเกษมเปิดเผยว่าเขาได้รับแจ้งจากพรรคเพื่อไทยว่าอาจมีการเสนอเขาในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 16 สิงหาคม เขากล่าวว่าแม้จะเคยมีปัญหาสุขภาพแต่ก็ได้รับการรักษาจนมีอาการเป็นปกติแล้ว และไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด[19] อย่างไรก็ตามในการประชุมของพรรคในวันถัดมาได้มีการเสนอชื่อแพทองธารแทนเขาตามข้อเสนอของที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[20][21][22][23]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[24]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[25]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[26]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ชัยเกษม นิติสิริ เริ่มรับราชการเป็นอัยการผู้ช่วย จังหวัดสมุทรสาคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-08. สืบค้นเมื่อ 2013-07-01.
- ↑ ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ (นายชัยเกษม นิติสิริ)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 5ง วันที่ 10 มกราคม 2551
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ (นายชัยเกษม นิติสิริ)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษที่ 157ง วันที่ 26 ตุลาคม 2552
- ↑ การดำรงตำแหน่งของนาย ชัยเกษม
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- ↑ "ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคด้านการตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมและอำนาจรัฐ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-03-12.
- ↑ คตส.ช็อค!! อัยการสูงสุด ไม่ส่งฟ้องคดีอายัดทรัพย์ ชินวัตร
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ ""ประยุทธ์ " ถาม " ชัยเกษม " รบ.ยอมลาออกหรือไม่ ก่อนประกาศ ยึดอำนาจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-26. สืบค้นเมื่อ 2014-05-22.
- ↑ "เพื่อไทยเคาะ สุดารัตน์-ชัชชาติ-ชัยเกษม นั่งแคนดิเดตนายกฯ". THE STANDARD. 2019-01-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-08. สืบค้นเมื่อ 2022-05-23.
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ matichon (2023-03-27). "เพื่อไทย เคาะแล้ว 'ชัยเกษม นิติสิริ' แคนดิเดตนายกฯ ชื่อที่ 3". มติชนออนไลน์.
- ↑ ตามคาด! เพื่อไทย ยื่น 3 ชื่อแคนดิเดตนายกฯ ‘อุ๊งอิ๊ง-เศรษฐา-ชัยเกษม’
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรคเพื่อไทย"". pptvhd36.com.
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (36 ก): 38. 20 มิถุนายน 2023. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2023.
- ↑ ""ชัยเกษม-สงคราม" ลาออก สส.เพื่อไทย ขยับ "ศรีญาดา-เพ็ญชิสา"". องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. 11 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "มติครม. แต่งตั้งพรึบ ชัยเกษม-สงคราม ไขก๊อกส.ส. รับที่ปรึกษานายกฯ มีชื่อนิพัทธ์-พิชัย". มติชน. 16 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""ชัยเกษม" พร้อมนั่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ยันไร้ปัญหาสุขภาพ". Thai PBS.
- ↑ "มติสส.เพื่อไทย ดัน แพทองธาร โหวตชิงนายกรัฐมนตรี 16 ส.ค." โพสต์ทูเดย์. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สะพัด จ่อชงชื่อ "อิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร" ชิงนายกฯ คนที่ 31". ไทยรัฐ. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "วงสส.เพื่อไทยชงชื่อ"อุ๊งอิ๊ง"ให้สภาโหวตเป็นนายกฯคนใหม่". ฐานเศรษฐกิจ. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ด่วน! กก.บห.เพื่อไทย เสนอชื่อ "แพทองธาร ชินวัตร" นั่งนายกฯ". bangkokbiznews. 2024-08-15.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๒๙, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
ก่อนหน้า | ชัยเกษม นิติสิริ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม. 60) (30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) |
ไพบูลย์ คุ้มฉายา |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2491
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- ศาสตราจารย์พิเศษ
- ข้าราชการฝ่ายอัยการชาวไทย
- อัยการสูงสุดไทย
- นิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์